ชัวร์ก่อนแชร์: มะเร็งหลอดอาหารสามารถสังเกตได้ง่าย จริงหรือ?

16 มีนาคม 2568
แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ข้อมูลที่ถูกแชร์ :

มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับโรคมะเร็งหลอดอาหารเผยแพร่ในต่างประเทศ โดยอ้างว่ามะเร็งหลอดอาหารเป็นโรคที่สามารถสังเกตได้ง่ายในระยะเริ่มต้น เหมือนกับการตรวจคัดกรองมะเร็งทั่วไป


บทสรุป :

1.ความผิดปกติทางกายหลายอย่างของมะเร็งหลอดอาหารอาการคล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ
2.ปัจจุบันยังไม่มีคำแนะนำให้มีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งหลอดอาหารในประชาชนทั่วไป

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :


หน้าที่ของหลอดอาหาร

หลอดอาหาร เป็นอวัยวะซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงอาหารจากคอหอยไปยังกระเพาะอาหาร ในผู้ใหญ่จะมีความยาวประมาณ 23-25 เซนติเมตร

สาเหตุมะเร็งหลอดอาหาร

มะเร็งหลอดอาหารเกิดจากผลกระทบที่เกิดกับเซลล์ในมะเร็งหลอดอาหาร ทำให้เซลล์เปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติจนกลายเป็นมะเร็งได้ในที่สุด

มะเร็งหลอดอาหารมีหลายประเภท แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ Adenocarcinoma (EAC) และ Squamous-cell carcinoma (ESCC)

มะเร็งหลอดอาหาร Adenocarcinoma (EAC) เกิดในเซลล์บริเวณรอยต่อระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร มักพบในประชากรประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป

มะเร็งหลอดอาหาร Squamous-cell carcinoma (ESCC) เกิดในเซลล์ที่บุผิวเยื่อเมือกส่วนบนของหลอดอาหาร มักพบในประชากรประเทศกำลังพัฒนา เช่น เอเชีย

สัญญาณของมะเร็งหลอดอาหาร ได้แก่

1.กลืนลำบาก
2.น้ำหนักลด
3.เสียงแหบ
4.ไอแห้ง
5.จุกเสียดแน่นท้อง
6.ต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณกระดูกไหปลาร้า
7.ไอเป็นเลือด

อาการของมะเร็งหลอดอาหารแบ่งได้ 4 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 มะเร็งอยู่ที่ชั้นเยื่อบุหลอดอาหาร ยังไม่ลุกลามไปที่อื่น
ระยะที่ 2 มะเร็งลุกลามไปชั้นกล้ามเนื้อผนังหลอดอาหาร หรือแพร่ไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง
ระยะที่ 3 มะเร็งลุกลามและแพร่ไปยังอวัยวะใกล้เคียง หรือกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้ ๆ หลอดอาหาร
ระยะที่ 4 มะเร็งลุกลามและกระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

ผลสำรวจของ Global Cancer Observatory พบว่ามะเร็งหลอดอาหาร เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 8 ของมะเร็งทุกชนิด โดยปี 2018 พบผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหารประมาณ 572,000 ราย และเสียชีวิตจากมะเร็งหลอดอาหารในปี 2018 ประมาณ 509,000 ราย ถือเป็นยอดผู้เสียชีวิตที่สูงกว่าการสำรวจปี 1990 ที่ 345,000 ราย

ส่วนสถิติในประเทศไทยปี 2022 พบว่า พบผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหารประมาณ 3,400 รายต่อปี และเสียชีวิตจากมะเร็งหลอดอาหารประมาณ 3,200 รายต่อปี ส่วนใหญ่พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง มักพบในประชากรอายุ 55-65 ปี

อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหารขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็งที่ตรวจพบ หากมะเร็งถูกพบในระยะที่ยังไม่ลุกลาม อัตราการรอดชีวิตในช่วงเวลา 5 ปีอยู่ที่ 37% หากมะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองของอวัยวะใกล้เคียง อัตราการรอดชีวิตในช่วงเวลา 5 ปีอยู่ที่ 19% หากพบการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะอื่น ๆ อัตราการรอดชีวิตในช่วงเวลา 5 ปีอยู่ที่ 3%

ความยากในการตรวจคัดกรองมะเร็งหลอดอาหาร

ปัจจุบันยังไม่มีคำแนะนำให้มีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งหลอดอาหารในประชาชนทั่วไป เนื่องจากความผิดปกติทางกายหลายอย่างของมะเร็งหลอดอาหารอาการคล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ เช่น อาการจุกเสียดแน่นท้อง ซึ่งมักเชื่อมโยงกับอาการกรดไหลย้อน

แม้มะเร็งหลอดอาหารในระยะเริ่มแรกจะรักษาให้หายได้ แต่ส่วนใหญ่จะมีอาการและตรวจพบตอนมะเร็งแพร่กระจายออกจากผนังหลอดอาหารแล้ว ส่งผลให้มีการตรวจพบผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหารในระยะที่มะเร็งลุกลามไปแล้วเป็นส่วนใหญ่

ประโยชน์และความเสี่ยงของการตรวจคัดกรองมะเร็งหลอดอาหาร

ดร.โจล เอช. รูเบนสไตน์ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เจ้าของงานวิจัยปี 2022 ที่ไม่พบความจำเป็นของการส่องกล้องทางเดินอาหารเพื่อคัดกรองมะเร็งหลอดอาหารซึ่งเกิดจากกรดไหลย้อนสำหรับประชากรทั่วไป

โดยพบว่าการคัดกรองพอจะมีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยเพศชายผิวขาวที่มีปัญหากรดไหลย้อนเรื้อรัง แต่ประชากรเพศหญิงไม่พบว่าส่องกล้องทางเดินอาหารมีประโยชน์มากนัก และยังเพิ่มความเสี่ยงในกลุ่มสตรีผิวดำ

ยกเว้นในกรณีที่ปัญหากรดไหลย้อนมีร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ อาเจียน หรือกลืนลำบาก ซึ่งควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งหลอดอาหาร

หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหาร

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง มีทั้งการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา โรคอ้วน กรดไหลย้อน การดื่มน้ำร้อนมาก ๆ การกินอาหารแปรรูป และการเคี้ยวหมากพลู

ข้อมูลปี 2014 ของ World Cancer Report พบว่า ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหารชนิด ESCC มาจากการสูบบุหรี่ และ 1 ใน 3 มาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และมากกว่า 1 ใน 4 ของผู้ป่วยชายที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่และดื่มสุราร่วมกัน

ข้อมูลอ้างอิง :

https://clicks.co.za/health/article-view/4-myth-busting-facts-about-oesophageal-cancer
https://www.reuters.com/article/business/healthcare-pharmaceuticals/no-need-for-esophageal-cancer-screen-despite-heartburn-idUSTRE6BE6GI/
https://www.worldwidecancerresearch.org/information-and-impact/cancer-myths-and-questions/why-is-oesophageal-cancer-so-hard-to-cure/
https://www.chulacancer.net/patient-knowledge-view.php?id=581
http://cochrane.org/th/CD007883/GUT_kaartrwcchkhadkrngmaernghldaahaar
https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC10320713/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ใบประกอบวิชาชีพครู

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” แนะรีบต่ออายุใบอนุญาต หลังคุรุสภาออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วันก่อนเดินทาง ตามกฎใหม่ ตม.

พีชเรียกอาต่าย

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” โอ้อวดเรียก “อาต่าย” ลั่นไม่ใช่ญาติ

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” คู่กรณีรถกระบะ โอ้อวดเรียก “อาต่าย” รู้จักคนในรัฐบาล หวังผลคดี ลั่นไม่ใช่ญาติ สอนลูกเสมออย่าทำตัวเป็นขยะสังคม บอกประชาชนใช้วิจารณญาณเลือกตั้ง

“นายกเบี้ยว” ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้-ดูแลลุงคู่กรณี

“นายกเบี้ยว” รับจบแทนลูก ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้ ดูแลลุงคู่กรณี ระบุสอนลูกไม่ดี ไม่มีเวลาให้ลูก ปฏิเสธไม่สนิทกับ ผบ.ตร. อย่าเอาท่านมาแปดเปื้อน ส่วนที่ลูกชายยังไม่ไปเยี่ยมลุงคู่กรณี เนื่องจากกลัวโดนถูกโวยวาย

ข่าวแนะนำ

ก.อุตฯ เตรียมส่งตรวจเหล็กตึก สตง. เพิ่ม 21 เม.ย.

ก.อุตสาหกรรม กางผลตรวจเหล็กตึก สตง.ถล่ม รอบแรก ก่อนส่งตรวจเพิ่มอีก 40 ท่อน 21 เม.ย. ย้ำผิดคือผิด! ผู้ผลิต-จนท.มีเอี่ยว เตรียมปิดเทอม

พายุฝนพัดต้นยางอายุร่วม 100 ปี ทับโรงครัววัดพังราบ

พายุฝนลมกระโชกแรง ซัดต้นยางอายุร่วม 100 ปี วัดนางเหลียว ล้มทับโรงครัวพังเสียหาย ชาวบ้านในงานศพตื่นตระหนก วิ่งหนีกระเจิง

ลุยรื้อถอนต่อเนื่องเข้าวันที่ 24 จนท.ทำงานหนักตลอด 24 ชม.

เดินหน้ารื้อถอนอาคาร สตง.ถล่ม เข้าสู่วันที่ 24 เจ้าหน้าที่ทำงานตลอด 24 ชม. เพื่อให้เสร็จตามแผน ขณะที่ภารกิจค้นหาผู้ติดค้างยังคงดำเนินต่อเนื่อง