จับตาแรงกดดันภายในสหรัฐหลัง “ทรัมป์” ประกาศถอนตัวจากข้อตกลงปารีส

อธิบดีกรมลดโลกร้อน ระบุยังต้องติดตามภาคเอกชนและมลรัฐต่างๆ ในสหรัฐฯ ว่าจะมีท่าทีอย่างไรต่อนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ ซึ่งประกาศให้สหรัฐถอนตัวจากข้อตกลงปารีส โดยคำมั่นที่สหรัฐจะให้เงินแก่กองทุนภูมิอากาศสีเขียว 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จะถูกระงับ ขณะที่ประเทศไทยยังต้องเดินหน้าเตรียมความพร้อมรับมือกับการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ยากขึ้น รวมถึงการปรับตัวต่อกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมของยุโรป

สหรัฐอาจต้องเผชิญกับแรงกดดันในประเทศ หากถอนตัวจากข้อตกลงปารีส

ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เผยนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่จะให้สหรัฐอเมริกาถอนตัวจากข้อตกลงปารีส อาจต้องเผชิญกับแรงกดดันภายในประเทศจากหลายภาคส่วนที่เห็นถึงความสำคัญของความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมโลกเพื่อลดผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยสหรัฐอเมริกาเองก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติจากภาวะโลกเดือด

“ทรัมป์” ให้สหรัฐถอนตัวจากข้อตกลงปารีสอีกครั้ง

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ออกคำสั่งให้สหรัฐถอนตัวจากข้อตกลงปารีส ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกครั้ง

Man walking over the dry Solimoes riverbed

ชี้ปีนี้โลกจะร้อนที่สุดเท่าที่บันทึกมา

ปารีส 10 ธ.ค.- หน่วยงานติดตามสภาพอากาศของยุโรประบุว่า ปี 2567 จะเป็นปีที่โลกร้อนที่สุดนับตั้งแต่เริ่มการบันทึกข้อมูลในปี 2393 หรือเมื่อ 174 ปีที่แล้ว บริการติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโคเปอร์นิคัส หรือ C3S ของสหภาพยุโรป ออกรายงานว่า เดือนพฤศจิกายนปีนี้เป็นเดือนพฤศจิกายนที่ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยมีอุณหภูมิสูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรม 1.62 องศาเซลเซียส เป็นรองเพียงเดือนพฤศจิกายน 2566  และว่าปี 2567 ยังถือเป็นปีที่ร้อนสุดในประวัติศาสตร์โลก นับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกสถิติ อีกทั้งยังเป็นปีแรกที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสจากยุคก่อนอุตสาหกรรม โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.55 องศาเซลเซียส สูงกว่าปี 2566 ที่เพิ่มขึ้น 1.48 องศาเซลเซียสจากยุคก่อนอุตสาหกรรม ขณะเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์ยังคาดการณ์ว่า ในช่วงต้นปีหน้า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะร้อนขึ้นอีกด้วย นานาชาติเกือบ 200 ประเทศตกลงกันว่าจะปฏิบัติตามข้อตกลงปารีสปี 2558 ที่มีผลบังคับใช้ในเดือนพฤศจิกายน 2559 ว่า จะจำกัดอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสจากยุคก่อนอุตสาหกรรม.-815(814).-สำนักข่าวไทย

เรียกร้องเร่งเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

โตเกียว 12 พ.ย.- องค์กรการแพทย์และสาธารณสุขระดับโลกเรียกร้องผู้นำโลกให้เร่งการเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เนื่องจากสภาพอากาศรุนแรงเพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังก่อปัญหาสาธารณสุขร้ายแรงทั่วโลก องค์กรการแพทย์และสาธารณสุขระดับโลก เช่น แพทยสมาคมโลก (World Medical Association) และสมาคมกุมารเวชศาสตร์สากล (International Pediatric Association) ซึ่งมีสมาชิกรวมกัน 46 ล้าน 3 แสนคน ออกจดหมายเปิดผนึกถึงสุลต่าน อาเหม็ด อัล จาเบอร์ รัฐมนตรีอุตสาหกรรมของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประธานการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 (COP28) ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน-12 ธันวาคม ว่า การเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทั้งหมดและรวดเร็วคือหนทางสำคัญที่สุดที่จะทำให้มีสภาพแวดล้อมสะอาด อันเป็นพื้นฐานของการมีสุขภาพดี ที่ประชุมจะต้องแก้ไขที่รากเหง้าของวิกฤตสภาพภูมิอากาศ นั่นคือการขุดเจาะและใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล จดหมายเปิดผนึกระบุว่า มลพิษทางอากาศที่บางส่วนเกิดจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้คนเสียชีวิตก่อนวัยอันควรปีละ 7 ล้านคน การปรับปรุงคุณภาพอากาศจะช่วยลดภาระของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ เรื่องโรคภัยไข้เจ็บของประชาชน พร้อมกับย้ำว่า การรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส จากยุคก่อนอุตสาหกรรมตามข้อตกลงปารีสปี 2558 จะสร้างหลักประกันเรื่องสุขภาพดีและความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจให้แก่ทุกคน.-สำนักข่าวไทย

โลกร้อนขึ้น 0.2 องศาเซลเซียสในช่วง 10 ปี

ปารีส 8 มิ.ย.- กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำเตือนว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มากเป็นประวัติการณ์ และปริมาณมลภาวะทางอากาศที่ลดลง ได้กลายเป็นปัจจัยเร่งให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น 0.2 องศาเซลเซียสในช่วงปี 2556-2565 กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ 50 คน ระบุในรายงานด้านสภาพภูมิอากาศฉบับปรับปรุงที่เผยแพร่ในวารสารเอิร์ธ ซิสเต็ม ไซเอินซ์ ดาตา (Earth System Science Data) ว่า ช่วงเวลาดังกล่าวมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นประวัติการณ์เฉลี่ยปีละ 54,000 ล้านตัน หรือคิดเป็นวินาทีละ 1,700 ตัน แม้โลกยังไม่ร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสจากช่วงก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่โลกจะปลอดภัยตามที่กำหนดไว้ในข้อตกลงปารีสปี 2558 แต่ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์จะปล่อยได้สูงสุดหรือคาร์บอนบัดเจ็ต (carbon budget) มีวี่แววว่าจะหมดสิ้นไปในอีกไม่กี่ปี เพราะได้หมดไปแล้วครึ่งหนึ่ง นับจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือไอพีซีซี (IPCC) เริ่มเก็บข้อมูลสำหรับการจัดทำรายงานปี 2564 รายงานของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์พบข้อมูลใหม่ว่า ความสำเร็จด้านสภาพภูมิอากาศอย่างหนึ่งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมากลับกลายเป็นปัจจัยเร่งให้โลกร้อนขึ้น โดยพบว่าการที่โลกมีมลภาวะทางอากาศลดลงเพราะลดการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า ทำให้โลกได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์โดยตรง เพราะไม่มีอนุภาคมลภาวะที่เคยปกคลุมชั้นบรรยากาศโลก รายงานระบุด้วยว่า พื้นที่ที่เป็นผืนดินเริ่มมีอุณหภูมิสูงขึ้นมาตั้งแต่ปี 2543 โดยพบว่า ช่วงปี 2556-2565 มีอุณหภูมิสูงขึ้นจากช่วงก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรมเฉลี่ยปีละ 1.72 […]

ธารน้ำแข็งเกือบครึ่งโลกจะละลายภายในปี 2643

ทีมนักวิจัยนานาชาติ พบว่าธารน้ำแข็งเกือบครึ่งโลกจะละลายภายในปี 2643 แม้ว่าทั่วโลกจะรักษาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยไม่ให้เกิน 1.5 องศาฯ

ยูเอ็นเรียกร้องให้ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศ

นายอันโตนิโอ กูเทอร์เรส เลขาธิการใหญ่องค์การสหประชาชาติกล่าววานนี้เรียกร้องให้ทุกประเทศทั่วโลกประกาศ “ภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ” ในวาระครบรอบปีที่ 5 ของข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

สหรัฐถอนตัวจากข้อตกลงปารีส -ไบเดนจะกลับเข้าเป็นสมาชิกใหม่

สหรัฐถอนตัวจากข้อตกลงปารีสอย่างเป็นทางการในวันนี้ โดยถือเป็นประเทศแรกที่ถอนตัวจากสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

สหรัฐถอนตัวจากข้อตกลงโลกร้อน

สหรัฐประกาศแจ้งสหประชาชาติถึงการถอนตัวจากข้อตกลงโลกร้อนอย่างเป็นทางการ ซึ่งทรัมป์อาจใช้ประเด็นนี้ในการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปีหน้า

1 2 3
...