กทม.วางมาตรการเข้มด้านความปลอดภัยโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ในพื้นที่

กรุงเทพฯ 14 ก.ค. – ผู้ว่าฯ กทม. ประชุมวางมาตรการเข้มด้านความปลอดภัยการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่ถนนสาธารณะของ กทม.


(14 ก.ค.66) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมมาตรการความปลอดภัยการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่ถนนสาธารณะของกรุงเทมหานคร โดยมีนายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสำนักการโยธา ผู้แทนและผู้รับเหมาโครงการก่อสร้างของสำนักการโยธา ร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 110AB ชั้น 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า วันนี้ได้เชิญผู้รับเหมาที่ทำโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของสำนักการโยธา ซึ่งมีทั้งโครงการก่อสร้างถนน สะพานข้ามแยก ทางลอด ทางยกระดับ โรงพยาบาล อาคารสำนักงานเขต สถานีดับเพลิง มีทั้งหมด 42 ราย แต่ว่ามา 38 ราย ที่สำคัญเราเองมองว่า ผู้รับเหมาเปรียบเหมือนเป็นเพื่อนร่วมงานสำคัญในการสร้างความเจริญให้กับกรุงเทพมหานคร ที่ผ่านมาผู้รับเหมาเองก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ว่ามีเหตุการณ์ทางยกระดับเกิดขึ้นที่ลาดกระบัง ก็เลยไม่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน ซึ่งไม่ได้มองว่าเป็นบริษัทไหน แต่มองว่าเป็นงานของกรุงเทพมหานคร เพราะฉะนั้นเราต้องร่วมมือร่วมใจกัน ในการสร้างความไว้วางใจให้กับประชาชน เราก็เหมือนร่วมทีมเดียวกัน ต้องช่วยเหลือกัน ในขั้นแรกเลยให้ทุกทีมกลับไปทบทวนมาตรการความปลอดภัยโครงการทั้งหมดของตัวเอง ทั้งในส่วนของสำนักการโยธา ผู้ควบคุมงาน ผู้รับเหมา ให้ทบทวนมาตรการทั้งหมด เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีช่องว่าง ไม่มีจุดโหว่ต่างๆ


ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวอีกว่า ที่เราเน้นมากที่สุดในเรื่องแรก คือ เรื่องความปลอดภัย ทั้งในแง่ของความปลอดภัยในการก่อสร้าง ความปลอดภัยของผู้สัญจรไปมา เช่น ฝาท่อระบายน้ำที่เปิด คูน้ำที่ไม่มีตัวกั้น ไฟฟ้าส่องสว่างตอนกลางคืน ต้องไปทบทวนทั้งระบบ เรื่องที่ 2 คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม การควบคุมฝุ่น PM 2.5 เรื่องของตกหล่นที่ตกจากรถ โดยใช้ Traffy Fondue เป็นตัวช่วยในการหาข้อบกพร่อง ในส่วนของประชาชนก็จะช่วยเป็นหูเป็นตาให้เรา ที่แจ้งเข้ามาเป็นเรื่องความสะอาดเรียบร้อย เรื่องฝุ่น PM 2.5 เรื่องสิ่งของตกหล่น เรื่องที่ 3 การจัดการจราจร ซึ่งก็เป็นปัญหาสำคัญ ที่ผ่านมาผู้รับเหมาไปเน้นในเรื่องพื้นที่การก่อสร้าง แต่ไม่คืนพื้นที่ให้ กลับไปเอาสิ่งของมากองไว้ เอารถมาจอดในพื้นที่สาธารณะ แบบนี้คงไม่ได้ ต้องไปหาที่อื่น แล้วคืนพื้นที่ทางเท้าให้แก่ประชาชนโดยเร็วที่สุด

เรื่องที่ 4 เรื่องการระบายน้ำ มีสิ่งของที่กองไว้เข้าไปอุดตันอยู่ในท่อระบายน้ำ หรือาการตัดท่อที่ก่อสร้าง มีการอุดท่อไว้แล้วไม่ได้ต่อกลับคืน เวลาฝนตกจึงก่อให้เกิดปัญหาในการระบายน้ำ ก็ต้องไปทบทวนแก้ไขให้เรียบร้อย เรื่องที่ 5 การใช้รถบรรทุกพ่วงที่มีการแบกน้ำหนักเกิน หรือไม่ก็ปล่อยควันพิษ ที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้มีการติดตั้งระบบตรวจสอบน้ำหนักอัตโนมัติ จะทำให้ทราบว่า รถบรรทุกที่ผ่านมามีน้ำหนักเท่าไหร่ รถบรรทุกที่น้ำหนักเกินจะส่งผลกระทบไปยังโครงสร้างของถนน ก่อให้เกิดความเสียหาย ซึ่งเรื่องนี้เป็นการนำร่อง ในอนาคตกระจายไปทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานคร เรื่องที่ 6 เรื่องการจ้างผู้รับเหมาช่วง ซึ่งตามหลักแล้วเราจะไม่อนุญาตให้จ้างผู้รับเหมาช่วง จริงๆ แล้วถ้าจะจ้างต้องขออนุญาตให้เป็นไปตามสัญญา ถ้าไปได้ผู้รับเหมาช่วงที่ไม่ดี คุณภาพก็ไม่ดีด้วย สุดท้ายถ้าเกิดเหตุ ผู้รับเหมาหลักก็ต้องรับผิดชอบ

เรื่องสุดท้าย เป็นเรื่องที่เราจะจัดทีมเพื่อตรวจสอบงานโครงการต่างๆ ทุกไซต์งาน ซึ่งจะเป็นผู้บริหารทั้งหมดให้ลงพื้นที่ตลอด ไม่ต้องบอกล่วงหน้าให้ไปตรวจ ให้มีทีมงานไปเช็กไปตรวจสอบว่ามีมาตรการต่างๆ ได้ทำไปตามสัญญาที่ตกลงไว้หรือเปล่า ถ้ามีการละเลยก็ต้องหยุดการก่อสร้าง ต้องเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้ ถ้ามีเวลาก็ขอให้ลงพื้นที่ตลอด ขอความร่วมมือให้เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุด เพื่อให้ดูแลอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่ากรมบัญชีกลางไม่มีการเตือนในเรื่องนี้ ต่อไปเราจะพยายามหาวิธีการข้อบัญญัติ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ประชาชนได้รับความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด


“ในอนาคต 3 เรื่องที่เราจะออกมาใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้รับเหมาด้วย คือ เรื่องแรก อุบัติเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายกับชีวิตประชาชน ผู้รับเหมารายไหนทำให้เกิดเหตุรุนแรงและเกิดความเสียหาย จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่เราไม่อยากจ้าง เรื่องต่อมา การทำงานล่าช้า ก็เป็นเกณฑ์ที่เราไม่อยากจ้าง เพราะทำให้ประชาชนเดินทางยากขึ้น เรื่องสุดท้าย การก่อสร้างที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่น PM 2.5 รถบรรทุกปล่อยควันดำ รถบรรทุกน้ำหนักเกิน หรือทำสิ่งของตกหล่น ซึ่งเราจะบันทึกข้อมูลไว้ ในอนาคตจะมีมาตรการที่อยู่ในกรอบ แต่เราคงทำเกินกรอบกฎหมายไม่ได้ ซึ่งเราเป็นตัวแทนประชาชน จะต้องทำให้ประชาชนได้ผู้รับเหมาที่มีคุณภาพ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน สุดท้ายแล้วทุกคนที่มาในวันนี้ ถือว่าเราเป็นทีมเดียวกัน ก็ต้องร่วมมือกันทำงานให้กับประชาชน” ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวในตอนท้าย. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

มติกฤษฎีกา “กิตติรัตน์” คุณสมบัติไม่ผ่านนั่งประธานบอร์ด ธปท.

คณะกรรมการกฤษฎีกา 3 คณะ มีมติไม่ผ่านคุณสมบัติ “กิตติรัตน์ ณ ระนอง” เป็นประธานบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทย

เครื่องบินโดยสาร อาเซอร์ไบจาน แอร์ไลน์ ตกในคาซัคสถาน

เครื่องบินโดยสารเอ็มบราเออร์ ของสายการบินอาเซอร์ไบจาน แอร์ไลน์ ที่บินจากอาเซอร์ไบจาน ไปยังประเทศรัสเซีย เกิดอุบัติเหตุตกที่บริเวณใกล้กับเมืองอัคเทา ในคาซัคสถาน โดยมีผู้โดยสาร 62 คน และลูกเรือ 5 คน บนเครื่อง เจ้าหน้าที่คาซัคสถานกล่าวว่า มีผู้รอดชีวิต 28 ราย