กรุงเทพฯ 27 ก.ย.- ผอ.สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำฯ เตือนประชาชนลุ่มเจ้าพระยา เฝ้าระวังปริมาณน้ำ เดือนตุลาคม ยังไม่สิ้นสุดฤดูฝน ลุ้นจะมีพายุเข้าอีกหรือไม่ ขณะที่สถานการณ์เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ปีนี้มีปริมาณน้อยกว่าปี 54 ต่างกันเกือบเท่าตัว
ปีนี้สถานการณ์น้ำเทียบกับปี 54 พื้นที่เหนือนครสวรรค์ขึ้นไป จุดรวมน้ำ ปิง วัง ยม น่าน ปีนี้เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำน้อยมาก ส่วนปี 2554 มีน้ำถึง 22,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ต่างกันเกือบเท่าตัว ถัดมาจังหวัดต่ำกว่านครสวรรค์ปีนี้ปริมาณฝนเตี้ยนหมู่ ทำให้ปริมาณฝนตกกลางประเทศ ได้แก่ ชัยภูมิ นครราชสีมา เพชรบูรณ์ ลพบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี พิษณุโลก สุโขทัย ปริมาณน้ำบริเวณนี้ไหลลงมาด้านล่างไม่ได้ไหลลงเขื่อน จะถูกบังคับด้วยเขื่อนเจ้าพระยา เมื่อเปรียบเทียบกับ 2554 ปีนี้ต้องระบายน้ำถึง 3,700 ลบ.ม.ต่อวินาที
ปี 2554 มีคันกั้นน้ำแตกอยู่ 10 กว่าที่ ทำให้น้ำโจมตีสู่กทม. ปีนี้ยังไม่มีคันกั้นน้ำที่ใดแตก และทำให้สูงขึ้น 30-50 ซม. ปัจจัยทั้ง 3 ส่วน คือ ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติต์ และการระบายน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยาต่ำกว่านครสวรรค์ และคันกั้นน้ำแตกจากปริมาณน้ำฝนที่เจอพายุกว่า 5 ลูก ส่วนปีนี้หนักๆ มีเเค่พายุเตี้ยนหมู่ลูกเดียวเท่านั้น
อยากเตือนประชาชนในลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่อยู่ริมตลิ่งต้องระมัดระวัง ในเดือนตุลาคมยังไม่สิ้นสุดฤดูฝน ต้องระวังปริมาณน้ำในเขื่อนเจ้าพระยา ต้องติดตามสถานการณ์จะมีพายุเข้าอีกหรือไม่ และระดับน้ำจะสูงขึ้นอีกหรือไม่ ปริมาณฝนที่ตกในเขื่อนเเม่วงก์จะตกเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ทำให้การระบายน้ำในปัจจุบันอาจคงที่หรือเพิ่งขึ้นอีก สถานการณ์อาจทรงตัวหรืออาจเพิ่มขึ้นอีก คาดว่าอาทิตย์ต้นเดือน ต.ค. จะมีพายุเข้ามาสู่เวียดนาม และมีผลต่อประเทศไทย
เหตุการณ์ที่น้ำทะลักเขื่อนเชียงไกร ไม่ใช่เขื่อนเเตก! แต่เป็นเขื่อนฉีกเป็นช่องๆ ช่องที่ฉีกเริ่มกว้างขึ้น ในเชิงเทคนิคต้องพยายามประคองไม่ให้การฉีกตัวลามออกไป การแก้ไขต้องรอน้ำลดจนถึงจะเเก้ไขได้ เพราะเเรงน้ำรุนเเรงมาก กัดเซาะตัวเขื่อนไปอีก ประชาชนที่อาศัยอยู่ 8 อำเภอพิจารณาสถานการณ์ต้องอยู่ในที่ปลอดภัยที่สุด