รัสเซียระงับส่งก๊าซไปยังยุโรปผ่านยูเครน
ก๊าซพรอม บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของรัฐบาลรัสเซีย ระงับการส่งก๊าซธรรมชาติไปยังยุโรปผ่านท่อก๊าซเก่าแก่สมัยยุคอดีตสหภาพโซเวียตในยูเครนตั้งแต่ช่วงเช้าวันพุธตามเวลากรุงมอสโก เนื่องจากสิ้นสุดสัญญา 5 ปี
ก๊าซพรอม บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของรัฐบาลรัสเซีย ระงับการส่งก๊าซธรรมชาติไปยังยุโรปผ่านท่อก๊าซเก่าแก่สมัยยุคอดีตสหภาพโซเวียตในยูเครนตั้งแต่ช่วงเช้าวันพุธตามเวลากรุงมอสโก เนื่องจากสิ้นสุดสัญญา 5 ปี
5 พฤศจิกายน 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติที่ใช้กับรถยนต์ว่า มาจากที่ใด มีกี่รูปแบบ และแต่ละแบบต่างกันอย่างไร ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญใน ชัวร์ก่อนแชร์ MOTOR CHECK กับคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) มี 2 ประเภทหลัก ๆ NGV มาจากไหน? ข้อดีของการใช้ NGV ข้อเสียของการใช้ NGV สรุป : NGV เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกที่น่าสนใจ มีข้อดีหลายอย่าง แต่ก็มีข้อจำกัด การเลือกใช้ NGV หรือน้ำมัน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคล เช่น ประเภทรถ ระยะทางการใช้งาน งบประมาณ ฯลฯ สัมภาษณ์เมื่อ : 25 ตุลาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ณัฐพล […]
กฟผ. เตรียมมาตรการ 5 ด้าน พร้อมรับมือการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติจากแหล่งพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (JDA-A18) เพื่อซ่อมบำรุงประจำปี ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม-13 สิงหาคม 2567 ยืนยันไม่ส่งผลต่อการใช้ไฟฟ้าภาคใต้
สิงคโปร์ 30 พ.ค. – องค์กรที่ติดตามโครงการพลังงานทั่วโลกเตือนว่า การที่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแผนจะขยายการผลิตก๊าซธรรมชาติอย่างรวดเร็ว อาจทำให้การเปลี่ยนไปสู่การใช้พลังงานสะอาดชะลอตัวลง โกลบอลเอเนอร์จีมอนิเตอร์ (GEM) ระบุว่า การที่หลายประเทศในภูมิภาคนี้จะลงทุนมากถึง 220,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 8.12 ล้านล้านบาท) เพื่อขยายการผลิตก๊าซธรรมชาติ อาจทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 กิกะวัตต์ หรือเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2 เท่า และอาจนำให้มีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวหรือแอลเอ็นจี (LNG) เพิ่มขึ้นร้อยละ 80 ภูมิภาคนี้มีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจที่เติบโต แต่การเพิ่มการผลิตก๊าซไม่ใช่ทางแก้ปัญหาระยะยาว ควรใช้พลังงานหมุนเวียนผลิตไฟฟ้ารองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นมากกว่า ฝ่ายสนับสนุนการใช้ก๊าซธรรมชาติให้เหตุผลว่า ทำให้ประเทศกำลังพัฒนามีโอกาสสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยไม่ต้องพึ่งพาถ่านหินที่เป็นเชื้อเพลิงสกปรกกว่าและปล่อยคาร์บอนมากกว่า ขณะที่ฝ่ายคัดค้านแย้งว่า ก๊าซธรรมชาติที่รั่วไหลเข้าสู่ชั้นบรรยากาศจะปล่อยมีเทนที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และหลายประเทศกำลังเสี่ยงลงทุนจำนวนมหาศาลโดยไม่คุ้มค่า เพราะทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ หรือไอเออีเอ (IEA) แจ้งเมื่อปี 2566 ว่า ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติของโลกจะลดลงจากมากกว่า 4 ล้านล้านลูกบาศก์เมตรในปี 2565 เหลือ 3.4 ล้านล้านลูกบาศก์เมตรภายในสิ้นคริสต์ทศวรรษนี้ เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2593.-814.-สำนักข่าวไทย
วอชิงตัน 9 เม.ย.- เชฟรอน บริษัทพลังงานใหญ่ของสหรัฐแจ้งว่า ได้ถอนการลงทุนในโครงการแหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานา (Yadana) ในเมียนมาแล้ว หลังจากประณามการใช้ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมียนมาและประกาศจะถอนตัวจากเมียนมาเมื่อกว่า 2 ปีก่อน โฆษกของเชฟรอนแถลงเมื่อวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า เชฟรอนไม่ได้ขายหุ้นที่ถืออยู่ร้อยละ 41.1 ในโครงการนี้ แต่ได้โอนให้แก่ผู้ถือหุ้นที่เหลืออยู่คือ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.ของไทย และวิสาหกิจน้ำมันและก๊าซเมียนมา (MOGE) การถอนการลงทุนเป็นไปตามที่บริษัทมีความตั้งใจจะถอนตัวออกจากเมียนมาอย่างมีการกำกับดูแลและเป็นระเบียบ หลังจากเมียนมาเกิดการรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 และเกิดวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่ยังคงดำเนินอยู่ในขณะนี้ เชฟรอนเคยแถลงเมื่อเดือนมกราคม 2565 ว่า จะถอนตัวออกจากเมียนมา ต่อมาประกาศในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ว่า ตกลงจะขายสินทรัพย์ทั้งหมดที่อยู่ในเมียนมา รวมถึงหุ้นที่ถืออยู่ในโครงการยาดานา เชฟรอนและโททาลเอเนอร์ยีส์ บริษัทพลังงานของฝรั่งเศสเคยสั่งระงับการชำระเงินจากโครงการนี้ในปี 2564 เพราะเงินจะไปถึงมือรัฐบาลทหารเมียนมา เรียกเสียงชื่นชมจากกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยในเมียนมา จากนั้นโททาลได้ถอนตัวออกจากเมียนมาในปี 2565 โครงการแหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานาตั้งอยู่ในอ่าวเมาะตะมะ ผลิตก๊าซได้ประมาณ 6,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ในจำนวนนี้ร้อยละ 70 ส่งออกมาไทย และอีกร้อยละ 30 เป็นของ MOGE […]
เยอรมนี 25 มี.ค.-บมจ. ปตท. ประกาศเดินหน้าแผนการลงทุน 5 ปี ระหว่างพ.ศ. 2567 – 2571 ตามที่แจ้งต่อตลท. แล้ว ทุ่มงบลงทุนกว่า 8.9 หมื่นล้านบาทใน 5 กลุ่มธุรกิจหลัก โดยส่วนใหญ่ยังคงเป็นธุรกิจก๊าซธรรมชาติ พร้อมเตรียมงบอีกกว่า 1 แสนล้านบาทขยายการลงทุนสู่พลังงานสะอาดในช่วงเปลี่ยนผ่านพลังงาน
ปตท.สผ. เพิ่มอัตราการผลิตก๊าซฯ โครงการ G1/61 ขึ้นเป็น 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ช่วยบรรเทาผลกระทบด้านพลังงานให้กับประชาชน
กรุงเทพฯ 20 มี.ค. – ปตท.สผ. ผลิตก๊าซธรรมชาติโครงการ G1/61 ได้เพิ่มขึ้นเป็นอัตรา 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันแล้วในวันนี้ แผนต่อไปติดตั้งแท่นหลุมผลิต ปีละ8 แท่น เจาะหลุมอีก 300 หลุมต่อปี เสริมสร้างความมั่นคง บรรเทาผลกระทบด้านพลังงานให้กับประชาชน
ปตท.สผ. ประสบความสำเร็จอีก เจาะหลุมสำรวจ “ปาปริก้า-1” ในโครงการมาเลเซีย เอสเค410บี ค้นพบก๊าซธรรมชาติ มีโอกาสที่พัฒนาร่วมกับแหล่งใกล้เคียง ในตอนเหนือ นอกชายฝั่งรัฐซาราวัก เพื่อเสริมสร้างการเติบโตของบริษัทในระยะยาว
กรุงเทพฯ 13 ธ.ค.- ส.อ.ท.จี้รัฐพิจารณา 2 ข้อเสนอ เพื่อเร่งหาทางออกต้นทุนพลังงานสูง ห่วงค่าไฟขึ้นทำให้ราคาสินค้าเพิ่ม 5-12%
เคียฟ 13 ธ.ค.- กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศหรือ จี 7 (G7) รับปากจะเพิ่มศักยภาพทางทหารให้แก่ยูเครนโดยเน้นเรื่องการป้องกันภัยทางอากาศ กลุ่มจี 7 รับปากจะตอบสนองข้อเรียกร้องเร่งด่วนของยูเครน นายเบน วอลเลซ รัฐมนตรีกลาโหมอังกฤษกล่าวเมื่อวานนี้ว่า สนับสนุนเรื่องจัดส่งขีปนาวุธพิสัยไกลให้ยูเครนใช้เล็งเป้าหมายที่เป็นฐานปล่อยอากาศยานไร้คนขับหรือโดรนที่รัสเซียใช้โจมตีโครงสร้างพื้นฐาน หากรัสเซียยังเดินหน้าโจมตีพื้นที่ของพลเรือน ขณะที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐเผยว่า สิ่งสำคัญอันดับแรกของสหรัฐคือ การเสริมสร้างการป้องกันภัยทางอากาศให้แก่ยูเครน จี 7 รับปากเรื่องนี้ หลังจากประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกีของยูเครนร้องขอระหว่างประชุมออนไลน์ให้จี 7 จัดส่งรถถังทันสมัย ปืนใหญ่ และอาวุธพิสัยไกลเพื่อตอบโต้การรุกรานของรัสเซีย และขอให้จี 7 สนับสนุนแนวคิดของเขาเรื่องจัดการประชุมสุดยอดสันติภาพโลก เพื่อให้เกิดสันติภาพในยูเครน การประชุมนี้จะมุ่งเรื่องการปฏิบัติตามแผนสันติภาพ 10 ประการของยูเครนที่ย้ำให้รัสเซียถอนกำลังทั้งหมดออกจากยูเครน และไม่มีการยกดินแดนของยูเครนให้รัสเซีย ผู้นำยูเครนยังขอให้จี 7 ช่วยให้ยูเครนได้รับก๊าซธรรมชาติอีก 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ในช่วงที่กำลังขาดแคลนพลังงานอย่างหนัก ประชาชนจำนวนมากไม่มีไฟฟ้าใช้ท่ามกลางอุณหภูมิที่หนาวติดลบ.-สำนักข่าวไทย
สนพ.เผย 9 เดือนแรกของปี 2565 ยอดใช้พลังงานชั้นต้นเพิ่มร้อยละ3 จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีแนวโน้มดีขึ้น รัฐผ่อนคลายมากขึ้น คาดทั้งปี 2565 การใช้พลังงานขยายตัวร้อยละ 3.2 และในปี 2566 จะมีการใช้พลังงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7