นักวิชาการเห็นด้วยปรับที่ทำการ กทม. (เสาชิงช้า) เป็นพิพิธภัณฑ์

สำนักข่าวไทย 29 พ.ค.- นักวิชาการด้านศิลปะและกิจกรรมท่องเที่ยว เห็นด้วยปรับที่ทำการ กทม. (เสาชิงช้า) ให้เป็นพิพิธภัณฑ์-แหล่งเรียนรู้ แนะระดมความคิดเห็นข้อเสนอแนะจากหลายภาคส่วน กทม.ไม่ควรเป็นเจ้าภาพคนเดียว


นายจุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา นักวิชาการอิสระด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยว ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวไทย กรณีว่าที่ ผู้ว่าฯ กทม. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ จะย้ายที่ทำการกรุงเทพมหานคร มาอยู่ที่ดินแดง และปรับศาลาว่าการ กทม.ให้เป็นพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ ว่า มีความเหมาะสมมาก เพราะจะได้ที่ทำการของกรุงเทพมหานครที่ดินแดง ที่มีสถานที่กว้างขวางจอดรถได้ง่ายขึ้นกว่าที่เดิมแล้วศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ที่เสาชิงช้า มีความเหมาะสมที่จะเป็นพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้มาก เพราะเป็นบริเวณของชุมชนดั้งเดิมเก่าแก่ มีการเชื่อมต่อกับแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง ที่สำคัญ ไทยยังขาด “พิพิธภัณฑ์เมือง” ต่างจากหลายประเทศในโลก ซึ่งพิพิธภัณฑ์เมืองของไทยจะเป็นการบอกเล่าความเป็นมาตั้งแต่การก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีความเก่าแก่ยาวนานถึง 240 ปี ที่นี่จะสามารถบอกเล่า ได้หลายเรื่องทั้งความสำคัญของชุมชน ช่างนาฏศิลป์ วัฒนธรรมอาหาร ทำให้คนไทยทั่วไปเองได้เข้าใจและรู้จักตัวเองให้มากพอ จุดประกายให้มองเห็นคุณค่าความเป็นไทย ไม่เฉพาะแต่นักท่องเที่ยว เช่น ทำไมย่านนี้จึงมีชื่อว่า ถนนดินสอ ถนนตีทอง ถนนตะนาว ตรอกศิลป์ เป็นต้น

นายจุลภัสสร กล่าวว่าหากเรามีศูนย์กลางที่จะทำให้ทุกคนได้รับรู้เรื่องเหล่านี้ ก็จะเป็นประโยชน์และส่งต่อความรู้ รุ่นสู่รุ่น พิพิธภัณฑ์เมืองนี้ จึงควรเป็นสมบัติของทุกคนและสมบัติของโลกด้วย และมีความเห็นว่าควรเปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนทั้งชุมชนโดยรอบ มหาวิทยาลัย ได้มีโอกาสเสนอแนวทางปรับรูปแบบและกิจกรรม สำหรับพิพิธภัณฑ์เมืองแห่งนี้ ไม่ควรเป็นหน้าที่เฉพาะกรุงเทพมหานคร หน่วยงานเดียว
ซึ่งลักษณะการถ่ายทอดความรู้ควรทำอย่างเป็นระบบ ทำให้เข้าใจง่าย ดูแล้วรู้เรื่อง และในฐานะคนไทยที่มีส่วนเป็นเจ้าของพิพิธภัณฑ์เมืองแห่งนี้ ไม่อยากให้ความรู้ตรงนี้สูญเปล่าหรือตกไปอยู่ในมือของต่างชาติ


เบื้องต้นมองว่ามหาวิทยาลัยต่างๆ มีพันธกิจบริการสังคมอยู่แล้ว อาจเสนอให้มหาวิทยาลัย บริหารจัดการองค์ความรู้ที่มีอยู่ ศึกษาพื้นที่ ณ ที่ตั้งมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ทำองค์ความรู้ในย่านนั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ศึกษาย่านวังหลัง ฯลฯ นำข้อมูลมาเป็นประโยชน์ให้กับพิพิธภัณฑ์เมืองได้

ส่วนแนวคิดนำจักรยานมาใช้ชมเมืองและสถานที่สำคัญรอบเกาะรัตนโกสินทร์ นั้น มองว่าสภาพการจราจรของไทย ทั้งถนนและคนใช้รถยังไม่เอื้อให้มีการใช้จักรยานอย่างสมบูรณ์เหมือนต่างประเทศ แนวทางที่เห็นว่าเหมาะสมในการทำ sightseeing รอบเกาะรัตนโกสินทร์ ควรเป็นรถขนาดใหญ่เปิดประทุน จัดเวลาชมเมืองเป็นรอบรอบ .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

รถบัสรับส่งพนักงานพุ่งตกคูน้ำ เจ็บ 21

รถบัสรับส่งพนักงานพุ่งตกคูน้ำ ถนนสายเอเชีย ขาขึ้น จ.พระนครศรีอยุธยา มีผู้บาดเจ็บ 21 คน คาดคนขับหลับใน เบื้องต้นยังไม่พบตัว

เน้นเครื่องจักรหนักเข้าถึงโซน B, C คาดมีผู้ติดค้างจำนวนมาก

ฝนตกหนักช่วงเช้า เพิ่มอุปสรรคค้นหาผู้ประสบภัย และการรื้อซากอาคาร สตง.ถล่ม เจ้าหน้าที่ทุกส่วนต้องหยุดปฏิบัติภารกิจชั่วคราว วันนี้ยังเน้นใช้เครื่องจักรหนักเข้าถึงโซน B และโซน C ที่มีลักษณะคล้ายร่างกายมนุษย์ติดอยู่ในซาก ด้านทีม K9 ประกาศยุติภารกิจค้นหาผู้สูญหาย