former Defense Minister Kim Yong-hyun

อดีต รมว.กลาโหมเกาหลีใต้ที่ถูกจับพยายามฆ่าตัวตาย

โซล 11 ธ.ค.- เจ้าหน้าที่เกาหลีใต้เผยว่า นายคิม ยง-ฮยอน อดีตรัฐมนตรีกลาโหมพยายามปลิดชีพตนเองระหว่างถูกควบคุมตัวในสถานที่คุมขังเพื่อสอบปากคำเรื่องก่อกบฏ เว็บไซต์สำนักข่าวยอนฮับของทางการเกาหลีใต้รายงานว่า หัวหน้าราชทัณฑ์ของเกาหลีใต้แถลงต่อสมาชิกสภาระหว่างการไต่สวนในวันนี้ว่า นายคิมพยายามปลิดชีพตนเองแต่ไม่สำเร็จระหว่างถูกควบคุมตัวอยู่ในทัณฑสถานทงบู ทางตะวันออกของกรุงโซล ขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้ย้ายเขาไปยังห้องคุมขังที่มีการป้องกัน ส่วนสุขภาพของเขายังคงดีอยู่ นายคิม วัย 65 ปี เพิ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 6 กันยายนปีนี้ เขาลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม หลังจากขอขมาเรื่องที่ประธานาธิบดียุน ซอก-ยอลประกาศใช้กฎอัยการศึกเมื่อกลางดึกวันที่ 3 ธันวาคม กระทรวงกลาโหมยืนยันว่า เขาเป็นผู้แนะนำให้ประธานาธิบดีตัดสินใจดังกล่าว ต่อมาเขาได้ถูกจับกุมเมื่อไปมอบตัวอย่างสมัครใจเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม.-814.-สำนักข่าวไทย

Nat'l Assembly passes bill on permanent special counsel probe into Yoon's insurrection charges

สภาเกาหลีใต้ผ่านร่าง กม.สอบสวน ปธน.ข้อหากบฏ

โซล 10 ธ.ค.- รัฐสภาเกาหลีใต้ผ่านร่างกฎหมายในวันนี้ ให้อำนาจคณะที่ปรึกษากฎหมายพิเศษถาวรเปิดการสอบสวนข้อหากบฏกับประธานาธิบดียุน ซอก-ยอล กรณีประกาศใช้กฎอัยการศึกเมื่อสัปดาห์ก่อน สมัชชาแห่งชาติซึ่งเป็นสภานิติบัญญัติแบบสภาเดียวผ่านร่างกฎหมายด้วยคะแนนเสียง 210 ต่อ 63 เสียง และงดออกเสียง 14 เสียง เรียกร้องให้สอบสวนนายยุน ประธานาธิบดี, นายคิม ยง-ฮยอน อดีตรัฐมนตรีกลาโหม, พล.อ.พัก อัน-ซู ผู้บัญชาการทหารบก และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการประกาศใช้กฎอัยการศึกเมื่อกลางดึกวันที่ 3 ธันวาคม สมาชิกสภาพรรคพลังประชาชนหรือพีพีพี (PPP) ที่เป็นพรรครัฐบาลร่วมลงคะแนนในวันนี้ หลังจากหัวหน้าพรรคประกาศให้สมาชิกลงคะแนนได้โดยไม่ถือว่าเป็นมติพรรค โดยพบว่านายกรัฐมนตรีฮัน ด็อก-ซู และนายชู ยอง-โฮ อดีตผู้นำในสภาของพีพีพีลงคะแนนผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวด้วย การสอบสวนของคณะที่ปรึกษากฎหมายพิเศษถาวรแตกต่างจากคณะที่ปรึกษากฎหมายพิเศษทั่วไปตรงที่ประธานาธิบดีไม่สามารถใช้สิทธิยับยั้งร่างกฎหมายให้อำนาจคณะที่ปรึกษากฎหมายพิเศษถาวรได้ แต่สามารถชะลอการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาชุดนี้ได้.-814.-สำนักข่าวไทย

ผู้นำโบลิเวียปัดไม่เกี่ยวข้องกับการก่อกบฏ

ลาปาซ 28 มิ.ย.- ผู้นำโบลิเวียปฏิเสธว่าไม่มีส่วนรู้เห็นกับความพยายามก่อรัฐประหารตามที่นายทหารผู้นำกบฏกล่าวอ้าง ขณะที่ทางการแถลงว่ามีผู้เกี่ยวข้องกับการก่อกบฏถูกจับกุมแล้ว 17 คน ประธานาธิบดีลุยส์ อาร์เซ ของโบลิเวียปฏิเสธว่า ไม่มีส่วนรู้เห็นใด ๆ กับความพยายามก่อรัฐประหารที่นำโดยพลเอกฮวน โฮเซ ซูนิกา อดีตผู้บัญชาการทหารเมื่อวันพุธ หลังจากพลเอกซูนิกาให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า ประธานาธิบดีอาร์เซได้ร้องขอให้เขากระทำการบางสิ่งบางอย่างเพื่อช่วยเพิ่มคะแนนนิยม สื่อท้องถิ่นรายงานว่า พลเอกซูนิกาให้การกับตำรวจว่า 3 วันก่อนหน้าที่จะก่อกบฏว่า ประธานาธิบดีให้อำนาจเขาในการเคลื่อนกำลังยานหุ้มเกราะออกมาเพื่อควบคุมสถานการณ์ความขัดแย้งภายในประเทศ  ขณะที่ประธานาธิบดีตอบโต้ว่า พลเอกซูนิกาเป็นผู้วางแผนและกระทำการด้วยตนเองทั้งสิ้น โดยที่เขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด เหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันพุธที่ผ่านมา มีการระดมกำลังทหารเข้ามายังจัตุรัสกลางกรุงลาปาซ และใช้ยานหุ้มเกราะพุ่งเข้าชนประตูทางเข้าทำเนียบประธานาธิบดีในบริเวณจัตุรัส จากนั้นกลุ่มทหารได้กรูเข้าไปด้านใน แต่หลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมงพลเอกซูนิกาก็ถูกจับกุม ทางการโบลิเวียแถลงว่า จนถึงขณะนี้มีผู้ที่เกี่ยวข้องกับการก่อกบฏถูกจับกุมแล้ว 17 คน ซึ่งรวมถึงอดีตผู้บัญชาการกองทัพเรือด้วย ขณะที่ผลการสอบสวนของตำรวจพบว่า ความพยายามก่อรัฐประหารครั้งนี้มีการวางแผนมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม.-816(814).-สำนักข่าวไทย

ฟิลิปปินส์-กบฏคอมมิวนิสต์จะฟื้นเจรจาสันติภาพ

มะนิลา 28 พ.ย.- รัฐบาลฟิลิปปินส์และกลุ่มกบฏคอมมิวนิสต์ตกลงฟื้นการเจรจาสันติภาพอีกครั้ง เพื่อยุติการก่อเหตุไม่สงบที่ดำเนินมาหลายทศวรรษ รัฐบาลฟิลิปปินส์และกลุ่มกบฏคอมมิวนิสต์ระบุในแถลงการณ์ร่วมที่ลงนามในกรุงออสโลของนอร์เวย์เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายนว่า ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นพ้องตามแนวทางการแก้ไขที่มีหลักการและสันติต่อความขัดแย้งที่มีการสู้รบกัน โดยยอมรับว่ามีความคับข้องใจทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองแบบหยั่งรากลึก และตกลงที่จะร่างกรอบกำหนดประเด็นสำคัญในการเจรจาสันติภาพ การก่อเหตุไม่สงบในฟิลิปปินส์เริ่มขึ้นในปี 2502 โดยเป็นผลจากแนวคิดคอมมิวนิสต์ในระดับโลกที่มาเติบโตในฟิลิปปินส์ ประเทศที่มีช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนสูงมาก การเคลื่อนไหวของกลุ่มกบฏคอมมิวนิสต์ในฟิลิปปินส์ถึงจุดสูงสุดในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ทางกลุ่มอ้างว่ามีนักรบมากถึง 26,000 คน กองทัพฟิลิปปินส์ระบุว่า ตัวเลขนี้ลดลงเหลือเพียงไม่กี่พันคนในขณะนี้ รัฐบาลฟิลิปปินส์เจรจาสันติภาพกับกลุ่มกบฏคอมมิวนิสต์มาตั้งแต่ปี 2529 ผ่านฝ่ายการเมืองของกลุ่มที่ตั้งอยู่ในเนเธอร์แลนด์ การเจรจามีความหวังอย่างยิ่งเมื่อนายโรดริโก ดูเตอร์เตได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ในปี 2559 เนื่องจากเขาประกาศตัวว่าเป็นนักสังคมนิยม แต่เขาได้ประกาศให้กลุ่มนี้เป็นกลุ่มก่อการร้ายในปี 2560 โดยกล่าวหาว่า สังหารทหารตำรวจในระหว่างที่ยังมีการเจรจากัน รัฐบาลอ้างในช่วงหลายปีมานี้ว่า สมาชิกกบฏหลายร้อยคนได้เข้ามอบตัวกับทางการ แลกกับความช่วยเหลือทางการเงินและโอกาสในการดำเนินชีวิต.-สำนักข่าวไทย

เมียนมาออกกฎเข้มกับฐานที่มั่นของฝ่ายต่อต้าน

ย่างกุ้ง 3 ก.พ.- รัฐบาลทหารเมียนมาออกมาตรการเข้มงวดครั้งใหม่กับพื้นที่ที่เป็นฐานที่มั่นของฝ่ายต่อต้าน ด้วยการกำหนดให้ประชาชนในพื้นที่เหล่านี้จะต้องขึ้นศาลทหาร หากถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏและเผยแพร่ข่าวเท็จ หนังสือพิมพ์โกลบอลนิวไลท์ออฟเมียนมาของทางการเมียนมารายงานวันนี้ว่า มาตรการใหม่ใช้กับ 37 เมืองใน 8 รัฐและภูมิภาคประกอบด้วยรัฐชิน มอญ กะหรี่ยง และกะยา ภูมิภาคสะกาย มะเกว พะโค และตะนาวศรี ศาลทหารจะทำหน้าที่พิจารณาคดีอาญาตั้งแต่การเป็นกบฏไปจนถึงการเผยแพร่ข่าวเท็จ ผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดจะไม่ได้รับอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์ ยกเว้นคดีที่ถูกตัดสินโทษประหารชีวิต ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจาก พล.อ.อาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหาร รายงานระบุว่า มาตรการนี้เป็นไปเพื่อให้ความมั่นคง การใช้หลักนิติธรรม ความสงบสุขของท้องถิ่นได้รับการปกป้องอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เอเอฟพีระบุว่า กองทัพเมียนมามักปะทะกับกองกำลังปกป้องประชาชนที่ต่อต้านรัฐประหารและเคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่เหล่านี้ ก่อนหน้านี้มี 11 เมืองอยู่ภายใต้มาตรการลักษณะเดียวกันนี้แล้ว เป็นเมืองในภูมิภาคย่างกุ้ง 6 เมือง และในภูมิภาคมัณฑะเลย์ 5 เมือง เมื่อวานนี้รัฐบาลเมียนมาเพิ่งขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินต่อไปอีก 6 เดือน ซึ่งเป็นวันครบ 2 ปีของการรัฐประหาร ทำให้กำหนดการเลือกตั้งที่รัฐบาลรับปากว่าจะมีขึ้นภายในเดือนสิงหาคมถูกเลื่อนออกไปอีก สื่อทางการเมียนมารายงานเมื่อวันพุธว่า พล.อ.อาวุโสมิน อ่อง หล่ายยอมรับว่า เมืองต่าง ๆ […]

กัมพูชาเริ่มไต่สวนฝ่ายค้าน 37 คนข้อหากบฏ

พนมเปญ 15 ก.ย.- กัมพูชาเปิดการไต่สวนข้อหากบฏกับนักเคลื่อนไหวและอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติพรรคฝ่ายค้านรวม 37 คนที่ถูกกล่าวหาว่าพยายามช่วยเหลือนักการเมืองลี้ภัย แต่มีจำเลยมาขึ้นศาลเพียง 3 คนเท่านั้น ทนายความจำเลยเผยว่า นายสม รังสี อดีตผู้นำฝ่ายค้านและแกนนำหลายคนของพรรคกู้ชาติกัมพูชาหรือซีเอ็นอาร์พี (CNRP) ที่ถูกยุบไปแล้ว อยู่ในกลุ่มจำเลยที่ไม่มาขึ้นศาลแขวงพนมเปญ บางคนลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศ บางคนหลบซ่อนตัวเพราะคิดว่าเป็นการรังควานทางการเมือง จำเลยทั้ง 37 คน ถูกตั้งข้อหาคบคิดกันก่อกบฏ หากถูกตัดสินว่ามีความผิดจะมีโทษจำคุก 5-10 ปี คดีนี้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับความพยายามจัดการให้นางมู ซกโฮ อดีตรองประธานพรรคซีเอ็นอาร์พี กลับกัมพูชาในเดือนมกราคม 2564 แต่ไม่เป็นผล นับเป็นครั้งที่ 3 แล้วที่ศาลกัมพูชาแห่งนี้เปิดการไต่สวนคดีที่เกี่ยวกับความพยายามพาแกนนำฝ่ายค้านกลับประเทศ มีจำเลยรวมกันเกือบ 130 คน แต่ส่วนใหญ่ไม่เคยมาขึ้นศาล ครั้งแรกเกิดขึ้นในเดือนมีนาคม ศาลตัดสินให้จำเลย 21 คน ซึ่งมีนายสม รังสีรวมอยู่ด้วยมีความผิด และตัดสินจำคุก 5-10 ปีในข้อหากบฏและข้อหาคบคิดกันก่อกบฏและยุยงให้กระทำความผิดอาญาอุกฉกรรจ์ ต่อมาในเดือนมิถุนายนศาลตัดสินให้นางเทียรี เซ็ง ทนายความชาวกัมพูชาสัญชาติอเมริกันและผู้สนับสนุนฝ่ายค้าน 60 คนมีความผิดในข้อหากบฏและตัดสินจำคุก 5-8 ปี สองคดีแรกนี้เกี่ยวข้องกับความพยายามพานายสม […]

ผู้นำยูเครนปลด จนท.ระดับสูงโทษฐานกบฏ

เคียฟ 18 ก.ค.- ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกีของยูเครนปลดหัวหน้าหน่วยความมั่นคงและอัยการสูงสุดต้องสงสัยเป็นกบฏ เป็นการปรับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ระดับสูงครั้งใหญ่นับตั้งแต่ยูเครนถูกรัสเซียรุกรานเมื่อเกือบ 5 เดือนก่อน ประธานาธิบดีเซเลนสกี กล่าวในคลิปที่แถลงต่อประชาชนรายวันเมื่อวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่นว่า ได้ปลดนางอิรีนา เวเนดีคโตวา อัยการสูงสุดและนายอีวาน บาคานอฟ ผู้อำนวยการสำนักงานความมั่นคงแห่งยูเครน ซึ่งเป็นหน่วยงานความมั่นคงภายใน ขณะนี้มีเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย 651 คน กำลังถูกสอบสวนฐานต้องสงสัยเป็นกบฏช่วยเหลือ และสนับสนุนรัสเซีย ในจำนวนนี้มี 60 คนที่อยู่ในดินแดนของยูเครนที่ถูกรัสเซียยึดครองและทำงานต่อต้านยูเครน ผู้นำยูเครนระบุว่า การก่ออาชญากรรมขนานใหญ่ต่อรากฐานความมั่นคงแห่งชาติ และการที่เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายของยูเครนมีสายสัมพันธ์กับหน่วยงานพิเศษของรัสเซียเป็นประเด็นที่ร้ายแรงมากสำหรับผู้บังคับบัญชา คำถามเหล่านี้ต้องมีคำตอบที่เหมาะสม นางเวเนดีคโตวา วัย 43 ปี รับตำแหน่งอัยการสูงสุดเมื่อเดือนมีนาคม 2563 เธอเป็นผู้นำการสอบสวนเรื่องความโหดร้ายของทหารรัสเซียที่รุกรานเมืองบูจา ชานกรุงเคียฟ ในเหตุสังหารหมู่เมื่อเดือนมีนาคมที่นานาชาติพากันประณาม ส่วนนายบาคานอฟ วัย 47 ปี รับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานความมั่นคงเมื่อเดือนสิงหาคม 2562.-สำนักข่าวไทย

กัมพูชาฟื้นไต่สวนผู้นำฝ่ายค้านข้อหากบฏ

พนมเปญ 19 ม.ค.- กัมพูชารื้อฟื้นการไต่สวนคดีนายกึม ซกคา ผู้นำฝ่ายค้านในข้อหากบฏในวันนี้ หลังจากเลื่อนไป 2 ปี เพราะการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 นายกึม วัย 68 ปี ถูกจับกุมในปี 2560 ส่วนพรรคกู้ชาติกัมพูชาของเขาถูกสั่งยุบพรรคก่อนการเลือกตั้งทั่วไปปี 2561 สมาชิกพรรคจำนวนมากถูกจับกุมหรือลี้ภัยไปต่างประเทศ นายกึมถูกกักบริเวณในบ้านพักจนถึงปี 2562 และถูกห้ามทำกิจกรรมทางการเมือง เขากล่าวกับสื่อก่อนเดินทางไปศาลเทศบาลพนมเปญว่า หวังว่าศาลจะยกฟ้องข้อหาทั้งหมด เพื่อให้เกิดความปรองดองและเอกภาพแห่งชาติในการพัฒนาประเทศต่อไป นายกึมถูกตั้งข้อหากบฏจากการถูกกล่าวหาว่า คบคิดกับสหรัฐหวังโค่นล้มนายกรัฐมนตรีฮุน เซน ที่ปกครองกัมพูชามาเกือบ 4 ทศวรรษ เขาปฏิเสธข้อกล่าวหา ส่วนสหรัฐปฏิเสธว่า เป็นทฤษฎีสมคบคิดที่กุขึ้นมา ด้านสถานทูตสหรัฐในกรุงพนมเปญเรียกร้องทางการกัมพูชายุติการไต่สวนในข้อกล่าวหาที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง ซึ่งครอบคลุมทั้งนายกึม สมาชิกฝ่ายค้าน ผู้สื่อข่าว นักเคลื่อนไหวด้านแรงงานและสิ่งแวดล้อม ขณะที่กระทรวงยุติธรรมกัมพูชาชี้แจงว่า การไต่สวนไม่ได้มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง ขอให้สถานทูตสหรัฐแสดงหลักฐานสนับสนุนการกล่าวอ้างและอย่าได้แทรกแซงกัมพูชา.-สำนักข่าวไทย

คาซัคสถานรวบอดีตนายกฯ ข้อหากบฏ

อัลมาตี 8 ม.ค.- คณะกรรมการความมั่นคงแห่งชาติของคาซัคสถานแถลงว่า ทางการได้ควบคุมตัวนายคาริม มาสซิมอฟ อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตประธานคณะกรรมการความมั่นคงแห่งชาติฐานต้องสงสัยเป็นกบฏ คณะกรรมการความมั่นคงแห่งชาติแถลงเพียงสั้น ๆ ว่า นายมาสซิมอฟ วัย 56 ปี ถูกควบคุมตัวพร้อมกับเจ้าหน้าที่หลายคน เขาเพิ่งถูกปลดจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการความมั่นคงแห่งชาติคนที่ 13 เมื่อวันที่ 5 มกราคม หลังเกิดเหตุประท้วงทั่วประเทศที่มีคนเสียชีวิตจำนวนหนึ่ง อาคารต่าง ๆ ถูกเผาทำลาย เป็นเหตุรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่คาซัคสถานประกาศตัวเป็นเอกราชจากอดีตสหภาพโซเวียตในเดือนธันวาคม 2534 นายมาสซิมอฟเป็นคนสนิท และเป็นนายกรัฐมนตรี 2 สมัยในปี 2550-2555 และปี 2557-2559 ของนายนูร์สุลต่าน นาซาร์บาเยฟ ประธานาธิบดีคนแรกของประเทศที่ปกครองมาตั้งแต่ปี 2534-2562 เชื่อกันว่าตระกูลนาซาร์บาเยฟยังคงมีอิทธิพลในกรุงนูร์สุลต่าน เมืองหลวงที่ตั้งตามชื่ออดีตประธานาธิบดีวัย 81 ปีผู้นี้ ประธานาธิบดีคาซีม-โยมาร์ต โตคาเยฟที่รับตำแหน่งต่อจากนายนาซาร์บาเยฟ เผยเมื่อวันศุกร์ว่า สามารถควบคุมสถานการณ์ในเมืองอัลมาตีที่เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศได้แล้ว และได้ออกคำสั่งให้ยิงทิ้งเพื่อจัดการกับเหตุวุ่นวายจากกลุ่มคนที่เขาเรียกว่า “โจร” และ “ผู้ก่อการร้าย” ขณะเดียวกันกองกำลังพันธมิตรที่มีรัสเซียเป็นแกนนำได้มาประจำการในคาซัคสถานแล้วตามคำขอของคาซัคสถาน.-สำนักข่าวไทย

นายกฯ ญี่ปุ่นพักบ้านพักทางการคนแรกในรอบ 9 ปี

โตเกียว 13 ธ.ค.- นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนแรกในรอบ 9 ปี ที่ย้ายเข้าไปพำนักในบ้านพักอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากนายกรัฐมนตรีหลายคนที่ผ่านมาถูกวิจารณ์เรื่องเสียเวลาทำงานเพราะต้องเดินทางมาจากที่พักอื่น นายกรัฐมนตรีคิชิดะวัย 64 ปี ย้ายเข้าบ้านพักอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีที่อยู่ห่างจากสำนักนายกรัฐมนตรี โดยใช้เวลาเดินเพียง 1 นาที จากเดิมที่พักอยู่ในอพาร์ตเมนต์สำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่านอากาซากะในกรุงโตเกียวตั้งแต่ได้รับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตยหรือแอลดีพี (LDP) เมื่อต้นเดือนตุลาคม และใช้เวลาขับรถ 3 นาทีมายังสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้นำญี่ปุ่นตอบข้อถามผู้สื่อข่าวในเช้าวันนี้ว่า หลับสบายและรู้สึกสดชื่นพร้อมเข้าประชุมคณะกรรมการงบประมาณในรัฐสภาวันนี้ และไม่เจอวิญญาณที่ว่ากันว่ายังสิงสถิตอยู่ในอาคารแห่งนี้ นับตั้งแต่ทหารกองทัพจักพรรดิญี่ปุ่นกลุ่มหนึ่งใช้เป็นสถานที่ก่อกบฏในปี พ.ศ.2479 เว็บไซต์สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า นายกรัฐมนตรีคิชิดะย้ายมาพำนักในบ้านพักอย่างเป็นทางการที่อยู่ในอาณาบริเวณเดียวกับสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงเห็นว่าเขาให้ความสำคัญกับการจัดการเหตุวิกฤต ผู้นำญี่ปุ่นกล่าวว่า ตัดสินใจย้ายเพราะเชื่อว่าจะช่วยให้มีสมาธิในการปฏิบัติภารกิจได้ดียิ่งขึ้น และมีเวลากับครอบครัวมากขึ้น ก่อนหน้านี้สมาชิกรัฐสภาฝ่ายค้านวิจารณ์นายกรัฐมนตรีคนที่ผ่านมาของพรรคแอลดีพีอย่างนายกรัฐมนตรีโยชิฮิเดะ ซูงะที่พักในอพาร์ตเมนต์สำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะที่พักในบ้านพักส่วนตัวในกรุงโตเกียว เพราะเสียเวลารับมือกับเหตุฉุกเฉินโดยไม่จำเป็นหากต้องเดินทางมาจากที่อื่น ทั้งที่ทางการต้องใช้เงินภาษีประชาชนดูแลบ้านพักแห่งนี้ปีละ 160 ล้านเยน (ราว 47 ล้านบาท) ส่วนนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนหลังสุดที่พักในบ้านพักอย่างเป็นทางการคือ นายกรัฐมนตรีโยชิฮิโกะ โนดะ จากพรรคประชาธิปไตยแห่งญี่ปุ่น ดำรงตำแหน่งปี 2554-2555.-สำนักข่าวไทย

ตุรกีสั่งขับเอกอัครราชทูตตะวันตก 10 ประเทศ

อิสตันบูล 24 ต.ค.- ประธานาธิบดีเรเจพ ทายยิป แอร์โดอานของตุรกี สั่งการกระทรวงต่างประเทศขับเอกอัครราชทูตสหรัฐและชาติตะวันตกรวม 10 ประเทศ จากการเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักธุรกิจตุรกีที่เป็นนักโทษทางการเมือง ประธานาธิบดีแอร์โดอานปราศรัยต่อผู้สนับสนุนในเมืองทางตะวันตกเฉียงเหนือเมื่อวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า ได้สั่งการให้รัฐมนตรีต่างประเทศประกาศให้เอกอัครราชทูต 10 ประเทศเป็นบุคคลไม่พึงปรารถนาโดยทันที บุคคลเหล่านี้จะต้องรู้จักและเข้าใจตุรกี วันใดที่ไม่รู้จักและไม่เข้าใจก็จะต้องออกไป เอกอัครราชทูตแคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ นิวซีแลนด์ และสหรัฐ ออกแถลงการณ์ร่วมลงวันที่ 18 ตุลาคม เรียกร้องให้ตุรกีหาทางออกที่เป็นธรรมและเร่งด่วนในคดีของนายออสมาน คาวาลา นักธุรกิจวัย 64 ปี ที่สนับสนุนกลุ่มภาคประชาสังคมจำนวนมากและถูกคุมขังตั้งแต่ 4 ปีก่อน ข้อหาให้เงินสนับสนุนการประท้วงทั่วประเทศในปี 2556 และการก่อกบฏในปี 2559 แถลงการณ์ยังเรียกร้องให้ปล่อยตัวนายคาวาลาโดยทันทีด้วย กระทรวงต่างประเทศตุรกีเรียกเอกอัครราชทูตทั้งหมดเข้าพบและตำหนิว่าเป็นแถลงการณ์ที่ไร้ความรับผิดชอบ ทั้งนี้หากตุรกีขับเอกอัครราชทูตทั้ง 10 คนจริง ก็จะสร้างรอยร้าวกับตะวันตกครั้งใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่นายแอร์โดอานวัย 67 ปีครองอำนาจด้วยการเป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2546-2557 และประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน ด้านแหล่งข่าวทางการทูตเผยว่า […]

แกนนำ กปปส. 39 คน ฟังคำพิพากษาคดีกบฏ

แกนนำ กปปส.ทั้งหมด 39 คน เดินทางมารอรับฟังคำพิพากษาที่ศาลอาญาคดีกบฏ และข้อหาอื่นรวม 9 ข้อหา ขณะที่ นายสุเทพ เลขาธิการ กปปส. ยืนยันความบริสุทธิ์

1 2 3
...