ชี้โอไมครอนแนวโน้มขาลง ยังไม่เข้าข่ายโรคประจำถิ่น

กรุงเทพฯ 25 เม.ย.- “นพ.ประสิทธิ์” คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชฯ เผยการแพร่ระบาดโอไมครอนทั่วโลกมีแนวโน้มอยู่ในช่วงขาลง ขณะที่การระบาดโควิด-19 ยังไม่เข้าข่ายโรคประจำถิ่น และมีโอกาสกลับมาระบาดใหญ่อีก แนะบริหารความเสี่ยงเน้นป้องกันและเตรียมการรักษา


ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยถึงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ว่า จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก เมื่อ 12 เม.ย.65 การจัดแบ่งสายพันธุ์โควิด-19 สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงทั่วโลก ปัจจุบันเหลือเพียง 2 สายพันธุ์ คือ เดลตา และโอไมครอน ซึ่งเดลตากำลังถูกทดแทนด้วยโอไมครอนในหลายประเทศ รวมทั้งในไทย สำหรับสายพันธุ์ที่สร้างผลกระทบในเวลานี้ยังเป็นสายพันธุ์โอไมครอน

จากข้อมูลเมื่อ 22 เม.ย.ที่ผ่านมา พบว่าผู้ป่วยติดเชื้อกว่า 500 ล้านคนทั่วโลก เสียชีวิตกว่า 6 ล้านคน ขณะที่จำนวนการเสียชีวิตช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ต่ำสุดนับตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19 ในปี 2563 ซึ่งเกิดจาก 2 ปัจจัย คือ ตัวสายพันธุ์ของไวรัสเอง และมีการฉีดวัคซีนไปแล้วจำนวนมากเกิดป้องกันและการเสียชิวตลดลง เมื่อดูการระบาดในต่างประเทศ พบว่าทวีปที่ถูกจู่โจมหนักสุด คือ ยุโรป อัตราการลดลงยังช้า เมื่อแทบกับอเมริกา แต่หากดูรายพื้นที่ ยุโรปขณะนี้เลยจุดพีคของการระบาดของโควิด-19 แล้ว สำหรับอเมริกาการแพร่ระบาดของโอไมครอนลดลงอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับเอเชียตะวัออกเฉียงใต้ก็เริ่มลดลง จากข้อมูลตอนนี้พบว่าการแพร่ระบาดของโอไมครอนทั่วโลกมีแนวโน้มอยู่ในช่วงขาลง


ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ในต่างประเทศมีการรณรงค์การฉีดวัคซีนเข็ม 1 และ 2 เกือบ 80% ซึ่งประเทศที่คุมการระบาดได้ดี มักจะฉีดเข็มกระตุ้นกว่า 50% ตอนนี้สถานการณ์ในไทย ข้อมูล ณ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ฉีดวัคซีนไปแล้ว 132 ล้านโดส จากประชากร 70 ล้านคน ฉีดเข็ม 1 แล้ว 80% และ 3 ใน 4 ได้เข็มรับ 2 ส่วนคนที่ได้รับเข็มกระตุ้นเพียง 36% ทำให้ช่วงเวลานี้ยังต้องเร่งฉีดวัคซีน เพื่อให้จำนวนผู้เสียชีวิตเหลือแค่เลข 2 หลัก หนึ่งในข้อมูลที่จะบอกว่าผู้เสียชีวิตลดลง คือ ตัวเลขผู้ป่วยปอดอักเสบ ซึ่งขณะนี้ตัวเลขเริ่มนิ่งและไม่ขยับขึ้น หากเป็นเช่นนี้ ภายใน 1-2 สัปดาห์ คาดว่าผู้เสียชีวิตน่าจะลดลง

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวต่อว่า การเกิดขึ้นของโอไมครอนที่ระบาดเร็วกว่าเดลตา แต่ไม่รุนแรง ทำให้สายพันธุ์การแพร่ระบาดทั่วโลกเปลี่ยนไป เป็นปัจจัยที่ทำให้นักวิชาการมองว่า กำลังจะเดินไปสู่โรคประจำท้องถิ่น ประกอบกับความเหนื่อยล้าจากการระบาดตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้คนในสังคมทั้งไทยและทั่วโลกอยากเห็นปลายทางของการแพร่ระบาด แต่คำว่าโรคประจำท้องถิ่นไม่ได้มีนิยามตายตัว ซึ่งเป็นโรคทั่วไป พบได้สม่ำเสมอในกลุ่มคน กลุ่มพื้นที่ หรือมีช่วงเวลาที่คาดการณ์ได้ อาจมีการระบาดมากบ้างครั้งคราว ไม่เกินที่คาดหมาย เป็นโรคที่มีมาตรการควบคุม โรคประจำถิ่นบางครั้งทำให้มีผู้เสียชีวิตได้ปีละกว่า 400,000 ราย เช่น ไข้ป่ามาลาเลีย ขณะที่บางโรคอาจพบได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรบางพื้นที่ แต่มีอาการไม่มาก

ถ้าดูคุณลักษณะของโรคประจำท้องถิ่นจะพบว่า ในเวลานี้การติดเชื้อโควิด-19 ยังไม่เข้าข่ายของโรคประจำท้องถิ่น และยังมีโอกาสที่จะกลับมาเกิดการแพร่ระบาดใหญ่อีก โดยมีปัจจัยเสี่ยงจากที่หลายประเทศมีการส่งสริมด้านเศรษฐกิจ การผ่อนคลายการเดินทางระหว่างประเทศ การส่งเสริมกิจกรรมสันทนาการ กิจกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่อาจจะมีความเสี่ยงทำให้โควิด-19 กลับมาแพร่ระบาด ไม่ได้หมายความว่าไม่ทำ ยังไงก็ต้องทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัว แต่จะต้องบริหารความเสี่ยง โดยเน้นการป้องกันและการรักษา แม้การป้องกันจะยาก แต่เราสามารถลดจำนวนได้

วิธีที่ดีที่สุดในเวลานี้ คือ การฉีดวัคซีน ทั้ง 2 เข็มหลัก และเข็มกระตุ้น ฉีดเพียง 2 เข็มหลักไม่พอ รวมกับการสวมหน้ากาก รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล ร่วมกับการตรวจ ATK ขณะที่โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำท้องถิ่นในแต่ละประเทศ ไม่จำเป็นเกิดขึ้นต้องพร้อมกัน มีปัจจัยหลายด้าน ทั้งการฉีดวัคซีน จำนวนประชากรที่ได้รับวัคซีน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง อุปกรณ์การรักษาพยาบาล ขึ้นกับปัจจัยการบริหารจัดการ และมีนิยามแต่ละประเทศที่ไม่เหมือนกัน แต่ความสำเร็จจะต้องอาศัยความร่วมมือของทั้ง 3 ฝ่าย ทั้งผู้กำหนดมาตรการและนโยบาย ผู้ดำเนินการตามมาตรการและนโยบาย และผู้ได้รับผลจากมาตรการและนโยบาย ต้องทำงานร่วมกัน.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร