03 พฤศจิกายน 2566
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล
ข้อมูลที่ถูกแชร์ :
มีคลิปวิดีโอข้อมูลเท็จเผยแพร่ทาง TikTok และ Facebook เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2023 โดยอ้างว่าชาวเลบานอนนับพันที่ไม่พอใจการโจมตีฉนวนกาซาของทางการอิสราเอล ได้รวมตัวกันประท้วงที่หมู่บ้านทางตอนใต้ใกล้กับชายแดนของอิสราเอล โดยผู้ประท้วงไม่น้อยพยายามปีนกำแพงเข้ามายังฝั่งอิสราเอล เพื่อหวังช่วยเหลือชาวปาเลสไตน์ที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงระหว่างการกวาดล้างกองกำลังติดอาวุธฮามาสโดยฝีมือของอิสราเอล จนเป็นเหตุให้มีชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตกว่า 4,500 รายในช่วง 2 สัปดาห์
บทสรุป :
เป็นภาพชาวเลบานอนพยายามปีนรั้วที่ชายแดนอิสราเอลเมื่อปี 2021 ไม่ใช่เหตุการณ์ในสงครามอิสราเอล-ฮามาสในปี 2023
FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :
แม้คลิปวิดีโอจะนำเสนอการประท้วงอิสราเอลของชาวเลบานอน แต่เหตุการณ์ในคลิปไม่เกี่ยวข้องกับสงครามอิสราเอล-ฮามาส ที่เกิดขึ้นในเดือนตุลาคม 2023 แต่อย่างใด
เหตุการณ์ในคลิปที่ถูกแชร์เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2021 ช่วงที่ชาวเลบานอนและปาเลสไตน์หลายร้อยคนรวมตัวกันที่พรมแดนระหว่างอิสราเอลและเลบานอน เพื่อประท้วงการโจมตีฉนวนกาซาของกองกำลังอิสราเอลเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2021
คลิปต้นฉบับที่โพสต์ทาง YouTube และ X พบว่า ผู้ประท้วงในหมู่บ้านโอดีเซห์ที่อยู่ทางฝั่งเลบานอน พยายามปีนกำแพงคอนกรีตข้ามมายังฝั่งอิสราเอล ส่งผลให้กองกำลังอิสราเอลเปิดฉากยิงใส่กลุ่มผู้ประท้วง จนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บ 1 ราย
ข้อมูลอ้างอิง :
https://apnews.com/article/fact-check-israel-lebanon-wall-border-478405165920
https://www.reuters.com/fact-check/video-people-climbing-lebanon-israel-border-filmed-dates-2021-2023-10-13/
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter