ครม.เคาะผ่อนผันแรงงานต่างด้าว

กรุงเทพฯ 13 ก.ค.- ครม.เคาะผ่อนผันแรงงานต่างด้าวกลุ่มมติครม. 20 ส.ค. 62 กลุ่มมติ 4 ส.ค. 63 กลุ่มมติ 10 พ.ย. 63 และกลุ่มที่ใบอนุญาตทำงานสิ้นลงโดยผลของกฎหมายที่ได้ดำเนินการตามกระบวนการที่กำหนด ให้สามารถอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้ต่อไป

ครม.มีมติเห็นชอบ ผ่อนผันแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ กลุ่มมติครม. 20 ส.ค. 62 กลุ่มมติ 4 ส.ค. 63 กลุ่มมติ 10 พ.ย. 63 และกลุ่มที่ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวสิ้นสุดลงเพราะผลของกฎหมาย สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษถึง 27 ก.ค. 65 โดยดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดให้แล้วเสร็จ เพื่อจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานถึง 13 ก.พ. 66 รวมทั้งปรับเปลี่ยนระยะเวลาการหานายจ้างรายใหม่ของแรงงานต่างด้าวจาก 30 วัน เป็น 60 วัน


นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด –19 ทำให้แรงงานต่างด้าวตามกลุ่มมติคณะรัฐมนตรีต่างๆ ที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามมติครม.เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 เพื่อดำเนินการขออนุญาตทำงาน ตรวจสุขภาพ ตรวจลงตราวีซ่า ทำบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย และดำเนินการให้มีเอกสารประจำตัวฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่หมดอายุหรือกำลังจะหมดอายุ ไม่สามารถดำเนินการตามขั้นตอนได้ทันตามกำหนดเวลา โดยเฉพาะขั้นตอนการไปขอรับการตรวจสุขภาพ ซึ่งขณะนี้ระยะเวลาการผ่อนผันดังกล่าวกำลังจะสิ้นสุดภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 หรือ 30 กันยายน 2564 หรือ ในระยะเวลา 6 เดือนนับจากการอนุญาตเดิมสิ้นสุด นอกจากนี้ยังมีคนต่างด้าวที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด -19 บางส่วนที่ต้องออกจากงานด้วยเหตุผลหลายประการ และไม่สามารถหานายจ้างรายใหม่ได้ภายในระยะเวลา 30 วัน ทำให้การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและอนุญาตให้ทำงานสิ้นสุดลงตามผลของกฎหมาย ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้แรงงานต่างด้าวที่อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งกำลังดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ กลายเป็นแรงงานผิดกฎหมาย รวมทั้งให้ประเทศต้นทางมีเวลาเพียงพอในการดำเนินการออกหรือต่ออายุเอกสารประจำตัวของคนชาติตน จึงมีความจำเป็นต้องอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพรบ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 อนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ และอาศัยอำนาจตามมาตรา 14 แห่งพรก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อนุญาตให้คนต่างด้าวกลุ่มมติครม.ต่างๆ ได้ทำงานต่อไป

“พล.อ. ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ย้ำเตือนให้กระทรวงแรงงาน บริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 และสภาวะทางด้านเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน รวมทั้งดูแลสถานประกอบการที่มีความต้องการกำลังแรงงานให้สามารถขับเคลื่อนกิจการต่อไปได้ โดยยึดความปลอดภัยด้านสุขภาพและชีวิตของทั้งแรงงานต่างด้าว แรงงานไทย และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับชุมชน และประชาชนโดยรวม” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกล่าว


ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า เพื่อบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 อย่างมีประสิทธิภาพ จำต้องมีมาตรการแก้ไขข้อขัดข้อง และปรับปรุงกฎระเบียบบางประการ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งครม.ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการแก้ไขข้อขัดข้อง ดังนี้

  1. กลุ่มคนต่างด้าวตามมติครม.เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 62 ผ่อนผันระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ถึงวันที่ 27 ก.ค. 65 เพื่อให้คนต่างด้าวที่ประสงค์ทำงานต่อไปดำเนินการขออนุญาตทำงาน ภายใน 30 ก.ย. 64 หรือ 31 มี.ค. 65 แล้วแต่กรณีของระยะเวลาการอนุญาตทำงานเดิม รวมทั้งตรวจสุขภาพ และขอตรวจอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักร ในกรณีที่เอกสารประจำตัวหมดอายุคนต่างด้าวต้องมีเอกสารฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่หมดอายุภายในวันที่ 27 ก.ค. 65 ซึ่งเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จคนต่างด้าวจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานไม่เกินวันที่ 13 ก.พ. 66
  1. กลุ่มคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ส.ค. 63 (กลุ่ม บต.23) ให้ดำเนินการตามกระบวนการเดิมจนแล้วเสร็จ ได้รับบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย(บัตรสีชมพู) ภายในวันที่ 31 มี.ค. 65 หากคนต่างด้าวประสงค์จะทำงานต่อไปให้ดำเนินการขออนุญาตทำงาน และขอตรวจอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรภายในวันที่ 31 มี.ค. 65 ในกรณีที่เอกสารประจำตัวหมดอายุคนต่างด้าวต้องมีเอกสารฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่หมดอายุภายในวันที่ 27 ก.ค. 65 ซึ่งเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จคนต่างด้าวจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานไม่เกินวันที่ 13 ก.พ. 66
  2. กลุ่มคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 63 (กลุ่ม MoU ครบ 4 ปี ตั้งแต่ 1 พ.ย. 63 – 31 ธ.ค. 64) ผ่อนผันระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ถึงวันที่ 27 ก.ค. 65 เพื่อให้คนต่างด้าวดำเนินการขออนุญาตทำงาน ตรวจสุขภาพ และขอตรวจอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรต่อไป ในกรณีที่เอกสารประจำตัวหมดอายุคนต่างด้าวต้องมีเอกสารฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่หมดอายุภายในวันที่ 27 ก.ค. 65 เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จคนต่างด้าวจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี นับจากการอนุญาตทำงานเดิมสิ้นสุด
  3. กลุ่มคนต่างด้าว 3 สัญชาติซึ่งใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมาย อาทิ กลุ่มที่ไม่สามารถหานายจ้างรายใหม่เพื่อเข้าทำงานได้ทันภายใน 30 วัน ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ผ่อนผันระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ถึงวันที่ 27 ก.ค. 65 เพื่อให้คนต่างด้าวดำเนินการขออนุญาตทำงาน ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ประกาศกระทรวงแรงงานมีผลบังคับใช้ และตรวจสุขภาพ ขอตรวจอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักร ในกรณีที่เอกสารประจำตัวหมดอายุคนต่างด้าวต้องมีเอกสารฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่หมดอายุภายในวันที่ 27 ก.ค. 65 เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จคนต่างด้าวจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานไม่เกินวันที่ 13 ก.พ. 66 ทั้งนี้ ไม่รวมถึงคนต่างด้าว ตามมติครม. 29 ธ.ค. 63 ที่มีแนวทางตามมติครม.เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 64 ในการดำเนินการ
  4. การปรับเปลี่ยนระยะเวลาการหานายจ้างรายใหม่ของแรงงานต่างด้าวจากภายใน 30 วัน เป็น 60 วัน นับแต่วันที่เลิกทำงานกับนายจ้างรายเดิม สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา
    ตามมติครม.เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 62 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ส.ค. 63 (กลุ่ม บต.23) และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 63 รวมถึงกลุ่มคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามระบบ MoU โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศกระทรวงแรงงานที่เกี่ยวข้องมีผลใช้บังคับ จนถึงวันที่ 13 ก.พ. 66

อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของการออกเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity : CI) ทางการเมียนมา จะออกเอกสารรับรองบุคคล (CI) ให้กับคนเมียนมาที่มีเอกสาร CI แล้ว แต่เอกสารดังกล่าวทยอยหมดอายุ โดยตั้งศูนย์บริการ จำนวน 5 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดระนอง จังหวัดชลบุรี และจังหวัดเชียงใหม่ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ครม.ลงมติเห็นชอบ จนถึง 27 ก.ค. 65 สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติลาว และกัมพูชา สามารถขอเอกสารดังกล่าวได้ที่สถานเอกอัครราชทูตตามสัญชาติของตนที่ประจำอยู่ในประเทศไทย

“สำหรับนายจ้าง/สถานประกอบการ และคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 หรือที่ไลน์ @Service_Workpermit และสายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร.1694 ซึ่งมีการจัดล่ามในภาษากัมพูชา เมียนมา และอังกฤษ ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และแนะนำ” อธิบดีกรมการจัดหางานกล่าว .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

จำคุกสมรักษ์คำสิงห์

ศาลสั่งคุก 2 ปี 13 เดือน 10 วัน “สมรักษ์” พยายามข่มขืนสาววัย 17

ศาลจังหวัดขอนแก่น พิพากษาจำคุก “สมรักษ์ คำสิงห์” อดีตนักมวยฮีโร่เหรียญทองโอลิมปิก เป็นเวลา 2 ปี 13 เดือน 10 วัน พร้อมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนรวม 170,000 บาท คดีพยายามข่มขืนเด็กสาววัย 17 ปี

Chinese foreign ministry in January 2025

ถอดบทเรียนจากจีน แก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 จริงจัง

ปักกิ่ง 23 ม.ค. – สถานการณ์ฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่และเร่งด่วนในไทยอยู่ในขณะนี้ หลายฝ่ายกำลังหาทางแก้ไขด้วยการมุ่งไปที่ต้นตอที่ทำให้เกิดฝุ่น จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า ในปี พ.ศ. 2542 ประชากรโลกมากถึง 92% ได้รับฝุ่น PM2.5 ในระดับความเข้มข้นสูงกว่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนด และถ้ารัฐบาลทุกประเทศไม่เร่งแก้ปัญหาอย่างเอาจริงเอาจัง ภายในอีก 7 ปีข้างหน้า หรือ พ.ศ. 2573 คุณภาพชีวิตคนทั่วโลกจะยิ่งเลวร้ายสุดขีด เพราะปริมาณ PM2.5 จะเพิ่มขึ้นจากเดิม 50% และประเทศที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นเป็นตัวอย่างว่า หากรัฐบาลตั้งใจจริงจัง ทุ่มสรรพกำลังความพยายาม จะสามารถกำจัดปัญหาฝุ่นควันพิษได้อย่างแน่นอนนั่นก็คือ จีน   จีนเคยมีคนเสียชีวิตเพราะมลพิษในอากาศปีละหลายล้านคน แต่ทุกวันนี้แม้แต่ธนาคารโลกยังยกย่องจีนว่า เป็นแบบอย่างของความพยายาม สามารถพลิกฟ้าหม่นเพราะฝุ่น PM2.5 ให้กลับเป็นฟ้าใสได้สำเร็จ ความพยายามของเหมา เจ๋อตุง ผู้นำจีนที่มุ่งเปลี่ยนสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม ทำให้จำนวนโรงงานในจีนเพิ่มขึ้นทวีคูณภายใน พ.ศ. 2502 แน่นอนว่า นโยบายเศรษฐกิจของผู้นำจีนช่วยให้คนจีนหลายล้านหลุดพ้นจากขีดความยากจน แต่ก็ต้องแลกกับชีวิตและสุขภาพ เพราะควันพิษจากโรงงานทำให้ฝุ่น PM2.5 พุ่งในระดับเกินกว่าจะรับไหว กว่ารัฐบาลจะรู้ตัวว่าปัญหามาถึงขั้นวิกฤต […]

คึกคัก คู่รักจูงมือกันไปจดทะเบียนวันแรกกฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผล

วันนี้กฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการ หลายคู่รักควงแขนไปจดทะเบียนสมรสกันชื่นมื่น ที่สยามพารากอน มีคู่รักที่ลงทะเบียนมาจดทะเบียนสมรสที่นี่กว่า 300 คู่

ผู้ป่วยเสียชีวิต

รพ.สิรินธร ยืนยันไม่มีผู้ป่วยช็อก-เสียชีวิต จากเหตุชายผิวสีคลุ้มคลั่ง

ผอ.รพ.สิรินธร ยืนยันไม่มีผู้ป่วยช็อก หรือเสียชีวิต จากเหตุต่างชาติผิวสีคลุ้มคลั่ง มีเพียงเจ้าหน้าที่ รพ.บาดเจ็บจากการถูกต่อยเล็กน้อย

ข่าวแนะนำ

เปิดรับการลงทุน

นายกฯ ย้ำบทบาทของไทยในเวทีโลก ที่ดาวอส พร้อมเปิดรับการลงทุน

นายกฯ ย้ำบทบาทของไทยในเวทีโลก ที่ดาวอส พร้อมเปิดรับการลงทุนสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ ด้วยจุดแข็งด้านเกษตรกรรม Soft Power และอุตสาหกรรมที่มีความยั่งยืน มุ่งมั่นพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและการค้าเสรี เร่งสร้างสภาพแวดล้อมทางการค้าที่เสรี เปิดกว้าง และยั่งยืน

ช้างหลุดเดินถนน

ระทึก! ช้างหลุดจากปางช้างเดินบนถนน รถเสียหาย 1 คัน

ระทึก! ควาญช้างและตำรวจเร่งติดตามช้างหลุดจากปาง เดินบนถนน ชนกระจกมองข้างรถยนต์เสียหาย 1 คัน สุดท้ายไปเจอเล่นน้ำอยู่ในลำธารอย่างสบายใจ

ฝุ่น กทม.

แดงเกือบทั้งกรุง คุณภาพอากาศวิกฤติ ฝุ่น PM 2.5 กระทบต่อสุขภาพ

คุณภาพอากาศกรุงเทพฯ วิกฤติต่อเนื่อง เช้านี้ฝุ่น PM 2.5 อยู่ระดับสีแดง ผลกระทบต่อสุขภาพ 67 พื้นที่ คุณภาพอากาศจะแย่แบบนี้ไปถึงสัปดาห์หน้า

วันประวัติศาสตร์ สมรสเท่าเทียมวันแรก

วันนี้เป็นวันแรกที่กฎหมายสมรสเท่าเทียม มีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการ ใน กทม. มีการจัดงานวันสมรสเท่าเทียมอย่างยิ่งใหญ่ เฉลิมฉลองให้กับเส้นทางการต่อสู้อันยาวนานกว่าที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ ไม่ว่าเพศใดก็จะได้รับสิทธิการสมรสอย่างเท่าเทียมกัน