สถาบันมะเร็งฯ ย้ำจุดยืนร่วมต่อต้านการใช้ 3 สารกำจัดศัตรูพืช

กรุงเทพฯ 17 เม.ย. – สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ย้ำจุดยืนเดิมร่วมต่อต้านการใช้สารพาราควอต สารไกลโฟเซต และสารคลอร์ไพริฟอส ชี้งานวิจัยที่เชื่อถือได้จำนวนมากแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของการเกิดมะเร็งกับสารกำจัดศัตรูพืชทั้ง 3 ชนิดนี้


นพ.สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามที่มีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการเกิดโรคมะเร็งกับสารกำจัดศัตรูพืช โดยอ้างข้อมูลจากผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ผ่านสื่อแห่งหนึ่งนั้น สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ขอชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมว่า ได้มีการให้ข้อมูลกับประธานเครือข่ายอาสาคนรักแม่กลองจริง โดยทางเครือข่ายอาสาคนรักแม่กลองได้ทำหนังสืออย่างเป็นทางการ เพื่อขอข้อมูลวิชาการทางการแพทย์มาที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ หนังสือด่วนที่สุด 052/2565 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2565 และทางสถาบันฯ ได้ทำหนังสือตอบอย่างเป็นทางการ ที่ สธ 0315/782 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2565 และต่อมาได้มีการนำบางส่วนของข้อความในหนังสือดังกล่าวมาตีพิมพ์ทางสื่อดังกล่าว ดังนี้ “องค์การวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer : IARC) ยังไม่ได้จัดให้สารพาราควอตอยู่ในกลุ่มของสารก่อมะเร็ง เนื่องจากข้อมูลสนับสนุนการก่อให้เกิดมะเร็งยังไม่เพียงพอ สำหรับไกลโฟเซต องค์การวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ ได้จัดไกลโฟเซตอยู่ในกลุ่ม 2A คือ อาจจะเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ โดยเฉพาะบุคคลที่ประกอบอาชีพจากการสัมผัสสารนี้เป็นประจำ อย่างไรก็ตาม ได้มีรายงานร่วมจากองค์การอนามัยโลกและสหประชาชาติ ในปี ค.ศ. 2016 สรุปว่า สารไกลโฟเซตไม่น่าจะก่อให้เกิดความเสี่ยงของโรคมะเร็งในมนุษย์ผ่านการบริโภคอาหาร ส่วนคลอร์ไฟริฟอส องค์การวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ ยังไม่ได้จัดให้อยู่ในกลุ่มของสารก่อมะเร็ง เนื่องจากข้อมูลสนับสนุนการก่อให้เกิดมะเร็งนั้นยังไม่เพียงพอ” โดยระบุว่าเป็นคำตอบของ นพ.สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ

การนำเสนอข้อมูลดังกล่าวเป็นการนำเสนอข้อมูลเพียงบางส่วน ซึ่งไม่ครบถ้วน แต่ยังมีข้อมูลสำคัญด้านอื่นในหนังสือชี้แจงข้อมูลจากทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติที่ไม่ได้ถูกนำมาเสนอ เช่น งานวิจัยในสหรัฐอเมริกา ในประชากร 57,311 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร พบว่า ผู้ที่เคยใช้สารพาราควอตอาจมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่เคยใช้สารพาราควอต อย่างไรก็ตาม ปัจจัยการเกิดโรคมะเร็งนั้นมีหลายประการ จึงยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่า สารพาราควอตเป็นสารก่อมะเร็ง ส่วนสารไกลโฟเซต มีการศึกษาด้านพิษวิทยาที่แสดงให้เห็นว่าสามารถทำลายดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง นอกจากนี้ ข้อมูลวิจัยในสัตว์ทดลอง พบว่า หากได้รับหรือสัมผัสสารไกลโฟเซตเป็นเวลานาน อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งไต มะเร็งตับ และมะเร็งเต้านม แต่ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนจากการติดตามในมนุษย์


ส่วนคลอร์ไพริฟอส มีการศึกษาของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ที่มีการสัมผัสสารคลอร์ไพริฟอสเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าคลอร์ไพริฟอสเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากให้สูงขึ้นในกลุ่มประชากรที่มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) จึงได้ประกาศให้หยุดใช้สารคลอร์ไพริฟอสในอาหารทุกชนิด เพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะในเด็กและผู้ปฏิบัติงานด้านเกษตรกรรม เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีข้อมูลจากงานวิจัยที่เชื่อถือได้จำนวนมาก แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของการเกิดมะเร็งกับสารกำจัดศัตรูพืชทั้ง 3 ชนิดนี้ แม้จะยังไม่ชัดเจนพอที่องค์การวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติจะจัดให้สารทั้ง 3 ชนิด อยู่ในกลุ่มของสารก่อมะเร็ง เพราะงานวิจัยด้านนี้สามารถทำในสัตว์ทดลอง แต่ไม่สามารถทดลองในคน โดยให้คนรับสารกลุ่มนี้เข้าสู่ร่างกายแล้วติดตามผลระยะยาวได้ เนื่องจากมีข้อมูลที่ชัดเจนว่าอันตรายต่อสุขภาพในด้านอื่นๆ จึงต้องใช้การติดตามสังเกตจากผู้ใช้จริง และต้องใช้ระยะเวลาติดตามนานหลายปี ซึ่งระหว่างติดตามมักจะมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากที่ส่งผลต่อสุขภาพและการเกิดโรคมะเร็ง ทำให้ข้อมูลที่ได้ไม่ชัดเจน ทั้งนี้ ยังไม่มีองค์กรใดออกมารับรองความปลอดภัยว่า สารทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง เช่นเดียวกับในกรณีขององค์การอนามัยโลกและสหประชาชาติ ที่สรุปว่า สารไกลโฟเซตไม่น่าจะก่อให้เกิดความเสี่ยงของโรคมะเร็งในมนุษย์ผ่านการบริโภคอาหาร แต่ก็ไม่ได้สรุปว่าจะไม่เสี่ยงเกิดโรคมะเร็งผ่านการสัมผัสทางอื่นๆ นอกจากนี้ สารทั้ง 3 ชนิด ยังก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอย่างร้ายแรงได้ นอกเหนือจากความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง

ดังนั้น สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นองค์กรด้านสุขภาพระดับชาติ ขอยืนยันจุดยืนเดิมในการร่วมต่อต้านการใช้สารพาราควอต สารไกลโฟเซต และสารคลอร์ไพริฟอส ตามที่เคยได้ประกาศและรณรงค์ร่วมกับหน่วยงานสุขภาพอื่นๆ มาก่อนหน้านี้. – สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ทีมกู้ภัยเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายแผ่นดินไหวเมียนมา

ทีมกู้ภัยยังเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายจากเหตุแผ่นดินไหวในเมียนมา แม้จะผ่านมา 4 วันแล้ว จนกลิ่นศพเริ่มคละคลุ้งไปทั่ว ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตใกล้แตะหลัก 3,000 ราย

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

เจาะโซน C และ D สำเร็จ อีก 1 เมตรถึงลิฟต์-บันไดหนีไฟ

กู้ภัย เผยเจาะโซน C และ D ได้สำเร็จ อีก 1 เมตรถึงลิฟต์และบันไดหนีไฟ เชื่อมีผู้สูญหายติดอยู่โซนนี้จำนวนมาก หลังพบเสียงขอความช่วยเหลือจากโซน B ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา

ลุ้นช่วยผู้รอดชีวิต หลังพบสัญญาณชีพ

ปฏิบัติการค้นหาผู้สูญหายจากอาคาร สตง.ถล่ม ยังเดินหน้าต่อเนื่อง ขณะนี้ในพื้นที่เสียงเครื่องจักรหนักหยุดลง เป็นสัญญาณว่าทีมกู้ภัย ทั้งเจ้าหน้าที่ค้นหาและสุนัข K9 กำลังเข้าไปเดินสำรวจหลายจุด ซึ่งปฏิบัติการตลอดทั้งวันนี้เน้นจุดโซน B หลังจากช่วงคืนที่ผ่านมา (2 เม.ย.) มีสัญญาณตอบกลับจากผู้ที่คาดว่าจะรอดชีวิต

สภาฯ ถก 11 ญัตติ หาทางรับมือแผ่นดินไหว-ภัยพิบัติ

สภาฯ ถก 11 ญัตติ หาทางรับมือแผ่นดินไหว-ภัยพิบัติ ชง “ครม.” ผุดมาตรการตรวจสอบ “บ.รับจ้าง” ขึ้นบัญชีดำผู้รับเหมา หวังป้องกันเหตุซ้ำรอยตึก สตง. ถล่ม

“วันนอร์” ของขึ้น! ขอ ตร.สภาเข้าชาร์จ หลังเถียงกันวุ่นปมญัตติใครขึ้นก่อน

สภาเดือด “วันนอร์” ของขึ้น! ลุกยืน ขอ ตร.สภาเข้าชาร์จ หลังเถียงกันวุ่น เอาญัตติใครขึ้นก่อน เหตุ “อนุสรณ์” เสนอญัตติเลื่อนระเบียบวาระเอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ ไปพิจารณาครั้งถัดไป ซ้อน “เท้ง” เรื่องแผ่นดินไหว “ไอติม” ก็เดือด ทุบโต๊ะ แซะรัฐบาล ไม่กี่ชั่วโมงก็รอไม่ได้ จะเอา “กาสิโน” เข้าทันทีเลย ด้าน “ชัยชนะ” นั่งไม่ติดขอใช้สิทธิพาดพิง ยันพรรคร่วมรัฐบาลไม่ได้เห็นด้วยกับฝ่ายค้าน ทำ “ปกรณ์วุฒิ” โต้กลับ เบรกอย่าประท้วงมั่วซั่ว ขณะ “โรม” ลุกโวยปิดไมค์แต่ฝ่ายค้าน สุดท้ายแพ้ ญัตติขอเลื่อนระเบียบวาระถูกพิจารณาก่อน