ใช้เอไอปรับเสียงร้องเรียนลูกค้าลดความเครียดให้ พนง.

โตเกียว 17 พ.ค.- บริษัทญี่ปุ่นกำลังพัฒนาซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) ที่จะช่วยปรับเสียงร้องเรียนของลูกค้าให้มีความเกรี้ยวกราดน้อยลง เพื่อช่วยลดความเครียดให้แก่พนักงานบริการลูกค้า ซอฟต์แบงก์ คอร์ป บริษัทลงทุนข้ามชาติและเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมใหญ่อันดับ 3 ของของญี่ปุ่นแถลงว่า บริษัทกำลังพัฒนาวิธีการปรับแต่งเสียงร้องเรียนของลูกค้าให้เป็นเสียงสนทนาแบบใจเย็น ด้วยการใช้ระบบจดจำเสียงด้วยเอไอและเทคโนโลยีประมวลเสียง เป้าหมายคือ การรักษาความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าผ่านการสนทนาที่ดี ควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพจิตของพนักงานบริการลูกค้า ญี่ปุ่นขึ้นชื่อเรื่องพนักงานบริการลูกค้ามีมาตรฐานสูง แต่ช่วงหลายปีมานี้เริ่มมีการตระหนักเรื่องพนักงานถูกคุกคาม รัฐบาลเตรียมออกกฎหมายคุ้มครองพนักงานเหล่านี้ สหภาพแรงงานพนักงานภาคบริการและค้าปลีกในญี่ปุ่นได้สำรวจความเห็นพนักงาน 33,000 คนในปีนี้พบว่า ครึ่งหนึ่งเคยถูกลูกค้าคุกคามตลอดการทำงานช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีทั้งการใช้คำพูดไม่ดี การข่มขู่ และถึงขั้นสั่งให้คุกเข่าและขอโทษ พนักงานมากกว่า 100 คนเผยว่า เครียดถึงขั้นที่ต้องปรึกษาจิตแพทย์.-814.-สำนักข่าวไทย  

แพทย์ย้ำความเครียดเป็นจุดเริ่มต้นของอาการป่วยจิตเวช

จากกรณีการฆาตกรรมในครอบครัวที่ จ.สกลนคร ผู้ก่อเหตุมีอาการเครียดสะสมเกิดจากปัญหาทะเลาะกับครอบครัว นำมาสู่การวางแผนก่อเหตุ ด้านแพทย์โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ชี้อาจจะเป็นข้ออ้างในการให้ผู้ก่อเหตุรอดคดี

“เศรษฐา” ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาล เจอแพทย์ทักเครียดสูง

“เศรษฐา” ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาล ติดตามการแก้ปัญหายาเสพติด จ.หนองบัวลำภู ก่อนตรวจสุขภาพ เจอแพทย์ทักความเครียดสูง แนะพักผ่อน

ผู้เชี่ยวชาญชี้ความเครียดทำผมร่วงเป็นหย่อม

ผู้เชี่ยวชาญด้านเส้นผม ชี้โรคผมร่วงเป็นหย่อมเกิดจากเม็ดเลือดขาวทำลายเส้นผม สาเหตุจากความเครียด ชี้พบหญิงป่วยมากกว่าชาย และเด็กป่วยอายุน้อยสุด 2 ขวบ การรักษาขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ผมร่วงบริเวณมากน้อย ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักมีภาวะจิตตกซึมเศร้า ถูกคนอื่นล้อ ต้องดูแลใกล้ชิด

สถิติความรุนแรงในครอบครัว ช่วงโควิดพุ่งสูงเฉลี่ย 200 เรื่อง/เดือน

พม.เผยยอดรายงานผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวพบว่าในช่วงโควิดพุ่งสูงเฉลี่ย 200 เรื่องต่อเดือน

กรมสุขภาพจิตแนะเสพสื่อเรื่องวัคซีนไม่ให้ป่วยใจ

สถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาด หลายคนอาจมีความเครียดในการวางแผนการปฏิบัติตนใช้ชีวิตประจำวัน ความกังวลใจเข้ารับวัคซีน ทางกรมสุขภาพจิตมีคำแนะนำรับมือดูแลจิตใจและการเสพสื่อในเรื่องวัคซีนไม่ให้ป่วยใจ เพื่อผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

เตือนโควิดและคนดังตายทำญี่ปุ่นฆ่าตัวตายเพิ่ม

โตเกียว 29 ธ.ค.- ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า ญี่ปุ่นมีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นในช่วงหลายเดือนมานี้ คาดว่าเป็นผลจากความเครียดเพราะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ระบาด และการที่ผู้มีชื่อเสียงตัดสินใจจบชีวิตตัวเองมากขึ้น ศูนย์สนับสนุนการต่อต้านการฆ่าตัวตายในญี่ปุ่นเตือนว่า แนวโน้มการฆ่าตัวตายในญี่ปุ่นกำลังเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มสตรีที่เริ่มเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายนต่อเนื่องมาจนถึงเดือนพฤศจิกายน ความเครียดหรือปัญหาของผู้หญิงมักถูกซ้ำเติมในช่วงโควิดระบาด เพราะปัจจัยหลายอย่างทั้งปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาการเงินและการจ้างงาน ภาระการเลี้ยงดูบุตร และความรุนแรงในครอบครัว สตรีหลายคนเป็นคนหาเลี้ยงหลัก หากงานมีปัญหานอกจากกระทบเธอแล้วยังจะกระทบครอบครัวด้วย ขอให้รัฐบาลพิจารณาผ่อนปรนเกณฑ์การให้เงินสวัสดิการแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และเผยแพร่ข้อมูลระบบสวัสดิการให้เข้าถึงสาธารณชนให้มากขึ้น เพื่อให้ผู้เดือดร้อนรู้ว่าชีวิตยังมีทางออก ด้านศูนย์สุขภาพจิตโตเกียวให้คำปรึกษาแก่ประชาชนทั้งการส่งข้อความส่วนตัว โทรศัพท์และการพบหน้า โดยให้ความใส่ใจเป็นพิเศษเมื่อเห็นสัญญาณจากการประเมินระดับความเสี่ยง เช่น การแสดงความตั้งใจจะฆ่าตัวตายอย่างจริงจัง การระบุวิธีการ สถานที่ หรือวันที่ หากพบผู้มีความเสี่ยงสูงจะแจ้งตำรวจ ซึ่งจะขอให้บริษัทโทรคมนาคมเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของบุคคลนั้นเพื่อเข้าไปยับยั้งและช่วยเหลือ ขณะเดียวกันพบว่า มีผู้ใช้บริการขอคำปรึกษาเพิ่มขึ้นจากราว 200 คนเป็นราว 1,800 คน หลังจากยูโกะ ทาเคอุจิ นักแสดงหญิงชื่อดังวัย 40 ปี จบชีวิตตัวเองในบ้านพักเมื่อปลายเดือนกันยายน ข้อมูลของตำรวจญี่ปุ่นเผยว่า 11 เดือนแรกของปีนี้มีคนฆ่าตัวตาย 19,225 คน เทียบกับปีที่แล้วทั้งปีที่ 20,169 คน.-สำนักข่าวไทย

ดึง อสม.-อสต.ร่วมคัดกรองความเครียดโควิด

พัทลุง 23 ก.ย.-อธิบดี สบส.เผยเตรียมจับมือ อสม.และอสต.ร่วมแก้โควิด พร้อมสำรวจสภาพจิตใจชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโควิด สูญเสียรายได้ เกิดความเครียด เพื่อนำมารับการดูแลรักษา นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.)กล่าวว่า แนวทางการแก้ไขรับมือโควิด-19 ระลอก 2 ว่า หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติการจ่ายค่าตอบแทนอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) เพิ่มอีก 3 เดือน ตั้งแต่เดือน ต.ค.-ธ.ค.2563 เพื่อให้ช่วยเป็นกำลังรับมือกับโควิดต่อ โดยการรับมือกับโควิดรอบ 2 ครั้งนี้ นอกจากจะใช้กลไก อสม.ยังจะเพื่มการอบรมให้มี อสต. (อาสาสมัครต่างด้าว) เข้ามาดูแลเพิ่มด้วย เน้นใน 10 จังหวัดที่มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนอย่างเมียนมา หรือเป็นกลุ่มจังหวัดที่มีแรงงานเมียนมานิยมไปทำงานหรือจังหวัดชายแดนใต้ที่ติดมาเลเซียด้วย พร้อมกันนี้ยังอยากให้ อสม.มีส่วนช่วยคัดกรองความเครียดจากผลกระทบโควิดด้วย โดยนำแอปพลิเคชันที่ร่วมกับกรมสุขภาพจิต มาใช้ประเมินคัดกรองค้นหาผู้ได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจ ทั้งความเครียด วิตกกังวล เพื่อนำเข้าสู่ระบบการดูแลต่อไป นพ.ธเรศ กล่าวว่า นอกจากนี้ยังขอความร่วมมือ อสม.ให้ช่วยกันผลักดันให้ทุกตำบล เป็นตำบลเข้มแข้งร่วมกันต่อต้านโควิด รวมถึงการนำไปใช้กับโรคอุบัติใหม่อื่นๆ.- สำนักข่าวไทย

ชัวร์ก่อนแชร์ : กินผักก็เป็นมะเร็งได้ ถ้าเครียด จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์เตือนว่า การกินผักเป็นประจำก็ยังทำให้เป็นมะเร็งได้ เพราะออกซิเจนในเลือดต่ำ เคร่งเครียด เร่งรีบ ไม่ออกกำลังกาย และดื่มน้ำน้อย แต่ข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร ? ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ระดม อสม.1.3 แสนคนตรวจคัดกรองความเครียด ปชช.จากโควิด-19

นครราชสีมา 10 พ.ค.-รพ.จิตเวชโคราชปรับแผนบริการสุขภาพจิตในพื้นที่ 4 จังหวัดอีสานตอนล่าง รับมือผลกระทบจากโรคโควิด-19 โดยระดม อสม. 130,000 คน ลงพื้นที่ตรวจคัดกรองความเครียดประชาชนในหมู่บ้าน นำเข้าสู่ระบบการดูแลอย่างทันท่วงที  นพ.กิตต์กวี โพธิ์โน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ จ.นครราชสีมา เปิดเผยว่า รพ.จิตเวชฯและศูนย์สุขภาพจิตที่ 9 ได้จัดประชุมทางไกลเครือข่ายบริการสุขภาพจิตในพื้นที่ 4 จังหวัดอีสานตอนล่าง ประกอบด้วย นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ เพื่อปรับแผนบริการสุขภาพจิตในภาวะเร่งด่วน ป้องกันผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเน้นหนัก 2 มาตรการ คือ  1.การดูแลป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยจิตเวชรายเก่าขาดยา เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ และลดภาระให้ครอบครัวให้มากที่สุด 2.การเฝ้าระวังป้องกันปัญหาสุขภาพจิตตามนโยบายของอธิบดีกรมสุขภาพจิต โดยใช้พลังของ อสม.ซึ่งในพื้นที่ 4 จังหวัด มีประมาณ 130,000 คน ทำการตรวจคัดกรองความเครียดประชาชนทุกหมู่บ้านและชุมชนตามมาตรฐานของกรมสุขภาพจิต เพื่อนำผู้ที่มีปัญหาเข้าสู่ระบบการดูแลช่วยเหลือทางจิตใจโดยเร็วที่สุด เนื่องจากความเครียดเป็นปัญหาสุขภาพจิตเบื้องต้นที่จะนำไปสู่การเจ็บป่วยทางจิตในระยะยาวได้ สำหรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ครั้งนี้ ขอให้ดูแลสุขภาพทั้งกายและใจ โดยเฉพาะด้านพลังใจนั้น ถือว่าเป็นกำลังภายในที่มีความสำคัญมากต่อการรับมือ ช่วยเพิ่มความสามารถในการปรับตัว ปรับใจ เพื่อต่อสู้กับอุปสรรคความยากลำบากที่เกิดขึ้นในชีวิตขณะนี้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : วิธีรับมือกับความเครียดโควิด-19

หลายคนมีเกิดความกังวลและความเครียดจากการติดตามข่าวสารในสังคมออนไลน์ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ มีวิธีรับมือและจัดการความเครียด ติดตามในชัวร์ก่อนแชร์

1 2 3
...