fbpx

นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างฯ วิเคราะห์ผลกระทบแผ่นดินไหว

กรุงเทพฯ 17 พ.ย. – “ศ.ดร.อมร” นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างฯ ระบุอาคารที่แตกร้าวจากแผ่นดินไหว จ.เชียงราย ส่วนใหญ่เป็นอาคารเตี้ย-ปานกลาง เพราะพื้นเป็นดินแข็ง ส่วนที่รู้สึกได้ใน กทม. เพราะเป็นดินอ่อน จึงขยายความรุนแรงมาจากระยะไกลได้ เชื่อระยะทางที่ห่างไกลไม่กระทบให้โครงสร้างหลักของอาคารได้รับความเสียหาย


จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6.4 เมื่อวันที่ 17 พ.ย. เกิดขึ้นที่ระดับความลึกประมาณ 9 กิโลเมตร ในประเทศเมียนมา ห่างจากอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 100 กม. ซึ่งจุดที่เกิดแผ่นดินไหว มีแนวรอยเลื่อนเชียงตุงพาดผ่าน แผ่นดินไหวดังกล่าวจัดว่าเป็นแผ่นดินไหวขนาดปานกลาง และเป็นแผ่นดินไหวในระดับตื้น จึงส่งผลกระทบต่อพื้นที่จังหวัดภาคเหนือโดยตรงเนื่องจากอยู่ใกล้กับจุดที่เกิดแผ่นดินไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่

ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย อธิบายถึงผลกระทบต่อโครงสร้างอาคาร โดยแบ่งเป็น 1.พื้นที่ในภาคเหนือ และ 2. กรุงเทพมหานคร สำหรับจังหวัดในภาคเหนือ เนื่องจากระยะทางจากจุดที่เกิดแผ่นดินไหว ถึงจังหวัดเชียงราย ประมาณ 100 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าห่างกันพอสมควร แต่ก็ทำให้อาคารเกิดการสั่นไหว และเกิดการแตกร้าวหรือการหลุดร่อนของผนังปูนฉาบในอาคารบางหลังได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าแผ่นดินไหวดังกล่าวยังไม่รุนแรงพอที่จะทำให้อาคารถล่มลงมาทั้งหลังได้ ทั้งนี้อาคารในพื้นที่ภาคเหนือที่ได้รับผลกระทบ จะเป็นกลุ่มอาคารเตี้ยถึงสูงปานกลาง เนื่องจากเป็นอาคารที่มีความถี่สูง และจากสภาพพื้นที่เป็นชั้นดินทรายหรือดินแข็ง จึงกระตุ้นให้อาคารกลุ่มนี้สั่นไหวได้มากกว่าอาคารสูงในบริเวณเดียวกัน


สำหรับกรุงเทพมหานครนั้น แม้ว่า กรุงเทพฯ จะอยู่ห่างไกลจากจุดเกิดเหตุถึง 900-1,000 กิโลเมตร แต่อาคารหลายแห่งก็สั่นสะเทือนได้เช่นกัน เนื่องจากสภาพชั้นดินของกรุงเทพฯ ที่เป็นดินอ่อน จึงสามารถขยายความรุนแรงของคลื่นแผ่นดินไหวที่มาจากระยะไกลได้ และส่งผลกระทบต่ออาคารสูง ตั้งแต่ 5-6 ชั้นเรื่อยไปจนถึงอาคารสูงหลายสิบชั้น แต่เชื่อว่าด้วยระยะทางที่ห่างไกลหลายร้อยกิโลเมตรจะไม่ส่งผลกระทบให้โครงสร้างหลักของอาคารในกรุงเทพฯ ได้รับความเสียหาย จึงขอให้ประชาชนสบายใจได้ ซึ่งปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารต้านแผ่นดินไหว ปี 2564 ซึ่งกำหนดให้อาคารต้องออกแบบต้านแรงแผ่นดินไหวได้ โดยครอบคลุมจังหวัดในภาคเหนือ และพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 43 จังหวัดทั่วประเทศ

สำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนี้ ประชาชนยังไม่ต้องตื่นตระหนก แต่ก็ควรเตรียมความพร้อมรับมือสำหรับแผ่นดินไหวในอนาคตที่อาจจะมีขนาดใหญ่กว่านี้ หรือเกิดขึ้นใกล้กว่านี้ได้ และไม่ว่าจะเกิดจากรอยเลื่อนในประเทศหรือนอกประเทศก็ตาม ทั้ง่นี้มาตรการในการรับมือแผ่นดินไหวที่ดีที่สุดคือการทำให้โครงสร้างอาคารแข็งแรง เนื่องจากแผ่นดินไหวยังไม่สามารถแจ้งเตือนล่วงหน้าได้ โดยการออกแบบและก่อสร้างอาคารใหม่ให้ต้านแผ่นดินไหว และเสริมกำลังอาคารเก่าให้รองรับแผ่นดินไหวในอนาคตได้. -สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ลอบสังหาร นายกรัฐมนตรีสโลวาเกีย อาการสาหัส

นายกรัฐมนตรี โรเบิร์ต ฟิโก ของสโลวาเกีย ถูกลอบยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสระหว่างพบปะประชาชน อยู่ระหว่างเข้ารับการผ่าตัด อาการเป็นตายเท่ากัน ส่วนมือปืนถูกรวบตัวได้ในที่เกิดเหตุ

จับแผงทุเรียนโกงตาชั่ง! แม่ค้าซึมคุก 7 ปี ปรับ 2.8 แสน

โป๊ะแตก! ซื้อทุเรียนจากแผงริมถนน 2 ลูก น้ำหนัก 16 กก. หวังส่งให้แม่กิน แต่พอไปใช้บริการบริษัทขนส่ง ชั่งน้ำหนักจริงแค่ 11 กก. แจ้งเจ้าหน้าที่บุกจับกุม โทษสูงสุด จำคุก 7 ปี ปรับ 2.8 แสน

รวบแล้วมือยิง “ดาบตำรวจ-เมียท้อง” ดับคารถกระบะ

คดีฆ่าโหด “ดาบตำรวจสกล” และภรรยาชาวลาว ซึ่งตั้งครรภ์ 6 เดือน เสียชีวิตภายในรถกลางไร่มันสำปะหลัง ล่าสุดตำรวจจับกุมตัวทีมฆ่าได้ทั้งหมดแล้ว

ข่าวแนะนำ

“คาฟู-ฟิโก-เชฟเชนโก” ร่วมฟาดแข้งแมตช์พิเศษ

ฟุตบอลทัวร์นาเมนต์พิเศษ รายการ FIFA Delegation Football Tournament ที่ราชกรีฑาสโมสร มีเหล่านักเตะระดับตำนานที่เดินทางมาประเทศไทย ร่วมฟาดแข้ง

นายกฯ หารือทวิภาคี ปธน.ฝรั่งเศส

นายกฯ เข้าพบหารือทวิภาคีกับ ปธน.ฝรั่งเศส ขณะที่ “เอมานูว์แอล มาครง“ รอต้อนรับและทักทายอย่างเป็นกันเอง ก่อนร่วมงานเลี้ยงอาหารกลางวัน

แจ้ง 3 สาเหตุเบื้องต้น “บุ้ง” เสียชีวิต

ทนายกฤษฎางค์ เผย รพ.ธรรมศาสตร์ แจ้ง 3 สาเหตุเบื้องต้น “บุ้ง” เสียชีวิต “ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน-ภาวะสมดุลเกลือแร่ผิดปกติ-หัวใจโต”