fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์: “เงามนุษย์” ที่ฮิโรชิมะ คือร่างเหยื่อที่ระเหิดเพราะนิวเคลียร์ จริงหรือ?

18 สิงหาคม 2566
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


บทสรุป :

เงามนุษย์จากระเบิดนิวเคลียร์ ไม่ใช่ซากของเหยื่อจากระเบิด เหตุผลที่พื้นคอนกรีตมีสีเข้ม เพราะไม่ได้สัมผัสรังสีจากระเบิดนิวเคลียร์โดยตรง ต่างจากบริเวณโดยรอบที่สีซีดจางลงเพราะสัมผัสรังสีโดยตรง


ข้อมูลที่ถูกแชร์ :

มีแนวคิดที่สร้างความเข้าใจผิดในวงกว้างว่า “เงามนุษย์” หรือ Human Shadow Etched in Stone (人影の石) ซึ่งหมายถึงรอยสีเข้มที่หน้าธนาคารซูมิโตโมะ สาขาฮิโรชิมะ คือซากที่หลงเหลือของเหยื่อที่ถูกความร้อนจากระเบิด ทำให้ร่างกายระเหิดกลายเป็นไอในทันที

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :


ข้อมูลจาก Hiroshima Peace Memorial Museum ระบุว่า ธนาคารซูมิโตโมะ สาขาฮิโรชิมะ ตั้งอยู่ห่างจากจุดทิ้งระเบิด (Ground Zero) เพียง 260 เมตร

ตอนที่นิวเคลียร์ถูกจุดระเบิด ธนาคารยังไม่เปิดทำการ พนักงานส่วนใหญ่กำลังอยู่ในระหว่างเดินทาง และมีบางส่วนที่มาถึงธนาคารแล้ว ข้อมูลพบว่ามีพนักงานของธนาคารเสียชีวิตทันที 29 ราย อีกหลายคนเสียชีวิตจากการสัมผัสรังสีในอีกไม่กี่วันต่อมา

ส่วน “เงามนุษย์” ที่อยู่บริเวณบันไดหน้าธนาคาร คาดว่าจะเป็นของลูกค้าที่มานั่งรอก่อนธนาคารจะเปิดทำการ

ธนาคารซูมิโตโมะ สาขาฮิโรชิมะ

ที่มา “เงามนุษย์” หน้าธนาคาร

อย่างไรก็ดี เว็บไซต์ Livescience และ Hiroshima Peace Memorial Museum ต่างยืนยันว่า “เงามนุษย์” ไม่ใช่ซากของผู้เสียชีวิตที่ระเหิดจากความร้อนของระเบิดนิวเคลียร์แต่อย่างใด

ข้อมูลจากศูนย์ Hiroshima Peace Media Center ระบุว่า รังสีความร้อนของระเบิดนิวเคลียร์ ทำให้พื้นที่ด้านล่างมีอุณหภูมิสูงถึง 3,000-4,000 องศาเซลเซียส ผิวหนังของเหยื่อที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวจะเกิดการอักเสบและพุพองอย่างรุนแรง แต่ก็จะยังหลงเหลือซากของกระดูกและองค์ประกอบของคาร์บอนตกค้างอยู่ การอ้างว่าร่างกายระเหิดเพราะระเบิดอย่างสิ้นเชิงจึงเป็นไปไม่ได้

ดร.ไมเคิล ฮาร์ทชอร์น ศาสตราจารย์กิตติคุณ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก อธิบายต่อเว็บไซต์ Livescience ว่า ระเบิดนิวเคลียร์จะปลดปล่อยแสงและคลื่นความร้อนจำนวนมหาศาล วัตถุที่อยู่ในรัศมีแรงระเบิดโดยตรงจะถูกแสงและคลื่นความร้อนย้อมให้สีของพื้นผิวซีดลง ส่วนพื้นที่ที่ถูกบังจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า ทำให้สีของพื้นผิวไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก

เงามนุษย์ ที่ Hiroshima Peace Memorial Museum

สรุปได้ว่า “เงามนุษย์” จากระเบิดนิวเคลียร์ ไม่ใช่ซากของเหยื่อจากระเบิดนิวเคลียร์ แต่เหตุผลที่พื้นคอนกรีตบริเวณนั้นสีเข้มกว่าพื้นที่โดยรอบ เพราะบริเวณดังกล่าวไม่ได้สัมผัสกับแสงและรังสีโดยตรง เพราะร่างของเหยื่อบังแสงและรังสีเอาไว้ รอยเข้มที่คล้ายเงามนุษย์จึงเป็นสีเดิมของพื้นคอนกรีต ต่างจากบริเวณหน้าธนาคารโดยรอบที่สัมผัสแสงและรังสีจากระเบิดนิวเคลียร์โดยตรง จนมีสีที่ซีดจางลง

นอกจากนี้ ความเข้มของพื้นที่ที่สัมผัสแสงและรังสีจากระเบิดนิวเคลียร์ ยังขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของวัตถุนั้น ๆ อีกด้วย

หลายปีผ่านไป ความเข้มของ “เงามนุษย์” หน้าธนาคารเมืองฮิโรชิมะเริ่มซีดจางลง จึงมีการเคลื่อนย้ายมาเก็บรักษาที่ Hiroshima Peace Memorial Museum ในปี 1971 เป็นต้นมา

ผู้รอดชีวิตในธนาคาร

ภายในธนาคารซูมิโตโมะ สาขาฮิโรชิมะ ยังมีเรื่องราวการรอดชีวิตอย่างปาฏิหาริย์ของ อะกิโกะ ทากะคูระ พนักงานธนาคารวัย 19-20 ปี ซึ่งกำลังทำความสะอาดสถานที่ทำงานอยู่กับ คิมิโกะ อูซามิ เพื่อนร่วมงาน ในขณะที่ระเบิดถูกทิ้งลงมาห่างธนาคารเพียง 260-300 เมตร

OBON

แรงระเบิดทำให้ อะกิโกะ ทากะคูระ หมดสติในทันที กระทั่งเสียงร้องไห้ของ คิมิโกะ อูซามิ ปลุกให้เธอคืนสติอีกครั้ง ทั้งสองพากันออกมาจากซากภายในตัวธนาคาร เพื่อพบกับภาพอันน่าสยดสยองของเมืองที่ตกอยู่ท่ามกลางเปลวเพลิง ศพนับไม่ถ้วนถูกเผาไหม้กลางเปลวไฟที่โหมกระหน่ำ ก่อนที่ฝนสีดำซึ่งเกิดจากการปนเปื้อนกัมมันตรังสีจะช่วยให้เพลิงสงบในเวลาต่อมา

คิมิโกะ อูซามิ เสียชีวิตจากบาดแผลในอีกหนึ่งเดือนต่อมา ส่วน อะกิโกะ ทากะคูระ ซึ่งมีแผลไฟไหม้ตามร่างกายนับร้อยแห่ง ได้รับความช่วยเหลือจากครอบครัว และใช้ชีวิตอยู่ในเมืองฮิโรชิมะจนถึงปัจจุบัน

อะกิโกะ ทากะคูระ ในวัย 97-98 ปี คือหนึ่งในผู้รอดชีวิตคนสุดท้ายในเหตุการณ์ระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะ ปัจจุบันเธอใช้เวลาไปกับการดูแลโรงเรียนอนุบาลและถ่ายทอดประสบการณ์ให้คนรุ่นหลังรับรู้ถึงความเลวร้ายของระเบิดนิวเคลียร์

เรื่องราวของ อะกิโกะ ทากะคูระ ยังถูกถ่ายทอดผ่านผลงานแอนิเมชั่นขนาดสั้นปี 2018 โดยผู้สร้างชาวเยอรมัน เรื่อง OBON อีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.livescience.com/nuclear-bomb-wwii-shadows.html
https://hpmmuseum.jp/modules/exhibition/index.php?action=ItemView&item_id=112&lang=eng
https://www.hiroshimapeacemedia.jp/hiroshima-koku/exploration/index_20090309.html
https://en.wikipedia.org/wiki/Human_Shadow_Etched_in_Stone
https://www.smithsonianmag.com/history/nine-harrowing-eyewitness-accounts-bombings-hiroshima-and-nagasaki-180975480/
https://www.openculture.com/2022/11/obon.html

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ฆ่ารัดคอขับโบลท์

รวบ “ไอ้แม็ก” ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ พบเคยถูกจับคดีโหด

จับแล้ว “ไอ้แม็ก” เดนคุก ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ ทิ้งร่างอำพราง ริมถนนห้วยพลู จ.นครปฐม ก่อนเอารถไปขาย สอบประวัติ พบเพิ่งพ้นโทษ คดีล่ามโซ่ล่วงละเมิดเด็กวัย 13 ปี นาน 1 สัปดาห์ เมื่อปี 2553

พายุโซนร้อนซูลิก

ฤทธิ์พายุโซนร้อนซูลิก ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่นครพนม

ฤทธิ์พายุโซนร้อน “ซูลิก” ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่ จ.นครพนม เจ้าหน้าที่ต้องเร่งเดินเครื่องสูบน้ำลงน้ำโขง

อุตุฯ เตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ฝนถล่มหลายจังหวัด

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ภาคเหนือ อีสาน กลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง