ชัวร์ก่อนแชร์ : ขี้เถ้าช่วยให้ผลไม้หวานขึ้น จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์คลิปแนะนำวิธีทำให้ผลไม้หวานขึ้น ด้วยการฝาน ตัดขั้ว แล้วจุ่มขี้เถ้าวางไว้ 1 คืน จริงหรือ ?


🎯 ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ ดร.กาญจนา บุญเรือง ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

📌 สรุป :ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ


จากที่เห็นในสื่อสังคมออนไลน์ การปาดผลไม้แล้วใช้ขี้เถ้าทา เพื่อให้ผลไม้มีรสหวานขึ้น เรื่องนี้ยังไม่พบข้อมูลที่มีการพิสูจน์

โพแทสเซียม : สารให้ความหวาน จริงหรือ ?

ในคลิปที่แชร์กันบอกว่าในขี้เถ้ามีโพแทสเซียมช่วยให้ผลไม้หวานนั้น “ไม่จริง”


“โพแทสเซียม” ไม่ใช่สารให้ความหวาน แถมมีรสชาติแปร่ง ๆ กร่อย ๆ ด้วยซ้ำ

ในขี้เถ้าพบโพแทสเซียมประมาณ 1-5 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นกับชนิดของเนื้อไม้ที่นำมาเผาถ่านด้วย

วิธีที่แนะนำอาจทำให้องค์ประกอบภายในของผลไม้ส่วนที่สัมผัสกับขี้เถ้าเปลี่ยนไปได้

ใน “ขี้เถ้า” มีส่วนที่หลงเหลือจากการเผาคือแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น แคลเซียม โพแทสเซียม ซิลิกา อาจจะอยู่ในรูปของเกลือ

ดังนั้น การปาดขั้วของผลไม้เป็นแผลขนาดใหญ่ ทำให้เกิดช่องเปิดและมีการคลายน้ำ มีการสูญเสียน้ำออกไป และการนำขี้เถ้าทาบริเวณแผลที่ปาดของผลไม้ แร่ธาตุที่หลงเหลือในขี้เถ้ามีโอกาสแพร่เข้าไปในท่อลำเลียงของผลไม้ ทำให้ความเข้มข้นในเซลล์ผลไม้เพิ่มขึ้น เมื่อกินผลไม้จะรู้สึกถึงรสชาติที่เข้มขึ้น จึงตีความว่าเป็นความหวาน แต่ที่จริงแล้ว “ขี้เถ้า” ไม่ใช่สารให้ความหวาน 

นอกจากนี้ การเกิดรอยแผลและบาดแผลของผลไม้ จะมีการกระตุ้นเรื่องกระบวนการสร้างเอทิลีน (Ethylene) แล้วเอทิลีนมีโอกาสไปชักนำกระบวนการเสื่อมเสียต่าง ๆ ตามมา

คลิปที่แชร์กัน แนะนำว่าใช้ได้ทั้งมะละกอ มะม่วง แคนตาลูป แตงโม จริงหรือไม่

จากคลิปที่แชร์กัน สามารถแบ่งผลไม้ได้เป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 มะละกอ มะม่วง แคนตาลูป กลุ่มนี้สามารถเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล หลังจากเก็บเกี่ยวมาแล้วมีโอกาสหวานมากขึ้น

กลุ่มที่ 2 แตงโม ส้ม สับปะรด ลิ้นจี่ ลำไย ส้มโอ

แตงโม ไม่สามารถสุกได้หลังเก็บเกี่ยว เมื่อเก็บเกี่ยวมามีน้ำตาลเท่าไหร่ก็อยู่เท่าเดิม ยกเว้นกรณีสูญเสียน้ำ ทำให้ความเข้มข้นในเซลล์เพิ่มขึ้น

การเก็บเกี่ยวผลไม้กลุ่มนี้ระยะความบริบูรณ์หรือความแก่ที่เหมาะสม จะเป็นที่ยอมรับได้ของเกษตรกรและผู้บริโภค

โดยธรรมชาติ ผลไม้ส่วนใหญ่จะมีคุณภาพและรสชาติดีก็ตอนที่ปล่อยให้สุกบนต้นไปเลย

การเก็บเกี่ยวผลไม้ของเกษตรกร มีขั้นตอนการจัดการหลังเก็บเกี่ยวและการขนส่ง ซึ่งอาจทำให้ผลไม้เสียหาย จึงต้องเก็บเกี่ยวในช่วงที่ยังมีความแน่นเนื้อเพื่อลดการบอบช้ำเสียหาย

สำหรับคนที่อยากทดลองใช้ขี้เถ้าตามที่แนะนำในคลิป

ยังไม่แนะนำ เนื่องจากไม่ทราบแหล่งที่มาของขี้เถ้า ว่าขี้เถ้ามาจากไม้อะไรและจากที่ไหน เพราะมีโอกาสที่โลหะอันตรายถูกดูดซึมเข้าไปในเนื้อผลไม้

การปาดผลไม้ทิ้งไว้ ผลไม้สุกจะมีน้ำตาลที่สูง จุลินทรีย์ต่าง ๆ ชอบมากเลย และการทำให้เกิดบาดแผลที่ผลไม้ ก็อาจทำให้จุลินทรีย์เข้ามาทำลาย ทำให้ผลไม้เกิดการเน่าเสีย

ผลไม้ที่วางขายทั่วไป ซื้อมาแล้วทำอย่างไรให้มีรสชาติหวานมากขึ้น

หลังการเก็บเกี่ยวเชื่อกันว่าคุณภาพผลไม้ไม่สามารถเพิ่มให้ดีขึ้นได้ มีแต่การเสื่อมถอยลง

สิ่งที่ทำได้หลังการเก็บเกี่ยวผลไม้ก็คือ การรักษาคุณภาพให้ได้นานที่สุด ให้สารสำคัญหรือวิตามินใด ๆ อยู่ให้นานที่สุด และลดการเสื่อมเสีย

วิธีการเก็บรักษาผลไม้ที่เหมาะสม เช่น การเก็บในอุณหภูมิต่ำที่เหมาะสมก็จะทำให้ช่วยรักษาคุณภาพและความสดได้นานขึ้น

สรุปเรื่องที่แชร์ “แนะนำใช้ขี้เถ้า” เพิ่มความหวานผลไม้ ?

ดังนั้น การใช้ “ขี้เถ้า” เพื่อทำให้ผลไม้หวานขึ้น ยังไม่มีข้อมูลหรือการศึกษาที่ยืนยันว่าทำให้เกิดเป็นความหวานขึ้นจริง

นอกจากนี้ ในส่วนของขี้เถ้า อาจจะมีข้อกังวลเรื่องโลหะหนักหรือสารพิษปนเปื้อนที่อาจซึมเข้าไปในผลไม้ รวมถึงบาดแผลที่เกิดจากการปาดก็จะทำให้ผลไม้เกิดการเน่าเสียได้

ดูเพิ่มเติม “รายการชัวร์ก่อนแชร์” https://www.youtube.com/watch?v=xQ_rX6zpYW8&t=43s

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ใบประกอบวิชาชีพครู

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” แนะรีบต่ออายุใบอนุญาต หลังคุรุสภาออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วันก่อนเดินทาง ตามกฎใหม่ ตม.

พีชเรียกอาต่าย

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” โอ้อวดเรียก “อาต่าย” ลั่นไม่ใช่ญาติ

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” คู่กรณีรถกระบะ โอ้อวดเรียก “อาต่าย” รู้จักคนในรัฐบาล หวังผลคดี ลั่นไม่ใช่ญาติ สอนลูกเสมออย่าทำตัวเป็นขยะสังคม บอกประชาชนใช้วิจารณญาณเลือกตั้ง

“นายกเบี้ยว” ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้-ดูแลลุงคู่กรณี

“นายกเบี้ยว” รับจบแทนลูก ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้ ดูแลลุงคู่กรณี ระบุสอนลูกไม่ดี ไม่มีเวลาให้ลูก ปฏิเสธไม่สนิทกับ ผบ.ตร. อย่าเอาท่านมาแปดเปื้อน ส่วนที่ลูกชายยังไม่ไปเยี่ยมลุงคู่กรณี เนื่องจากกลัวโดนถูกโวยวาย

ข่าวแนะนำ

ส่งมอบรถพีชให้ตำรวจ

รถหรูของ “พีช” ถูกส่งมอบให้ พนง.สอบสวน-พบป้ายแดงถูกกฎหมาย

รถหรูป้ายแดงของ “พีช” ถูกส่งมอบให้พนักงานสอบสวน สภ.ลำลูกกา ตรวจสอบเบื้องต้นป้ายสีแดงถูกกฎหมาย ได้รับการอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกอย่างถูกต้อง เตรียมประสานตำรวจทางหลวง นำรถกระบะและหรู ส่งกองพิสูจน์หลักฐาน จ.ปทุมธานี

ตึกสตง.ถล่ม

กทม. เร่งเคลียร์ซากตึก สตง. เหลือสูง 12 เมตร

กทม. เร่งเคลียร์ซากตึก สตง. เหลือสูง 12 เมตร เดินหน้าค้นหาผู้สูญหายต่อเนื่อง พร้อมเปิด Airbnb ให้ประชาชนได้รับผลกระทบเข้าพักชั่วคราว

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วันก่อนเดินทาง ตามกฎใหม่ ตม.

ใบประกอบวิชาชีพครู

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” แนะรีบต่ออายุใบอนุญาต หลังคุรุสภาออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย