ชัวร์ก่อนแชร์: Manifest กำหนดชะตาด้วยพลังบวก?

23 มกราคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล Manifest (คำกริยา) คือการทำให้เห็นบางสิ่งอย่างชัดเจน ทั้งจากการแสดงหรือการกระทำ แต่ในแวดวงพัฒนาตนเองทางโลกออนไลน์ Manifest หมายถึง การจินตนาการถึงความสำเร็จที่ต้องการ และเชื่อว่ายิ่งคิดถึงความสำเร็จนั้นมากเท่าไหร่ โอกาสจะประสบความสำเร็จก็จะเพิ่มขึ้นเท่านั้น ในปี 2024 ที่ผ่านมา มีการค้นหาคำศัพท์ Manifest ทางเว็บไซต์ Cambridge Dictionary เกือบ 130,000 ครั้ง จนกลายเป็นหนึ่งในคำที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ส่งผลให้ Cambridge Dictionary ยกให้ Manifest เป็นคำแห่งปีหรือ Word of the Year แนวคิด manifest เริ่มแพร่หลายมาตั้งแต่ช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีการผลิตเนื้อหาให้กำลังใจผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะทาง TikTok มีการเผยแพร่วิธีการ 3-6-9 ที่แนะนำให้เขียนสิ่งที่มุ่งหวังในตอนเช้า 3 รอบ ตอนกลางวัน 6 รอบ และก่อนนอนอีก […]

ชัวร์ก่อนแชร์: Polarization การต่างขั้วทางความคิด

22 มกราคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล Polarization (คำนาม) การแบ่งแยกออกเป็นสองขั้วที่ตรงกันข้ามกันอย่างชัดเจน โดยเฉพาะประเด็นด้าน ความคิดเห็น ความเชื่อ หรือความสนใจของคนในสังคมต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ถูกแยกออกจากจุดศูนย์กลาง แล้วไปรวมกันอยู่ที่จุดสุดขั้วที่อยู่ตรงกันข้าม Polarization ได้รับเลือกจาก Merriam-Webster ยกให้เป็นคำแห่งปีหรือ Word of the Year เนื่องจากในปี 2024 คำว่า Polarization เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 เพื่ออธิบายคุณลักษณะความเป็นคลื่นของแสง ซึ่งการ Polarization คือกระบวนการที่จำกัดให้สนามไฟฟ้าของคลื่นแสงสั่นในระนาบเดียวเท่านั้น ซึ่งภายหลังมีการนำคำว่า Polarization มาใช้อธิบายปรากฏการณ์การเกิดความเห็นสุดขั้วทั้งทางการเมืองและสังคมในปัจจุบัน โดยปี 2024 ที่ผ่านมา Political Polarization เป็นปรากฏการณ์ที่ถูกพูดถึงอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นปีที่ตรงกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งเนื้อหาในการหาเสียงของแต่ละพรรคมีการชักจูงใจผู้ลงคะแนนให้ทำการเลือกข้างอย่างชัดเจน นอกจากความแตกต่างทางนโยบายแล้ว Political Polarization ในปัจจุบันยังนำประเด็นทางสังคมอื่น ๆ มาก่อให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดแบบสุดขั้ว อาทิ ศาสนากับฆราวาสนิยม ชาตินิยมกับโลกาภิวัตน์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: Demure เรียบหรู-สุขุม-คุมโทน

19 มกราคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล Demure (คำคุณศัพท์) หมายถึง คุณลักษณ์ของบุคคลที่มีความสงบเสงี่ยมหรือขี้อาย รวมถึงการมีพฤติกรรมที่สื่อถึงความสุภาพเรียบร้อย Demure ได้รับการคัดเลือกจาก Dictionary.com ให้เป็นคำแห่งปีหรือ Word of the Year นอกจากนี้ ยังถูกเลือกให้เป็นคำที่เข้ารอบสุดท้ายของการจัดอันดับ Word of the Year โดยพจนานุกรมอีกหลายสำนัก ทั้ง Oxford English Dictionary, Cambridge Dictionary และ Merriam-Webster ข้อมูลจาก Oxford English Dictionary พบหลักฐานการปรากฏคำว่า Demure ครั้งแรกในปี 1377 โดยความหมายดั้งเดิมใช้สำหรับบรรยายความสงบของท้องทะเล ก่อนจะมีการนำมาใช้บรรยายคุณลักษณะของบุคคลที่มีนิสัยสุขุมและจริงจังในช่วงปลายศตวรรษที่ 14 และเริ่มนำไปใช้อธิบายรูปแบบการแต่งกายที่ดูเรียบ ๆ ไม่ฉูดฉาดในช่วงศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา จากการสำรวจโดย Dictionary.com พบว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์: Brat เปลี่ยนจาก “ดื้อด้าน” เป็น “โดดเด่น”

18 มกราคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล แต่เดิมคำว่า Brat เป็นคำนามในภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกเด็กนิสัยไม่ดีหรือดื้อด้าน แต่ในปี 2024 คำว่า Brat ยังมีความหมายสื่อถึงคนที่เปี่ยมไปด้วยความมั่นใจ อิสระ และเป็นคนเจ้าสำราญ ผู้ที่ทำให้คำว่า Brat มีความหมายในเชิงบวก ได้แก่ Charli XCX นักร้องสาวชาวอังกฤษ ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในปี 2024 จากการเปิดตัวอัลบั้ม Brat ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นอัลบั้มประจำฤดูร้อนของปี 2024 จนเป็นที่มาของวลียอดฮิต Brat Summer กระแสของ Brat ทำให้ Collins English Dictionary ยกให้เป็นคำแห่งปีหรือ Word of the Year เช่นเดียวกับ Dictionary.com และ Cambridge Dictionary ที่เลือกให้ Brat เข้ารอบสุดท้ายของการจัดอันดับ Word of […]

ชัวร์ก่อนแชร์: Enshittification จุดจบสื่อหวังยอดวิวเหนือคอนเทนต์

18 มกราคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล Enshittification (คำนาม) ความถดถอยที่ค่อย ๆ เกิดขึ้นกับสินค้าและบริการ สาเหตุจากการลดคุณภาพของสินค้าและบริการอันเกิดจากพฤติกรรมมุ่งเน้นแต่ผลกำไร โดยเฉพาะสื่อที่นำเสนอเนื้อหาทางออนไลน์ Enshittification ถูกยกให้เป็นคำแห่งปีหรือ Word of the Year โดย Macquarie Dictionary พจนานุกรมจากประเทศออสเตรเลีย โดยได้รับการโหวตเป็นคำแห่งปี ทั้งในหมวดของคณะกรรมการและหมวดของประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ Enshittification ยังเป็น Word of the Year ประจำปี 2023 ของ American Dialect Society อีกด้วย ผู้ให้กำเนิด Enshittification ได้แก่ คอรี ดอกเตอโรว์ นักเขียนชาวแคนาดา ที่กล่าวถึงการล่มสลายของสื่อทางออนไลน์เมื่อปี 2022 โดยแบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่ ข้อมูลอ้างอิง : https://www.macquariedictionary.com.au/word-of-the-year/word-of-the-year-2024/https://americandialect.org/2023-word-of-the-year-is-enshittification/https://en.wikipedia.org/wiki/Enshittification

ชัวร์ก่อนแชร์: Brain Rot สมองฝ่อเพราะเสพสื่อขยะ ?

17 มกราคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล Brain Rot (คำนาม) หมายถึง การเสื่อมถอยของสภาพจิตใจหรือสติปัญญาของบุคคล จากการเสพสื่อที่เนื้อหาไม่มีสาระหรือไม่ท้าทายสติปัญญาในปริมาณที่มากเกินไป โดยเฉพาะการเสพสื่อไม่มีคุณภาพทางออนไลน์ Brain Rot ถูกยกให้เป็นคำแห่งปีหรือ Word of the Year โดย Oxford English Dictionary นอกจากนี้ ยังได้รับเลือกให้เป็นคำที่เข้ารอบสุดท้ายของการจัดอันดับ Word of the Year โดยพจนานุกรมอีกหลายสำนัก ทั้ง Collins English Dictionary, Macquarie Dictionary และ Dictionary.com Oxford English Dictionary พบว่า ความนิยมของคำว่า Brain Rot เพิ่มขึ้นถึง 230% ระหว่างปี 2023 ถึงปี 2024 จนได้รับการโหวตจากผู้ลงคะแนนกว่า […]

“Gaslighting” คำแห่งปี 2565 ของพจนานุกรมดัง

สปริงฟิลด์ 29 พ.ย.- เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์ (Merriam-Webster) ผู้จัดพิมพ์พจนานุกรมเก่าแก่ที่สุดในสหรัฐ ประกาศให้คำว่า Gaslighting (แก๊สไลติง) แปลว่า ปั่นหัว เป็นคำแห่งปี 2565 เนื่องจากมีการค้นหาเพิ่มขึ้นเกือบ 18 เท่า และมีความสนใจค้นหาสูงตลอดทั้งปีนี้ เว็บไซต์ของเมอร์เรียม-เว็บสเตอร์ระบุว่า ในยุคแห่งข้อมูลเท็จ (misinformation) ที่ประกอบด้วยข่าวลวง (fake news) ทฤษฎีสมคบคิด (conspiracy theories) เกรียนทวิตเตอร์ (Twitter trolls) และเทคโนโลยีสร้างสื่อสังเคราะห์เพื่อปลอมแปลงลักษณะบุคคล (deepfakes) คำว่า ปั่นหัว (gaslighting) ได้กลายเป็นคำแห่งยุคนี้ไปแล้ว การปั่นหัวซึ่งหมายถึงการกระทำหรือพฤติกรรมที่ทำให้บุคคลเข้าใจผิดอย่างมากเพื่อประโยชน์ของตนเอง มีการค้นหาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1740 ในปีนี้ และมีความสนใจค้นหาสูงตลอดทั้งปีนี้ ต้นกำเนิดของคำนี้มาจากชื่อละครเวทีปี 2481 เป็นเรื่องราวของชายคนหนึ่งที่พยายามปั่นหัวภรรยาให้คิดว่าเธอเป็นบ้า ด้วยการทำให้ตะเกียงแก๊สในบ้านหรี่ลง แต่ยืนกรานว่าเธอคิดไปเอง คำนี้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพื่อหมายถึงการหลอกลวงที่คล้ายกับในละครดังกล่าว เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์ให้คำจำกัดความคำว่า ปั่นหัว ไว้ว่า หมายถึง การบงการทางจิตวิทยากับบุคคลเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทำให้เหยื่อสงสัยในความถูกต้องของความคิดและการรับรู้ของตนเอง นำมาซึ่งความสับสน […]

เผยคำแห่งปีของออสเตรเลีย

Kwaussie ซึ่งเป็นคำผสมระหว่าง Kiwi กับ Aussie ได้รับเลือกให้เป็นคำแห่งปีของออสเตรเลียประจำปีนี้ เพราะประเด็นการถือสองสัญชาติได้กลายเป็นวิกฤตการเมืองออสเตรเลีย

...