พฤติกรรมการให้ความสำคัญกับการเลี้ยงสัตว์เหมือนลูก เป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมในสังคมปัจจุบันจนกลายเป็นกระแสบนสื่อสังคมออนไลน์ ?
🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
Pet Humanization เทรนด์หนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงแง่มุมและพฤติกรรมที่แตกต่างกันไปของผู้คนในปัจจุบัน
คำว่า PET Humanization พฤติกรรมของคนที่เลี้ยงสัตว์ (เช่น สุนัข แมว นก หนู และอื่น ๆ) เสมือนลูกของตัวเองและมีความสำคัญในครอบครัว
“สัตว์เลี้ยง” ก็คือ “สัตว์” ที่มีความป่าเถื่อนตามธรรมชาติ แต่เมื่อคนนำมาเลี้ยงในลักษณะของความเป็นเพื่อน เป็นการเปลี่ยนจากสัตว์เลี้ยงเป็นเสมือนบุคคลในครอบครัว
อีกคำ PET Parenting คือกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ไม่มีลูก แต่จำลองว่า “สัตว์เลี้ยง” คือ “ลูกของตัวเอง” ในครอบครัว และเปลี่ยนบทบาทของตัวเอง จากผู้เลี้ยงสัตว์กลายเป็นคุณพ่อหรือคุณแม่
ปัจจุบัน ในสื่อสังคมออนไลน์ จะเห็นคนที่โพสต์รูปแมว สุนัข แต่ไม่ใช่บริบทของสัตว์เลี้ยง แต่อาจจะใช้สรรพนามว่า “น้อง ลูกชาย ลูกสาว” และเรียกตัวเองว่า “แม่” หรือ “พ่อ”
สิ่งที่โพสต์ก็อาจจะไม่ใช่แค่ภาพนิ่ง อาจจะมีวิดีโอหรือไดอารี่ สื่อให้เห็นได้ว่าสัตว์เลี้ยงถูกปฏิบัติเสมือนลูกคนหนึ่ง
ค่านิยม “เลี้ยงสัตว์” ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก
ในสื่อสังคมออนไลน์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ที่คนเลี้ยงปฏิบัติเสมือนลูกเผยแพร่มากขึ้น สวมใส่เสื้อผ้า มีเครื่องประดับต่าง ๆ หลายอย่าง และสัตว์เลี้ยงเป็นหนึ่งในสมาชิกของครอบครัว ซึ่งเป็นกระแสนิยมการเลี้ยงสัตว์ยุคปัจจุบันนี้
การเลี้ยงสัตว์เสมือนลูกหลานหรือสมาชิกในครอบครัว มีเนื้อหาในสื่อสังคมออนไลน์ที่พูดถึงกันบ่อยมากขึ้น ได้แก่ เลี้ยงสัตว์เป็นลูก ดีกว่าเลี้ยงลูกที่เป็นลูกจริง ๆ
นอกจากนี้ มีการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนการเลี้ยงเด็ก 1 คน และสัตว์เลี้ยง เช่น
เลี้ยงแมว ควรมีเงิน 350-2,600.- บาท/เดือน/ตัว
เลี้ยงสุนัข ควรมีเงิน 600-10,000.- บาท/เดือน/ตัว
เลี้ยงเด็ก ควรมีเงิน 3,000-20,000.- บาท/เดือน/คน
เด็กรุ่นใหม่จึงคิดว่าการเลี้ยงสัตว์ง่ายกว่า สะดวก สบาย และมีอิสระ เนื่องจากมองกันว่า “เด็กทารก” กลายเป็น “ภาระ” ทางสังคม เศรษฐศาสตร์ และทางจิตวิทยาด้วย
ดังนั้น การเป็นพ่อและแม่ ต้องมีรายได้มั่นคง หน้าที่การงานมั่นคง ที่สำคัญการมีลูกคือการสูญเสียอิสรภาพ เทรนด์นี้จึงเปลี่ยนค่านิยมทางประชากรศาสตร์ เด็กรุ่นนี้จึงคิดว่าไม่ต้องมีลูก ส่งผลให้ไม่มีพัฒนาการทางจิตสังคม (Psychosocial Development) ไปในทิศทางที่ถูกต้อง
ปัญหาหนึ่งในเชิงประชากรศาสตร์ คือ ถ้าเด็กรุ่นใหม่รู้สึกว่าไม่ต้องมีลูกดีกว่า แล้วจะหาเยาวชนวัยแรงงานมาจากไหน ?
ทุกคนสามารถเลี้ยงสัตว์ได้ ถ้าเป็นไปตามเกณฑ์ปกติของการเลี้ยงสัตว์ จะต้องไม่ลืมว่าสัตว์มีสัญชาตญาณเอาตัวรอด และมีความป่าเถื่อนอยู่
ตัว “สัตว์” มีวิธีคิดลักษณะพฤติกรรมแบบหนึ่ง
ไม่ว่าจะเลี้ยงให้เหมือนลูกอย่างไร ก็เป็นความสัมพันธ์ทางเดียว
การเลี้ยงสัตว์เสมือนลูก แต่สัตว์เลี้ยงไม่ได้คิดว่าเราเป็นพ่อแม่
สัตว์เลี้ยงคิดเพียงว่า เราเป็นผู้เลี้ยงดู
การฝากความหวัง เป็นที่พึ่งทางอารมณ์ ก็ควรจะต้องลดทอน
การเลี้ยงสัตว์ ก็ต้องเลี้ยงให้เป็นไปตามธรรมชาติของสัตว์ อย่าทำลายความเป็นธรรมชาติของสัตว์
ถึงแม้ว่าเราไม่มีลูก แต่เราก็ยังมองธรรมชาติของเด็กและเยาวชนคนอื่น ๆ ในสังคมเป็นลูกได้
ตัวเราสามารถนำความรู้สึก ความใส่ใจ เอาใจใส่ดูแล ไปให้มนุษย์จริง ๆ คนอื่นได้ เพราะเราไม่จำเป็นต้องมีลูกก็ได้ แต่เราก็ยังสามารถคลี่คลายทางจิตสังคมได้อย่างสมบูรณ์
สัมภาษณ์โดย จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง
เขียนและเรียบเรียงโดย คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล
ดูเพิ่มเติมรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : PET HUMANIZATION — เทรนด์สุดฮิต เลี้ยงสัตว์เหมือนลูก
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter