อากาศนิ่งตลอดสัปดาห์ เตรียมหน้ากากป้องกันฝุ่น

กรุงเทพฯ 16 ม.ค. – ผู้ว่าฯ กทม.ตรวจเยี่ยมศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร เตือนอากาศนิ่งตลอดสัปดาห์นี้ แนะเตรียมหน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5 พร้อมดูแลสวนเบญจกิติให้เป็นปอดของคนกรุงฯ   


นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตรวจเยี่ยมศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า วันนี้เห็นจากบนยอดตึกพบสภาพอากาศของกรุงเทพฯ มีหมอก จึงมาตรวจเยี่ยมศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร พบว่าในหมอกดังกล่าวมีฝุ่นสะสมค่าเฉลี่ย PM2.5 เฉลี่ยอยู่ที่ 30 มคก./ลบ.ม. โดยมาตรฐานที่ทั่วโลกใช้เป็นค่าเฉลี่ยของทั้งวัน(24 ชม.) ที่ไม่เกิดอันตรายต่อสุขภาพจะอยู่ที่ 50 มคก./ลบ.ม. โดยกทม.มีสถานีตรวจวัดค่า PM2.5 อยู่ 70 สถานีทั่วกรุงเทพ และขณะนี้ไม่มีจุดฮอตสปอต (จุดที่เผาชีวมวล) แต่เห็นฮอตสปอตแถวกัมพูชาเยอะขึ้น อาจต้องมีการพูดคุยกับกระทรวงต่างประเทศเพื่อประสานความร่วมมือ แต่ในกรุงเทพฯ กวดขันหากมีฮอตสปอตจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดู ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันไม่ได้แย่มาก ที่กังวลจะเป็นช่วงวันที่ 16–17 ม.ค.นี้ อากาศจะนิ่ง และวันที่ 19 – 22  ม.ค.ควรเตรียมพร้อมใส่หน้ากาก N95 หรือหน้ากากอนามัย

ปัจจุบันอาจมีความเข้าใจสับสนระหว่างค่า AQI กับ PM2.5 ที่มีความแตกต่างกัน โดย AQI เป็นค่าดัชนีสภาพอากาศที่เทียบสี เพื่อให้เข้าใจง่าย ซึ่งวัดค่าจาก 6 อย่างมาเฉลี่ยกัน คือ PM2.5, PM10 คาร์บอนมอนอกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ และโอโซนชั้นผืนดิน โดย AQI ใช้การคำนวณไม่ได้วัดค่าโดยตรง อีกแอปฯ หนึ่ง คือ AirVisual จะใช้เซ็นเซอร์ส่งข้อมูลเข้ามาโดยวัดเฉลี่ยต่อ 1 ชั่วโมง ในขณะที่แอปฯ Airbkk ที่กทม. และการรายงานของกรมควบคุมมลพิษใช้เป็นค่าเทียบอิงกับมาตรฐานโลกจะอ้างอิงที่ 24 ชั่วโมง ซึ่งค่าอาจจะต่างกัน ดังนั้น ควรแยกให้ออกและทำความเข้าใจข้อมูลระหว่าง AQI กับ PM2.5 


ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร ให้คำปรึกษา แนะนำ วางแผน หรือแก้ไขปัญหาแก่หน่วยงานปฏิบัติ รวมถึงการติดตาม รวบรวมข้อมูลสถานการณ์คุณภาพอากาศ และผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นประจำทุกวัน พร้อมช่องทางการแจ้งเตือนการคาดการณ์และสถานการณ์ฝุ่นละอองให้ประชาชนรับทราบแบบเรียลไทม์ พร้อมรายงานข้อมูลและให้คำแนะนำแก่ประชาชนในการป้องกันตนเองจากฝุ่นละออง PM2.5 ผ่านช่องทางต่าง ๆ ประกอบด้วย แอปพลิเคชัน AirBKK ที่สามารถพยากรณ์ค่าฝุ่น PM2.5 ได้ล่วงหน้า 3 วัน แสดงแผนที่แสดงค่าฝุ่น PM2.5 ทั้ง 50 เขต แนะนำความรู้เกี่ยวกับดัชนีคุณภาพ AQI พร้อมข่าวสารกิจกรรมเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองของสำนักงานเขต หรือเว็บไซต์ www.bangkokairquality.com,  www.pr-bangkok.com รวมถึงเว็บไซต์ของกรมควบคุมมลพิษ http://air4thai.pcd.go.th/ เฟซบุ๊ก : สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร, กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพมหานคร หากใครพบเห็นต้นตอของฝุ่นหรือแหล่งกำเนิดมลพิษสามารถถ่ายรูปแจ้งเบาะแส ผ่านทาง Traffy Fondue กทม.จะไปช่วยกันแก้ปัญหาจากความร่วมมือของประชาชน

ในส่วนของสวนเบญจกิติ กทม.ไม่ได้ละเลย มี Outsource บริษัทเอกชน ซึ่งมีการออกแบบอย่างละเอียดมากเหมือนศูนย์การเรียนรู้ที่ไม่เหมือนสนามกอล์ฟซึ่งเขียวตลอดเวลา โดยสวนดังกล่าวทางกรมการทหารช่างราชบุรีเป็นผู้ก่อสร้าง ซึ่งมีความรวดเร็วและคุณภาพดี ทาง กทม.ได้มีการหารือกันอยู่ตลอดเกี่ยวกับการหาแหล่งน้ำถาวร โดยเฉพาะหน้าแล้งที่กำลังมาถึงนี้ได้มีการวางแผนระยะยาว ซึ่งสวนนี้กทม.ดูแลไม่ต่างจากสวนอื่นเป็นสวนที่รับมาใหม่ เป็นแนวคิดใหม่ บางอย่างต้องเรียนรู้ร่วมกันไป ทั้งผู้ออกแบบ ผู้ก่อสร้าง คนดูแลที่เรารับคนสวนมา และมีการวางแผนระยะยาวหลายหน่วยงาน อาทิ สำนักการระบายน้ำ สำนักสิ่งแวดล้อม กรมธนารักษ์ที่เป็นเจ้าของสวนฯและบริษัทเอกชน รวมถึงการตรวจคุณภาพน้ำและอุปกรณ์จัดการสวน ขอบคุณทุกท่านที่เป็นกังวล ส่วนเรื่องโครงการอื่น ๆ ยังมีการดำเนินการต่อไม่ได้ยกเลิก กทม.ลุยตลอดและพยายามทำอย่างเต็มที่.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

“ไฮโซกำมะลอ” กระโดดชั้น 3 สน.โคกคราม

“ไฮโซเก๊” โลก 2 ใบ เครียดปีนตึก หลังถูก “คะน้า” ดาราสาว ออกมาแฉกลางรายการดัง จนตำรวจต้องเข้าเกลี้ยกล่อมพาไปโรงพัก แต่ยังวิ่งหนีการควบคุม กระโดดลงมาจากชั้น 3 สน.โครกคราม บาดเจ็บ

วันที่ 11 ปฏิบัติการกู้ซากตึก สตง. ถล่ม

วันที่ 11 ของปฏิบัติการกู้ซากตึก สตง. พังถล่ม เจ้าหน้าที่เดินหน้าใช้เครื่องจักรหนักเข้า เคลียร์ซากต่อเนื่อง โดยเฉพาะโซนบี และซี ที่คาดว่าเป็นจุดที่มีผู้ติดค้างอยู่จำนวนมาก

ชุดค้นหาลงโพรงโซน B, C ลึก 5-6 เมตร ได้กลิ่นแรง ไม่พบผู้สูญหาย

“กู้ภัย” เผยเจาะโพรงพื้นที่โซน B และ C ได้แล้ว พร้อมส่งชุดค้นหาลงโพรงไปตรวจสอบลึก 5-6 เมตร ยังไม่พบผู้สูญหายเพิ่ม แต่ได้กลิ่นแรง เร่งเดินหน้าเครื่องจักรหนักเคลียร์ซากต่อเนื่อง ยันจะช่วยเหลือจนกว่านำร่างสุดท้ายออกมาครบ