สธ.ประสานเฝ้าระวังควบคุมไข้หวัดใหญ่ในโรงเรียน เรือนจำ ค่ายทหาร

21 ก.ย. – รมว.สาธารณสุข ห่วงไข้หวัดใหญ่ ยังมีอุบัติการณ์สูง พบป่วยแล้ว 1.5 แสนราย ประสานความร่วมมือเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค ทั้งในโรงเรียน เรือนจำ ค่ายทหาร ส่วน “ไข้เลือดออก” การระบาดเริ่มชะลอตัว มีผู้ป่วยแล้ว 9.1 หมื่นราย เสียชีวิต 93 ราย พบอัตราป่วยสูงในกลุ่มเด็ก แต่อัตราป่วยตายสูงในผู้ใหญ่ เตือนมีไข้สูงเกิน 2 วัน ให้รีบไปพบแพทย์


นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้รับรายงานสถานการณ์โรคสำคัญที่กำลังมีการระบาดในขณะนี้ 2 โรค คือ โรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้น โดยข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-9 กันยายน 2566 มีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่จำนวน 154,829 ราย อัตราป่วยคิดเป็น 233.95 ต่อประชากรแสนคน มีผู้เสียชีวิต 3 ราย อัตราป่วยตายอยู่ที่ร้อยละ 0.001 ทั้งนี้ หลังจากมีการประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวัง ประชาชนผ่อนคลายเรื่องการสวมหน้ากากอนามัยลง พบว่าอัตราการติดเชื้อโรคระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่ที่มีผู้ป่วยมากกว่าปีที่ผ่านมาถึง 3 เท่า กระทรวงสาธารณสุขได้รณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ในผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่ม โรคอ้วน หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป พร้อมทั้งกำหนดมาตรการและประสานความร่วมมือในการป้องกันควบคุมโรค โดยมีหนังสือถึงนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และปลัดกระทรวงศึกษาธิการ แจ้งแนวทางและขอความร่วมมือในการเตรียมความพร้อม เฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ทั้งในโรงเรียน สถานศึกษา เรือนจำ ทัณฑสถาน สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ค่ายทหาร

นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า อีกโรคที่มีการระบาดคือ ไข้เลือดออก ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 13 กันยายน 2566 มีผู้ป่วย 91,979 ราย อัตราป่วย 139.09 ต่อประชากรแสนคน ผู้เสียชีวิต 93 ราย จาก 44 จังหวัด อัตราป่วยตายอยู่ที่ร้อยละ 0.1 โดยพื้นที่อัตราป่วยสูง ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ประเด็นสำคัญคือ พบอัตราป่วยสูงในเด็กอายุ 5-14 ปี และกลุ่มอายุ 15-24 ปี แต่อัตราป่วยตายกลับสูงในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 55-64 ปี อัตราป่วยตายสูงสุด ร้อยละ 0.21 รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 25-34 ปี อัตราป่วยตายร้อยละ 0.17 ภาพรวมสรุปได้ว่าผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ที่เป็นไข้เลือดออกจะมีความเสี่ยงเสียชีวิตมากกว่าเด็ก 2-3 เท่า เนื่องจากส่วนใหญ่เมื่อป่วยมักไปพบแพทย์และได้รับการรักษาช้าเกินไป ดังนั้น หากมีไข้ รับประทานยา 2 วันแล้วไม่ดีขึ้น ขอให้รีบไปพบแพทย์ ที่สำคัญ ห้ามซื้อยาชุด ไอบูโพรเฟน แอสไพริน หรือยากลุ่มเอ็นเสดมารับประทานเด็ดขาด


“สถานการณ์โรคไข้เลือดของประเทศไทยในปีนี้ค่อนข้างสูง และขณะนี้การระบาดเริ่มชะลอตัว แต่ยังพบผู้ป่วยต่อเนื่องในบางจังหวัด มาตรการป้องกันควบคุมโรคที่ดีที่สุด คือ การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ควบคู่ไปกับการกำจัดยุงตัวแก่ในพื้นที่ระบาด และป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ใช้กลไกคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด เพิ่มความร่วมมือในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่และสถานที่เสี่ยง เช่น โรงเรียน วัด ชุมชน และโรงงาน” นพ.ชลน่าน กล่าว. -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ชายวัย 50 ไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องเมียท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากตึก สตง.

ชายวัย 50 ปี ยกมือไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องภรรยาท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากอาคาร สตง.ถล่ม ด้านรอง ผบช.น. เตือนอย่าใช้โอกาสที่มีผู้ประสบเหตุสร้างความสงสารหลอกเอาทรัพย์สิน มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่ม พบไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น

ผลตรวจตัวอย่างเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว พบได้มาตรฐาน 15 ชิ้น ไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น ยังไม่สรุปเป็นสาเหตุตึกถล่ม ชี้ต้องดูหลายองค์ประกอบ

ข่าวแนะนำ

เริ่มใช้เครื่องจักรหนักเปิดซากอาคาร สตง.ถล่ม

102 ชั่วโมงแล้ว สำหรับปฏิบัติการค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุอาคาร สตง.ถล่ม หน่วยกู้ภัยจากนานาชาติให้ความหวังว่ายังมีโอกาสเจอผู้รอดชีวิต ทำให้การค้นหาวันนี้ต้องแข่งกับเวลาอย่างเต็มที่

ทองไทยนิวไฮต่อเนื่อง ปิดตลาดเพิ่มขึ้น 550 บาท

ทองคำไทยผันผวนหนัก ปรับเปลี่ยน 18 ครั้ง ก่อนปิดตลาดปรับเพิ่ม 550 บาท ระหว่างวันขึ้นไปแตะนิวไฮ ทองคำแท่งขายออก 50,700 บาท ทองรูปพรรณขายออก 51,500 บาท ขึ้นไปต่อเนื่อง