ชัวร์ก่อนแชร์: Lenacapavir ยารักษาโรคเอดส์หาย 100% จริงหรือ?

25 ธันวาคม 2567
แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ข้อมูลที่ถูกแชร์ :

มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่า Lenacapavir ยาต้านไวรัส HIV ที่ประสบความสำเร็จในการวิจัยด้านการป้องกันการติดเชื้อ HIV มีคุณสมบัติรักษาผู้ป่วยเอดส์ได้เกือบ 100% แต่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาต่อปีสูงถึงกว่า 4 หมื่นดอลลาร์สหรัฐฯ หรือปีละกว่า 1.5 ล้านบาท


บทสรุป :

1.Lenacapavir ใช้ในการบำบัดผู้ติดเชื้อไวรัส HIV และทดลองเพื่อการป้องกันไวรัส HIV ไม่ได้ใช้เพื่อรักษาให้หายจากการติดเชื้อไวรัส HIV
2.ผลการป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV ระดับ 100% เกิดขึ้นในการทดลองกับกลุ่มสตรีแอฟริกันหลักพันราย ยังไม่ทราบประสิทธิผลจากการใช้จริง
3.ยังไม่มีการรักษาการติดเชื้อไวรัส HIV ให้หายขาดสำหรับคนทั่วไป

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :


Lenacapavir ยาต้านไวรัส HIV ชนิดใหม่สำหรับเชื้อดื้อยาหลายชนิด

Lenacapavir หรือชื่อทางการค้า Sunlenca เป็นยาต้านไวรัส HIV ที่ถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของการบำบัดผู้ติดเชื้อไวรัส HIV ด้วยวิธีรีโทรไวรัสที่มีประสิทธิภาพสูง (Highly Active Antiretroviral Therapy หรือ HAART) ซึ่งเป็นการใช้ยาต้านไวรัส 3 ชนิดขึ้นไปเพื่อช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสให้ได้ดีขึ้นและลดโอกาสการดื้อยาของไวรัสได้มากขึ้น

Lenacapavir เป็นทั้งยาสำหรับกินและยาฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) เมื่อปี 2022 เพื่อใช้บำบัดผู้ป่วย HIV ที่ดื้อยาต้านไวรัสหลายชนิด

Lenacapavir ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง Capsid (Capsid Inhibitor) ซึ่งเป็นโปรตีนชั้นนอกสุดที่ห่อหุ้ม RNA ซึ่งเป็นสารพันธุกรรมของไวรัส HIV มีหน้าที่ในการแบ่งตัวของไวรัส การใช้ยา Lenacapavir ทำให้ไวรัสสร้าง Capsid ได้ไม่สมบูรณ์ นำไปสู่การหยุดวงจรชีวิตของไวรัส HIV

การทดลอง Lenacapavir เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV

มีการทดลองใช้ยา Lenacapavir เพื่อการป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV ในแบบ Pre-Exposure Prophylaxis หรือ PrEP ซึ่งเป็นการป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV ก่อนจะมีโอกาสสัมผัสเชื้อ

ผลการทดลองยา Lenacapavir สำหรับป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV ในแบบ PrEP ได้รับการตีพิมพ์ทางวารสาร New England Journal of Medicine เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2024 พบว่าการฉีดยา Lenacapavir กับกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงปีละ 2 ครั้ง มีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV 100%

ต่อมามีการทดลองใช้ยา Lenacapavir ป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV ในแบบ PrEP กับกลุ่มตัวอย่างเพศชายและกลุ่มเพศทางเลือก ด้วยการฉีดยา Lenacapavir ปีละ 2 ครั้ง ผลการทดลองที่ตีพิมพ์ทางวารสาร New England Journal of Medicine เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2024 พบว่าประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV ของยา Lenacapavir อยู่ที่ 96%

อย่างไรก็ดี ประสิทธิผลของยา Lenacapavir ยังอยู่ในขั้นของการทดลอง ยังไม่มีการอนุมัติเพื่อใช้ป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV แต่อย่างใด

นอกจากนี้ คุณสมบัติของยา Lenacapavir คือการบำบัดผู้ติดเชื้อไวรัส HIV และการทดลองเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV แต่ไม่ใช่เพื่อการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัส HIV ตามที่กล่าวอ้าง

ดร.คอลลีน เคลลีย์ ผู้อำนวยการร่วมของศูนย์วิจัยโรคเอดส์ Emory Center เจ้าของงานวิจัยการใช้ยา Lenacapavir เพื่อการป้องกันไวรัส HIV ยืนยันว่ายา Lenacapavir ไม่ได้มีไว้รักษาโรคเอดส์ แต่ใช้เพื่อบำบัดผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส HIV ร่วมกับยาต้านไวรัสอื่น ๆ และการทดลองเพื่อใช้ป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV เท่านั้น

แพทริก แจ็กสัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาโรคติดเชื้อ มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย ยืนยันว่ายา Lenacapavir ไม่ใช่ยารักษาผู้ติดเชื้อไวรัส HIV ให้หายจากโรค เพราะเมื่อผู้ป่วย HIV หยุดใช้ยา Lenacapavir เพื่อการบำบัด ปริมาณไวรัสในร่างกายก็จะกลับมาสูงอีกครั้ง เช่นเดียวกับการใช้ยา Lenacapavir เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV ในแบบ PrEP เมื่อหยุดใช้ยา ความเสี่ยงการติดเชื้อก็จะกลับมาสูงอีกครั้งเช่นกัน

ไม่มีการรักษาโรคเอดส์สำหรับคนทั่วไป

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคเอดส์สำหรับคนทั่วไป มีเพียงการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัส HIV ที่ป่วยเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองหรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว ด้วยการผ่าตัดปลูกถ่ายไขกระดูก โดยนำสเต็มเซลล์ของผู้บริจาคไขกระดูกซึ่งร่างกายเกิดการกลายพันธุ์ทำให้ไม่มีตัวรับเชื้อไวรัส HIV เข้าสู่เซลล์ เมื่อนำสเต็มเซลล์จากไขกระดูกมาปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยมะเร็งที่มีเชื้อไวรัส HIV จะเกิดการกระตุ้นภูมิคุ้มกันไปทำลายเซลล์มะเร็งที่หลงเหลือในร่างกายของผู้ป่วยและทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส HIV ในร่างกายเช่นกัน

อย่างไรก็ดี การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวไม่สามารถใช้ได้กับผู้ติดเชื้อไวรัส HIV ทุกราย และผู้ที่ผ่านการรักษาแล้ว ยังคงต้องใช้ยาต้านไวรัส HIV ในการบำบัดต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง

ปัจจุบันมีผู้รักษาการติดเชื้อไวรัส HIV ให้หายขาดด้วยการผ่าตัดปลูกถ่ายไขกระดูกเพียง 7 ราย โดยรายล่าสุดเป็นผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่รักษาตัวในเมืองมิวนิกเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2024 ที่ผ่านมา

แนวโน้มราคา ยา Lenacapavir

ตัวแทนของบริษัท Gilead ผู้ผลิตยา Lenacapavir ชี้แจงว่า ค่าใช้จ่ายของการใช้ยา Lenacapavir ที่ตกปีละ 4-4.5 หมื่นดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นมูลค่าของการใช้ยา Lenacapavir สำหรับการบำบัด ไม่ใช่มูลค่าของยาที่ใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV เนื่องจากยา Lenacapavir สำหรับการป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV ยังอยู่ในขั้นการทดลอง จึงยังไม่อาจสรุปได้ว่าการใช้ยา Lenacapavir สำหรับการป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV จะมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

งานวิจัยเมื่อเดือนกรกฎาคม 2024 พบว่า หากมีการนำยา Lenacapavir มาผลิตในรูปแบบยาสามัญ และเข้าถึงผู้ใช้ได้มากกว่า 10 ล้านคน มูลค่าในการใช้ยา Lenacapavir ต่อปีจะลดลงมาอยู่ที่ 40 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1.5 พันบาทเท่านั้น

โดยพบว่า หากมีประชากรการใช้ยา Lenacapavir เพื่อการป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV ถึงหลัก 60 ล้านคน จะช่วยลดอัตราผู้ติดเชื้อไวรัส HIV ลงได้อย่างมาก

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า มีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัส HIV ทั่วโลกแล้วกว่า 40 ล้านคน

ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.politifact.com/factchecks/2024/dec/11/instagram-posts/this-drug-helps-manage-infections-and-prevent-aids/
https://www.reuters.com/fact-check/hiv-drug-prevents-infections-not-new-cure-aids-2024-12-09/
https://eu.usatoday.com/story/news/factcheck/2024/12/11/drug-lenacapravir-hiv-cure-fact-check/76875410007/
https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/news_week_full.php?id=1712
https://en.wikipedia.org/wiki/Lenacapavir

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

เดินทางปีใหม่สายเอเชีย

ถนนสายเอเชียมุ่งสู่ภาคเหนือรถเริ่มมาก

ประชาชน เริ่มทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนา และไปท่องเที่ยวช่วงส่งท้ายปี 2567 รับปีใหม่ 2568 การจราจรถนนสายเอเชีย ฝั่งขาขึ้นภาคเหนือ ช่วงชัยนาท รถเริ่มมาก

ฉายาตำรวจปี67

เปิด 10 ฉายาตำรวจ ปี 67

สมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมฯ เปิด 10 ฉายา ตำรวจ “บิ๊กต่าย” ฉายา “กัปตันเรือกู้” จากภารกิจร้อนในการกอบกู้วิกฤติศรัทธา-ภาพลักษณ์องศ์กร “สารวัตรแจ๊ะ” ได้ฉายา “อย่าเล่นกับระบบ แจ๊ะ”

นายกฯ เปิดนิทรรศการกล่องของขวัญปีใหม่68 จากตำรวจ

“แพทองธาร” นายกฯ เปิดนิทรรศการกล่องของขวัญจากตำรวจ มอบให้ประชาชน 4 โครงการ ช่วงปีใหม่ 2568 ทั้งที่พักฟรี-ราคาถูก ชวนโหลดแอปฯ Cyber Check ตรวจสอบป้องกันมิจฉาชีพหลอกลวง