ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน HPV ไม่ลดความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก จริงหรือ?

04 ธันวาคม 2567
แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ข้อมูลที่ถูกแชร์ :

มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน HPV เผยแพร่ทางคลิปวิดีโอใน X ที่สหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่า ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA) พบว่าการรณรงค์ฉีดวัคซีน HPV ให้กับเด็กหญิง ไม่ช่วยลดโอกาสการป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกเหมือนที่หน่วยงานสาธารณสุขคาดไว้ เพราะหลังจากเริ่มรณรงค์ฉีดวัคซีน HPV ในสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ปี 2006 ปัจจุบันกลับพบว่ายอดผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกกลับเพิ่มขึ้น


บทสรุป :

  1. เป็นข้ออ้างที่บิดเบือนผลวิจัยที่พบว่าผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 4 เพิ่มขึ้นเพราะขาดการคัดกรองมะเร็ง ไม่ใช่เพราะวัคซีน
  2. ข้อมูลจาก CDC พบว่าจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกลดลงอย่างมากนับตั้งแต่มีการรณรงค์ฉีดวัคซีน HPV ให้กับเด็กผู้หญิงเมื่อปี 2006 เป้นต้นมา

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :

จากการตรวจสอบโดย Fact Checker ในต่างประเทศพบว่า บุคคลที่อยู่ในคลิปวิดีโอคือ ดร.ปีเตอร์สัน ปีแอร์ แพทย์โรคผิวหนัง สมาชิกของ America’s Frontline Doctors องค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อต่อต้านการรณรงค์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2019 โดยหลายปีที่ผ่านมา America’s Frontline Doctors ได้รับการจับตาจากการเผยแพร่ข่าวปลอมเกี่ยวกับวัคซีนอย่างต่อเนื่อง


มะเร็งระยะสุดท้ายเพิ่มขึ้น-มะเร็งทั่วไปลดลง

ดร.อเล็กซ์ เฟรนเคอร์ นักวิจัยของ UCLA และเจ้าของงานวิจัยที่ถูก America’s Frontline Doctors นำมากล่าวอ้าง ยืนยันต่อทาง Fact Checker หลายสำนักว่า การเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ระบุในงานวิจัย คือยอดผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 4 หรือระยะสุดท้ายเท่านั้น

สวนทางกับข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) ที่พบว่า ยอดผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกโดยรวมมีจำนวนลดลงนับตั้งแต่การรณรงค์ฉีดวัคซีน HPV ในปี 2006

เฟรนเคอร์และคณะวิจัยสำรวจจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้าย ซึ่งเป็นระยะที่มะเร็งลุกลามไปยังกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย โดยพบว่าในช่วงปี 2001-2018 จำนวนผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 4 เพิ่มขึ้น 1-3% ต่อปี

ทีมวิจัยพบว่ากลุ่มสตรีผิวดำมีอัตราการป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 4 สูงสุดหรือ 1.55 รายต่อประชากร 100,000 ราย ส่วนกลุ่มสตรีผิวขาวมีอัตราการป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 4 น้อยกว่าที่ 0.92 รายต่อประชากร 100,000 ราย

แต่กลุ่มสตรีผิวขาวในช่วงอายุ 40 ปีตอนต้น กลับเป็นกลุ่มที่พบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 4 มากที่สุดในทุกช่วงอายุ โดยพบอัตราการเพิ่มขึ้นถึง 4.5% ต่อปี

ซึ่งทีมวิจัยพบว่า กลุ่มสตรีผิวขาวมีอัตราการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกน้อยกว่ากลุ่มสตรีผิวดำถึง 2 เท่า จึงน่าจะเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 4 ในกลุ่มสตรีผิวขาวในช่วงอายุ 40 ปีตอนต้นมีจำนวนมากที่สุด

เฟรนเคอร์และคณะยังพบว่า ในกลุ่มสตรีที่อายุน้อยและได้รับวัคซีน HPV ในช่วงที่มีการรณรงค์ฉีดอย่างแพร่หลายหลังจากปี 2006 เป็นต้นมา คือกลุ่มที่พบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกลดลงอย่างมาก

งานวิจัยปี 2020 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร New England Journal of Medicine เปรียบเทียบสัดส่วนการป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกของสตรีชาวสวีเดนอายุระหว่าง 10-30 ปี จำนวน 1.6 ล้านราย ในช่วงปี 2006-2017

โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ไม่รับวัคซีน HPV และกลุ่มที่รับวัคซีน HPV ยี่ห้อ Gardasil สูตร 4 สายพันธุ์ ซึ่งป้องกันเชื้อไวรัส HPV ได้ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ 6, 11, 16 และ 18 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ก่อทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศและมะเร็งปากมดลูก

ทีมวิจัยพบว่า กลุ่มสตรีที่ได้รับวัคซีน HPV มีความเสี่ยงป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนอย่างมาก โดยพบว่ากลุ่มที่ได้รับวัคซีน HPV ระหว่างอายุ 17-30 ปี ลดความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกได้ 53% ส่วนผู้ที่ได้รับวัคซีน HPV ก่อนอายุ 17 ปี ลดความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกได้ 90%

มาริสา ลูเบค ผู้เชี่ยวชาญการสื่อสารด้านสุขภาพ ศูนย์ภูมิต้านทานและระบบทางเดินหายใจแห่งชาติสหรัฐฯ (NCIRD) อธิบายว่า จำเป็นต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผลของวัคซีน HPV ต่อการป้องกันมะเร็งปากมดลูกอย่างชัดเจน เนื่องจากยังมีสตรีสูงวัยที่ไม่ได้รับวัคซีน HPV ตอนเป็นวัยรุ่นเหมือนเด็กสาวรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูกเช่นเดิม ปัจจัยเสี่ยงอีกประการคือการไม่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างทั่วถึง ดังนั้นวัคซีน HPV และการตรวจคัดกรองคือวิธีป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ดีที่สุด

ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า มะเร็งปากมดลูกคือมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับที่ 4 ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเพศหญิงทั่วโลก

รายงานของสถาบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Cancer Institute) ระหว่างการสำรวจปี 2014-2018 พบว่า มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดอันดับที่ 13 ในสหรัฐอเมริกา

สถาบันมะเร็งแห่งชาติของไทยระบุว่า มะเร็งปากมดลูกคือมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับที่ 5 ที่พบในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเพศหญิงในประเทศไทย

ข้อมูลอ้างอิง :

https://apnews.com/article/fact-check-hpv-vaccine-effective-cancer-111862714979
https://www.reuters.com/article/fact-check/a-ucla-study-on-late-stage-cervical-cancer-rates-does-not-show-hpv-vaccine-is-in-idUSL1N32319K/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

แจ้งข้อหาเพิ่ม “ทนายตั้ม” คดี 39 ล้านบาท รวม 7 ข้อหา

แจ้งข้อหาเพิ่ม “ทนายตั้ม” คดี 39 ล้านบาท รวม 7 ข้อหา จ่อแจ้งข้อหา “นุ-แซน” เพิ่มเติม และเชื่อว่ามีบุคคลอื่นที่ต้องถูกดำเนินคดีอีก ส่วน “ฟิล์ม รัฐภูมิ” ยังไม่ประสานเข้าพบหลังออกหมายเรียก

วิสามัญมือยิงประธานสภา อบต.โพนจาน ยิงสู้ จนท.

วิสามัญมือยิงประธานสภา อบต.โพนจาน จ.นครพนม หลังหนีข้ามมา จ.ขอนแก่น เจ้าหน้าที่ปิดล้อมเกลี้ยกล่อมให้วางอาวุธ แต่ไม่สำเร็จ คนร้ายยิงต่อสู้

ขู่ยื่นเอาผิด รมว.ดีอี ปล่อยโฆษณาหลอกหลวง ปชช.

รัฐสภา 3 ธ.ค. – กมธ.ไอซีที สว. ขู่ ยื่น ม.157 เอาผิด รมว.ดีอี ฉุนเกียร์ว่าง ปล่อยโฆษณาหลอกหลวง ประชาชน – ปล่อย “หมอบุญ” หนีลอยนวล จี้รัฐยกปราบหลอกลวงออนไลน์เป็นวาระแห่งชาติ นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ สว. ฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม คนที่หก วุฒิสภา แถลงผลการประชุมกมธ. เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. ซึ่งตรวจสอบกรณีการโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ให้ลงทุนในสินทรัพย์ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงอาทิ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรณีของนพ.บุญ วนาสิน ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลธนบุรี ที่พบกรณีฉ้อโกงและฟอกเงิน เป็นมูลค่าสูงกว่า 7,500 ล้านบาท อย่างไรก็ดีในคดีดังกล่าวถูกแจ้งความดำเนินคดีที่ สน.ห้วยขวาง แล้วปี 2566 แต่ไม่มีการดำเนินการใดๆ จนกระทั่งนพ.บุญเดินทางออกไปนอกประเทศและไม่มีการอายัดทรัพย์ ทั้งนี้ในการหลอกหลวงผ่านโฆษณาชวนเชื่อนั้น ทำผ่านโบรกเกอร์ที่หลอกลงทุน ทั้งนี้เชื่อว่าจะเป็นนักลงทุนที่เคยลงทุนที่คุ้นเคยกับเครือโรงพยาบาลธนบุรี “จากการชี้แจงกรณี นพ.บุญของหน่วยงานที่ชี้แจง พบเป็นการโยนกลองกันไปมา ไม่มีหน่วยงานใดที่รับผิดชอบจริงจัง […]

ข่าวแนะนำ

บุญทรงรายงานตัว

“บุญทรง” รายงานตัวครั้งแรกหลังได้พักโทษ

“บุญทรง” รายงานตัวกับเจ้าหน้าที่คุมประพฤติครั้งแรก หลังได้รับการพักโทษจากคดีทุจริตจำนำข้าว ด้านลูกชายเผยพ่อตั้งใจบวชหลังพ้นโทษ

ชุมนุมเกาหลีใต้

นายกฯ ขอคนไทยในเกาหลีใต้ เลี่ยงพื้นที่ชุมนุม

“นายกฯ แพทองธาร” ขอคนไทยในเกาหลีใต้ ระมัดระวังหลีกเลี่ยงพื้นที่ชุมนุม ติดตามข่าวสถานทูตใกล้ชิด หวังสถานการณ์คลี่คลายโดยเร็ว

อัญเชิญพระเขี้ยวแก้ว

อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) จากจีนสู่ไทย

“ชูศักดิ์” นำคณะผู้แทนไทยเดินทางไปยังวัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) มาประดิษฐานในไทยเป็นการชั่วคราว ณ ท้องสนามหลวง ระหว่าง 5 ธ.ค. 67 – 14 ก.พ. 68

ต้มยำกุ้งมรดกโลก

“ต้มยำกุ้ง” ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมฯ ยูเนสโก

เฮ! “ต้มยำกุ้ง” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมฯ โดยยูเนสโก ด้านนายกฯ เชิญชวนลิ้มลองรสชาติความอร่อย มั่นใจเป็นส่วนหนึ่งของ Soft Power ไทย สร้างความมั่นคงด้านอาหาร สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน