ผลกระทบทางสังคมจากโควิด-19

กรุงเทพฯ 15 ธ.ค.-นักวิชาการศึกษาผลกระทบทางสังคมจากการระบาดของโควิด-19 พบผู้มีรายได้น้อยและคนจนได้รับผลกระทบมากที่สุด


ผศ.ดร.เสาวลักษม์ กิตติประภัสร์ และคณะ มหาวิทยาลัยรังสิต นำเสนอบทสรุปจากการศึกษาโครงการผลกระทบทางสังคมจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) และวิกฤติเศรษฐกิจ ต่อกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หลังสำรวจกลุ่มตัวอย่างในชุมชนแออัดชั้นในประมาณ 500คน ช่วงปลายเดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนกันยายน พบว่าการระบาดของโควิด-19มีผลกระทบต่อผู้มีรายได้น้อยและคนจนมาก โดยเฉพาะในช่วงที่มีการปิดเมือง (lockdown) มากที่สุด แม้หลังมีการเปิดเมืองหรือคลายล็อกแล้ว ผลกระทบก็ยังคงอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการลดลงของรายได้ การตกเกณท์เป็นคนจนใหม่ การตกงาน การเป็นหนี้ ซึ่งตัวแปรต่างๆ ไม่มีแนวโน้มว่าจะเป็นไปเหมือนระดับเดิมก่อนมีการระบาดก่อนการล็อกดาวน์ได้

โดยการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจสังคมใน 3 ช่วงเวลา คือ 1)ก่อนมีการล็อกดาวน์ 2)ช่วงที่มีการล็อกดาวน์ และ3)ช่วงคลายล็อก ดังนี้ มีการเพิ่มขึ้นของคนจนใหม่จำนวนมากสะท้อนการลดลงของรายได้อย่างมากโดยช่วงล็อกดาวน์มีคนที่ตกเกณท์คนจนของกรุงเทพฯ(รายได้ต่ำกว่า 3,300 บาทต่อเดือน)ถึงร้อยละ 68.4 จากเดิมที่มีสัดส่วนคนจนต่ำกว่าเกณท์รายได้ที่ร้อยละ18.4 แม้หลังคลายล็อก สัดส่วนคนจนก็ยังสูงกว่าเดิม โดยอยู่ที่ ร้อยละ 43.2


รายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ 8,166.93 บาทก่อนมีล็อกดาวน์ ลดลงถึงร้อยละ60 (3,232.87 บาท) ในช่วงล็อกดาวน์เมื่อเทียบกับระดับในช่วงที่มีการคลายล็อกแล้วก็ยังลดลงถึงร้อยละ 36 (5,217.64 บาท)

ด้านรายจ่ายมีแนวโน้มในทิศทางเดียวกัน คือลดลงช่วงล็อกดาวน์มากกว่าช่วงหลังคลายล็อก แต่การลดลงของรายจ่ายน้อยกว่าการลดลงของรายได้ ทำให้สัดส่วนรายจ่ายต่อรายได้ของครัวเรือนสูงกว่าก่อนหน้าจะมีมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด-19 ทำให้ภาระหนี้ของครัวเรือนมีแนวโน้มสูงขึ้นแม้ว่าจะอยู่ในช่วงหลังการล็อกดาวน์แล้ว สวนทางกับการออมที่มีแนวโน้มติดลบมากขึ้น

กลุ่มที่มีระดับรายได้ต่ำสุด เช่นกลุ่มคนจนที่มีรายได้ต่ำกว่า 3,300 บาทต่อเดือน มีสัดส่วนรายจ่ายต่อรายได้ปัจจุบันถึง 1.68 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุด เมื่อเทียบกับกลุ่มระดับรายได้อื่น โดยสัดส่วนรายจ่ายต่อรายได้ของ ผู้มีรายได้ระดับ3,301-4,000 บาทอยู่ที่ 1.15 และผู้มีระดับรายได้ 4,001-7,000 บาท อยู่ที่ 0.94 และสัดส่วนนี้ลดลงเรื่อย ๆ เมื่อระดับรายได้สูงขึ้น แสดงให้เห็นว่า ยิ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้น้อยเท่าไร สัดส่วนของรายจ่ายต่อรายได้ยิ่งสูงมาก เพราะรายได้ไม่เพียงพอ


สัดส่วนของหนี้ต่อรายได้จะยิ่งสูงขึ้นในกลุ่มคนที่มีระดับรายได้ที่ต่ำสุด(ที่ตกเกณท์ประมาณการเป็นคนจนใน กทม.คือน้อยกว่า3,300บาทต่อเดือน) ที่มีสัดส่วนหนี้ต่อรายได้สูงที่สุดถึง 0.74 ในปัจจุบัน แสดงว่ารายได้ประมาณ 3 ใน 4 ต้องนำไปใช้หนี้ โดยร้อยละ 53.6 ของกลุ่มตัวอย่างเป็นหนี้ในปัจจุบันและมีกลุ่มที่เริ่มเป็นหนี้ในช่วงล็อกดาวน์ร้อยละ6.8ที่มีขนาดของหนี้เฉลี่ย25,382บาท โดยคนส่วนใหญ่มีขนาดของหนี้ในระดับ 10,000 -100,000 บาท(ร้อยละ 38.6 รวมกลุ่มที่มีหนี้เก่า) และร้อยละ 12.8 มีขนาดของหนี้ ไม่เกิน 10,000 บาท

ด้านการประกอบอาชีพ ผู้ประกอบอาชีพ (ก่อนมีการระบาดโควิด) ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดตั้งแต่ช่วงล็อกดาวน์จนถึงปัจจุบันได้แก่ ลูกจ้างรายวันทั่วไป ผู้ค้าขายรายย่อย หาบเร่แผงลอย วินมอเตอร์ไซต์ เป็นกลุ่มที่มีการตกงานและรายได้ลดลงมากที่สุด

ด้านการเยียวยาของรัฐ ส่วนใหญ่ที่ได้รับเงินเยียวในโครงการ”เราไม่ทิ้งกัน”หรือโครงการช่วยเหลือ 3,000 บาท เห็นว่าช่วยได้ในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่ใช้ภายใน1เดือน อย่างไรก็ตามเกือบ 1ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างไม่ได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยาของรัฐ เนื่องจากมีปัญหาในการลงทะเบียนในโครงการฯมากที่สุด เพราะทำเองไม่เป็น ไม่มีอุปกรณ์และอินเทอร์เน็ตหรือเอกสารพิสูจน์สิทธิ์ไม่พร้อม ไม่มีบัตร หรืออ่านหนังสือไม่ออก ผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนได้มักจะให้ลูกหลานช่วยทำให้แทน

ส่วนประเภทความช่วยเหลือที่ต้องการมากที่สุด ได้แก่ เงินเยียวยา เพราะช่วยเรื่องค่าครองชีพและนำไปใช้ในสิ่งที่จำเป็นได้ง่าย รองลงมาคืออาหาร


ในเรื่องการปรับตัวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่ตอบว่าต้องประหยัด และพยายามพึ่งตนเองมากที่สุด บางคนขายสินทรัพย์ที่เคยใช้ในอาชีพเดิม คนที่รายได้ไม่พอจริงๆและไม่มีเงินออมเลยก็หาทางออกด้วยการกู้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้นอกระบบ รวมทั้งหนี้รายวัน ทำให้พอมีรายได้ก็ต้องนำไปจ่ายหนี้รายวันทำให้ยิ่งขาดแคลน บางคนอาศัยข้าววัดสำหรับอาหาร หลายคนปรับตัวด้วยการพยายามหางานทำเพิ่ม ทำนอกเวลา หรือทำงานใหม่ ไม่ว่าจะเป็นขายของที่บ้าน/ชุมชน รับจ้างทั่วไป มอเตอร์ไซต์รับจ้าง ฯลฯ และอยากได้ทักษะใหม่ เพื่อโอกาสในการทำงานใหม่ อาชีพใหม่ด้วย ซึ่งทักษะที่ต้องการ ได้แก่การค้าขายมากที่สุด รวมทั้งการขายของออนไลน์ การทำอาหาร ทำขนม เบเกอรี่

อย่างไรก็ดีมีไม่น้อยที่ต้องการความรู้ทางการเกษตรและการเกษตรผสมผสาน การทำสวน งานที่ต้องใช้ฝีมือเฉพาะด้านเช่น การดัดผม เสริมสวย งานตัดเย็บเสื้อผ้า นวดแผนไทย งานซักรีด งานฝีมือ เช่น ร้อยลูกปัด จักสาน รวมทั้งงานช่างต่างๆเช่น ช่างเชื่อมโลหะ ช่างไม้ ช่างหินขัด ช่างซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า การขับขี่มอเตอร์ไซค์ การขับรถยนต์ รถบดดิน และงานซ่อมรถ การทำความสะอาดสำนักงาน การเลี้ยงเด็ก ฯลฯ

สำหรับข้อเสนอแนะต่อมาตรการการคุ้มครองทางสังคมให้ครอบคลุมและมีหลายระดับ(ขั้นต่ำ กลาง สูง) ตั้งแต่การช่วยเหลือในภาวะวิกฤติแบบเป็น social safety nets ตลอดจนการพัฒนาขั้นพื้นฐานตามสิทธิของพลเมืองที่ควรได้รับและการพัฒนาศักยภาพยิ่งๆขึ้นไปตามความพร้อมของบุคคลเพื่อเป็นการพัฒนาสังคม
1.ด้านการช่วยเหลือเยียวยาให้ครอบคลุมทั่วถึงคนด้อยโอกาสที่ยังตกหล่นอยู่ในแต่ละชุมชน โดยอาจใช้กลไกการช่วยเหลือผ่านเครือข่ายมูลนิธิNGOs ที่ทำงานใกล้ชิดชุมชน และอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้เข้าถึงกลุ่มนี้มากขึ้น
2.การช่วยเหลือขั้นพื้นฐานตามสิทธิของพลเมืองที่ควรได้รับ ซึ่งรัฐได้ให้ความช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการต่างๆ อยู่แล้วถือเป็นการให้ตามมาตรฐานขั้นต่ำที่ช่วยในการยังชีพได้ แต่การจะพัฒนาคนมากไปกว่านั้น ต้องมีการเสริมทักษะในชีวิตที่ทำให้สามารถทำมาหาเลี้ยงชีพได้เองในระยะยาว
3.การเพิ่มศักยภาพคนและชุมชนตามความเหมาะสมและความพร้อม รัฐควรให้โอกาสส่งเสริมทักษะขั้นสูงขึ้นไปเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการทำงานในโลกสมัยใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดร็ว โดยเฉพาะในยุคหลังโควิด .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

คลอดลูกแฝดตกตึก

หญิงวัย 31 เพิ่งคลอดลูกแฝด พลัดตกตึก 18 ชั้น รพ.ดัง เสียชีวิต

สลด! หญิงวัย 31 ปี เพิ่งคลอดลูกแฝด พลัดตกตึก 18 ชั้น โรงพยาบาลดัง เสียชีวิต ด้านโรงพยาบาลแถลงแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิต พร้อมทบทวนมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุแบบนี้ขึ้นอีก

ทหารควง M16 ยิงเพื่อนตำรวจดับคาบ้านพัก

ทหารพรานควง M16 บุกยิงเพื่อนตำรวจเสียชีวิตภายในบ้านพัก ก่อนขี่รถจักรยานยนต์ออกจากบ้านผู้ตาย เข้ามอบตัวกับตำรวจ สภ.เมืองปัตตานี เบื้องต้นคนก่อเหตุให้การวกวน เนื่องจากอยู่ในอาการหลอน

ลูกน้องปืนโหดรัวยิงหัวหน้างานดับคา สนง.ปฏิรูปที่ดินฯ

ลูกน้องชักปืนกระหน่ำยิงหัวหน้างานดับกลางห้องทำงาน สำนักงานปฏิรูปที่ดิน จ.น่าน ก่อนลั่นไกยิงตัวเอง ปมเหตุขัดแย้งเรื่องงาน

จนท.ปะทะเดือด! เสียงปืนสงบพบศพคนร้าย 4 ศพ

ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง นำกำลังปิดล้อมตรวจค้นพื้นที่ อ.กรงปินัง จ.ยะลา เกิดการปะทะ เสียงปืนสงบพบศพคนร้าย 4 ศพ ยึดอาวุธสงคราม 3 กระบอก

ข่าวแนะนำ

กกต.ขอบคุณ ปชช.ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง อบจ.

เลขาธิการ กกต. แถลงสถานการณ์หลังปิดหีบบัตรเลือกตั้ง อบจ.ทั่วประเทศ ขอบคุณประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิ พร้อมชี้แจงกรณีบัตรเลือกตั้งหายที่จังหวัดบึงกาฬ

นายกฯ วิดีโอคอลให้กำลังใจ 5 คนไทยที่อิสราเอล

นายกรัฐมนตรี วิดีโอคอลให้กำลังใจ 5 คนไทยที่อิสราเอล ดีใจทุกคนสุขภาพแข็งแรงดี อยากให้ตรวจเช็กให้เรียบร้อยก่อนกลับไทย ยืนยันรัฐบาลดูแลสิทธิประโยชน์อย่างเต็มที่