สปสช.ชวนโรงพยาบาล-คลินิก ร่วมดูแลผู้ติดเชื้อโควิดที่บ้าน

กทม. 8 ม.ค.-สปสช. ชวนโรงพยาบาลและคลินิก ร่วมให้บริการระบบดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้าน (Home Isolation: HI) รองรับโอไมครอน หลังปรับแนวทางตรวจสอบการเบิกจ่ายที่รวดเร็วขึ้น พร้อมขอความร่วมมือผู้ติดเชื้อในระบบ HI ทำ “แบบประเมินทาง LINE สปสช. @nhso” กับโรงพยาบาลหรือคลินิกที่ดูแล หลังหายป่วย หรือถูกส่งต่อรักษา ยืนยันการรับบริการ และเป็นข้อมูลสู่การพัฒนาระบบต่อไป

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ในการเตรียมความพร้อมระบบการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้าน (Home Isolation: HI) เพื่อรองรับกับสถานการณ์ในประเทศไทยที่พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลสายพันธุ์โอมิครอนที่มีรายงานการแพร่ระบาดที่รวดเร็ว อาจส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นกระจายไปในหลายพื้นที่ได้ สปสช.ได้พัฒนาระบบการติดตามผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทาง Line สปสช. @nhso กรณีเข้ารับบริการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้าน และใช้เป็นหลักฐานการให้บริการ ทำให้เบิกจ่ายชดเชยถูกต้อง รวดเร็ว และลดการทักท้วง


ทั้งนี้ โรงพยาบาล หรือ คลินิก ที่ดูแลผู้ติดเชื้อโควิดในระบบ HI ดำเนินการด้วยขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

1.ยืนยันตัวตนพิสูจน์สิทธิผู้รับบริการผ่าน Line สปสช. @nhso ซึ่ง สปสช.จะจ่ายค่าบริการเหมาจ่ายเบื้องต้นจำนวน 1,000 บาท ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://youtu.be/zc7ClnmOWf8


2.บันทึกในเวชระเบียน หรือใน platform ที่ สปสช.กำหนด เช่น AMED เป็นต้น พร้อมเก็บหลักฐานการให้บริการผู้ป่วยทุกราย อาทิ การติดตามอาการ บริการส่งยา ส่งอาหาร ส่งอุปกรณ์ผู้ป่วย ได้แก่ ที่วัดไข้ เครื่องวัดค่าออกซิเจน เป็นต้น การเอกซเรย์ปอด การตรวจ RT-PCR ในรายที่จำเป็น และการส่งต่อไปรักษาต่อในโรงพยาบาลกรณีอาการเปลี่ยนแปลง เมื่อหลักฐานครบ ตรวจสอบได้ สปสช.จ่ายค่าบริการทันที

3.เมื่อมีการจำหน่ายผู้ป่วยทุกราย ให้ผู้ติดเชื้อทำ “แบบประเมินการเข้ารับบริการ HI” ใน Line สปสช. @nhso โดยตอบคำถามครบ 12 ข้อ เพื่อใช้เป็นข้อมูลตรวจสอบก่อนจ่าย (Pre audit) โดยที่ สปสช.ไม่ต้องโทรศัพท์หาผู้ติดเชื้อเพื่อตรวจสอบภายหลัง ลดปัญหาหน่วยบริการส่งเอกสารทักท้วง โดยเฉพาะกรณีโทรติดต่อผู้ติดเชื้อไม่ได้

นพ.จเด็จ กล่าวว่า ในการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในระบบ HI สปสช.จำเป็นต้องมีระบบยืนยันการรับบริการและการตรวจสอบ ซึ่งที่ผ่านมาจากข้อมูลผู้ติดเชื้อที่ไม่ชัดเจน เช่น เบอร์โทรไม่ถูกต้อง เป็นต้น ทำให้ต้องตรวจสอบเพิ่ม ทำให้หน่วยบริการต้องส่งเอกสารเพิ่ม ส่งผลต่อการจ่ายชดเชยค่าบริการที่ล่าช้าไปด้วย ดังนั้น สปสช. จึงแก้ปัญหาโดยปรับระบบใหม่ที่ใช้ข้อมูล Line สปสช. @nhso เป็นหลัก รวมถึงการทำแบบประเมินการเข้ารับบริการของผู้ติดเชื้อ ซึ่งจะทำให้การจ่ายค่าชดเชยค่าบริการรวดเร็ว


“สปสช. เชิญชวนโรงพยาบาลและคลินิกร่วมดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในระบบ HI นอกจากได้รับการชดเชยค่าบริการในอัตราที่เหมาะสมแล้ว ในครั้งนี้ สปสช. ยังปรับวิธีการตรวจสอบก่อนจ่ายค่าบริการที่รวดเร็วขึ้น พร้อมกันนี้ สปสช. ขอความร่วมมือผู้ติดเชื้อที่เข้ารับบริการในระบบ HI พิสูจน์ตัวตนเข้ารับบริการด้วยการแอดไลน์ @nhso และ Scan QR code กับคลินิกหรือโรงพยาบาลที่รับดูแล พร้อมทำแบบติดตามผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทาง Line สปสช. @nhso เมื่อหายป่วย หรือถูกส่งต่อไปรักษากรณีอาการเปลี่ยนแปลง ซึ่งพ้นจากการดูแลของคลินิกหรือโรงพยาบาล โดยตอบคำถามครบถ้วน 12 ข้อ และให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาระบบบริการต่อไป” เลขาธิการ สปสช. กล่าว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 1330 ตลอด 24 ชม. หรือ คลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เพิ่มเพื่อนไลน์กับ สปสช. @nhso.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

รถทัวร์โดยสารชนท้ายเทรลเลอร์ เสียชีวิต-บาดเจ็บจำนวนมาก

รถทัวร์โดยสารชนท้ายรถบรรทุกเทรลเลอร์ บนถนนสาย 304 จังหวัดปราจีนบุรี ทำให้ไฟลุกไหม้รถทัวร์โดยสาร เบื้องต้นมีรายงานผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจำนวนมาก

ชาวบ้านยอมรับค่าเยียวยาหลังละ 1 หมื่นบาท จากเจ้าของที่ดิน

ชาวบ้านยอมรับการเยียวยา บ้านละ 1 หมื่นบาท จากเจ้าของที่ดินใน จ.ระยอง หลังถมที่สูงมิดหลังคาของเพื่อนบ้าน และรับปากจะเร่งแก้ไขให้ทันหน้าฝนที่จะถึงนี้ แต่ชาวบ้านยังหวั่นใจ หากแก้ไขไม่ทันก็ยังจะเดือดร้อน น้ำจะไหลลงมาบ้านที่อยู่ต่ำกว่า

“พีช” หอบเงิน 2 แสน หวังจ่ายค่ารักษาลุงป้า แต่ญาติชิงจ่ายแล้ว

“นายกเบี้ยว” พร้อมลูกชาย หอบเงิน 2 แสน หวังจ่ายค่ารักษาลุงป้า แต่ญาติชิงจ่ายก่อนแล้ว จึงฝากจดหมายขอโทษไว้ ด้าน “กัน จอมพลัง” ยอมถอย ให้สองฝ่ายพูดคุย แต่ต้องเป็นรูปธรรม

ข่าวแนะนำ

โป๊ปฟรังซิส สิ้นพระชนม์แล้ว ขณะพระชนมายุ 88 พรรษา

สำนักวาติกัน แถลงผ่านทางโทรทัศน์ของสำนักวาติกันว่า สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระประมุขแห่งพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกและพระประมุขแห่งนครรัฐวาติกันสิ้นพระชนม์แล้วในวันนี้

นายกฯ ปัดตอบ ผลสำรวจอยากให้ปรับ ครม.

“นายกฯ อิ๊งค์” ไม่ตอบคำถามผลสำรวจอยากให้ปรับ ครม. บอกพรุ่งนี้ตอบทีเดียว ก่อนแซว “ประเสริฐ” ปรับให้แล้ว เหตุพูดตำแหน่ง “จุลพันธ์” ผิด จาก รมช.คลัง เป็น รมช.มหาดไทย

Pope inaugurated the Holy Year on Christmas Eve on December 24, 2024

เปิดพระประวัติโป๊ปฟรังซิส

วาติกัน 21 เม.ย.- เว็บไซต์ข่าวโทรทัศน์ซีเอ็นบีซี (CNBC) ของสหรัฐ เปิดพระประวัติที่น่าสนใจ 10 ประการของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระประมุขแห่งพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกและพระประมุขแห่งนครรัฐวาติกัน ที่สิ้นพระชนม์วันนี้ (21 เม.ย.68) ขณะมีพระชนมายุ 88 พรรษา ประการที่ 1 ทรงเป็นพระสันตะปาปาลาตินอเมริกันและเยสุอิตคนแรก สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส มีพระนามเดิมว่า ฮอร์เก มาริโอ เบร์โกกลิโอ ประสูติวันที่ 17 ธันวาคม 2479 ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา เป็นพระสันตะปาปาลาตินอเมริกันคนแรกของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก แตกต่างจากผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาเกือบ 200 คน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากอิตาลี ทรงมาจากนอกทวีปยุโรปในฐานะพระสันตะปาปาพระองค์ที่ 266 และเป็นนักบวชคณะเยสุอิตคนแรกที่ขึ้นดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปา ประการที่ 2  ทรงมีพื้นเพมาจากอิตาลี แม้ว่าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสประสูติในอาร์เจนตินา แต่ท่านมีมรดกทางชาติพันธุ์จากอิตาลี จากการที่บิดามารดาเป็นผู้อพยพชาวอิตาลี บิดาทำงานเป็นนักบัญชีในทางรถไฟ ขณะที่มารดาอุทิศตนให้กับการเลี้ยงลูกทั้ง 5 คน ประการที่ 3 ทรงศึกษาด้านเคมีและปรัชญา สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสศึกษาปรัชญาและมีปริญญาโทในด้านเคมีจากมหาวิทยาลัยบัวโนสไอเรส ทรงศึกษาในโรงเรียนเทคนิคและได้ฝึกอบรมเป็นช่างเทคนิคเคมี ก่อนเข้าเรียนที่โรงเรียนสอนศาสนาแห่งอัครสังฆมณฑลบิญญา เดโวโต […]