กทม.พร้อมผนึกกำลังกรีนพีซ แก้ปัญหาฝุ่น-ดูแลสภาพแวดล้อม

กรุงเทพฯ 26 ก.ค.- ผู้ว่าฯ กทม.หารือผู้แทนกรีซพีซ ผนึกกำลังแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี เล็งหาพื้นที่แซนด์บ็อกซ์เป็นต้นแบบการจำกัดเรื่องฝุ่น PM2.5 ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดด้วยโซลาร์รูฟท็อป ลดต้นทุนกำจัดขยะ โดยสร้างระบบการจัดการขยะจากทุกภาคส่วน


นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยนายพรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสำนักสิ่งแวดล้อม ประชุมหารือแนวทางความร่วมมือในการลดฝุ่น PM2.5 รวมถึงการดำเนินการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในพื้นที่กรุงเทพฯ กับผู้แทนกรีนพีซ (Greenpeace) นำโดยนายสมบัติ เหสกุล และนายธารา บัวคำศรี ณ ห้องนพรัตน์ ชั้น 5 ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เขตพระนคร

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า วันนี้คุยกับกรีนพีซเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันที่จะทำอย่างไรให้สภาพสิ่งแวดล้อมในกรุงเทพฯ ดีขึ้น มี 2 ประเด็นหลัก คือ 1.ฝุ่น PM2.5 กรุงเทพมหานครมี 16 แผนปฏิบัติการ และกรีนพีซเน้นเรื่องการปรับมาตรฐานให้เข้มข้นตาม WHO หาพื้นที่ Sandbox (แซนด์บ็อกซ์) ที่จะทำต้นแบบการจำกัดเรื่องฝุ่น PM2.5 ซึ่งสอดคล้องกับ 16 แผนปฏิบัติการของกรุงเทพมหานครที่เริ่มเดินหน้าการตรวจฝุ่น ควันพิษ การติดตั้งเครื่องวัดฝุ่นเพิ่ม ออกมาตรการเข้มข้นกับสถานประกอบการต่างๆ และประเด็นที่ 2. การส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดด้วยการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) อาจเริ่มจากหน่วยงานกรุงเทพมหานครก่อน เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร หรือสวนสาธารณะ ซึ่งมีอยู่ในแนวคิดอยู่แล้ว แต่จะดูเรื่องการลงทุน ความคุ้มทุน ปัจจุบันมีหลายรูปแบบ เช่น การลงทุนร่วมกับเอกชน แต่คงไม่ได้หยุดแค่ Solar Rooftop ยังพูดถึงเรื่องพาหนะไฟฟ้า (EV) เพื่อลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์ด้วย


ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ มีการพูดถึงเรื่องการกำจัดขยะ หลายอย่างตรงใจกัน การกำจัดขยะต้นทุนสูงมาก หัวใจหลักคือการลดต้นทุนในการกำจัดขยะ ถ้าลดตั้งแต่ต้นทางได้ ทั้งกระบวนการก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีหลายมิติในการจัดการ ซึ่งตรงกัน เป็นแนวทางในการหาเครือข่ายขยายตัวขึ้นการทำงานจะเป็นรูปธรรมขึ้น

นายสมบัติ ผู้แทนกรีนพีซ กล่าวว่า เวลาพูดถึงขยะคนจะคิดถึงการกำจัดขยะ คำถามคือจะช่วยให้คน กทม.รู้จักการจัดการขยะอย่างไร นี่คือหัวใจสำคัญ ตอนนี้งบประมาณในการจัดการขยะของ กทม. จริงๆ อยู่ที่กว่า 10,000 ล้านบาทไม่ใช่ 7,000-8,000 ล้านบาท กทม.จัดเก็บรายได้กว่า 10,000 ล้านบาท เงินของ กทม.มีจำกัด หากเอามาจัดการขยะอย่างเดียวคงไม่พอ ด้านการศึกษา สวัสดิการผู้สูงอายุ การกำกับดูแลเรื่องโรคติดต่อ ต้องใช้เงิน หากลดต้นทุนการจัดการขยะได้ ก็จะมีเงินเหลือมาจัดการในเรื่องเหล่านี้ วันนี้ กทม.เก็บค่าธรรมเนียมจัดการขยะได้ต่ำมากเพียง 500-800 ล้านบาท ทำอย่างไรจะลดต้นทุนการจัดการขยะ แล้วสร้างระบบการจัดการขยะจากทุกภาคส่วน ต้องมีแพลตฟอร์ม Startup (สตาร์ทอัพ) ระดับเขตที่เป็นเส้นเลือดฝอยจริงๆ ยกระดับคนทำงานในพื้นที่อย่างซาเล้ง ให้เป็นเส้นเลือดฝอยที่สำคัญของ กทม.จริงๆ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการจัดการขยะได้มากขึ้น

ด้านนายธารา ผู้แทนกรีนพีซ กล่าวเสริมว่า สิ่งที่กรีนพีซดูอยู่คือเรื่องแผนแม่บทการเปลี่ยนแปลงสภาพคุณภาพอากาศ ซึ่งได้รับการอนุมัติแล้วเป็นแผนที่มองไปข้างหน้า 20 ปี นโยบายหลายด้านของผู้ว่าฯ ชัชชาติ เน้นหลายประเด็นเกี่ยวข้องกับการลดก๊าซเรือนกระจก สิ่งที่กรีนพีซเสนอและมีการแลกเปลี่ยนไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้พลังงานหมุนเวียน การจัดการมลพิษทางอากาศในเมือง การจัดการขยะ จะนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกรุงเทพฯ ที่ตั้งเป้าว่าจะเป็น Net Zero Emission ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของการเข้าไปเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการในการจัดการสภาพภูมิอากาศของกรุงเทพมหานคร


นายพรพรหม ปรึกษาของผู้ว่าฯ กล่าวว่า นอกเหนือจากการเสนอของกรีนพีซในเรื่อง PM2.5 แล้ว กรุงเทพมหานครเสนอ 16 แผนปฏิบัติการ เช่น นักสืบฝุ่นในการหาต้นตอฝุ่น พื้นที่ปลอดฝุ่น การติดเซ็นเซอร์ตรวจวัดค่าฝุ่นเพิ่ม รวมถึงการทำอย่างในกับรถควันดำเข้ามาในพื้นที่ โดยเฉพาะรถบรรทุก ซึ่งกรุงเทพมหานครมีมาตรการดูตั้งแต่ต้นทาง ให้ไซต์ก่อสร้างพิจารณา กรีนพีซช่วยแชร์ข้อมูลการตรวจวัดฝุ่นจากสถานีตรวจวัดฝุ่นของกรุงเทพมหานครที่มีอยู่ 70 แห่ง ส่งเสริมให้ประชาชนรับรู้มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงปลายปี

“สิ่งแวดล้อม กทม. ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องร่วมมือกับภาคีเครือข่าย มีหลายจุดเริ่มต้นแล้ว มีการพบกับกระทรวงพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างกระทรวงทรัพยกรกับปลัดกรุงเทพมหานคร ต้องให้มีผลเป็นรูปธรรมในสิ้นปีนี้ มีการไปดูการจัดการขยะของมูลนิธิกระจกเงา พบกรีนพีซ ลงไปดูการกำจัดขยะจริงๆ ในพื้นที่ ต้องทำ ระยะยาวต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ PM2.5 วันนี้ยังไม่วิกฤติ แต่ถ้าถึงฤดูกาลก็จะหนักขึ้น สิ่งที่จะนำร่องเป็นรูปธรรมและทำร่วมกับกรีนพีซได้ก่อนคือเรือง Sandbox และ Solar Rooftop ดูความเป็นไปได้ว่า กทม.จะลดค่าไฟโดยใช้โซลาร์เซลล์ได้มากน้อยแค่ไหน หาอันที่เป็นรูปธรรม สิ่งที่แต่ละคนมีความเชี่ยวชาญ หลายอย่างสามารถเริ่มได้เลย” ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวทิ้งท้าย.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ