หัตถกรรมจักสานเตยทะเล หนึ่งเดียวที่นราฯ

นราธิวาส 29 ส.ค. – หนึ่งเดียวที่นราฯ กลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านค่าย แปรรูป “เตยทะเล” เป็นงานหัตถกรรมจักสาน นำลวดลายศิลปะลังกาสุกะเป็นอัตลักษณ์ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์


กลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านค่าย หมู่ 2 ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส เป็นหนึ่งในโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่มีนายโสภณ อีแมลอดิง อายุ 78 ปี เป็นประธาน มีแนวคิดนำสมาชิกกว่า 20 คน พัฒนาผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรมจักสาน ด้วยการนำต้นเตยปาหนัน หรือต้นลำเจียก ที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จักกันในนาม “เตยทะเล” ซึ่งเป็นพืชตระกูลปาล์ม เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยเฉพาะริมทะเล มีพุ่มเป็นกอขนาดกลาง สีเขียว มีหนามที่ริมใบ ลักษณะคล้ายใบเตยหอมที่นำมาทำขนม

นายโสภณ เล็งเห็นว่า ในพื้นที่มีต้นเตยปาหนัน หรือ เตยทะเล ขึ้นตามชายหาดและริมทะเลเป็นจำนวนมาก น่าจะนำมาแปรรูปเป็นงานหัตถกรรมจักสาน เพราะกอหรือพุ่มที่ใบเหี่ยว เมื่อแห้งจะเป็นสีเทา มีลักษณะสีสันสวยงาม หากนำมาจักสาน ผสมผสานกับใบกระจูดหรือใบลาน ที่กลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านค่าย ดำเนินกิจการอยู่แล้ว น่าจะเป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ได้ดี ทางกลุ่มฯ จึงทดลองนำใบเตยทะเลมาแปรรูป จนประสบความสำเร็จ ถือเป็นกลุ่มพัฒนาอาชีพหนึ่งเดียวในนราธิวาส ที่นำต้นเตยปาหนัน หรือ เตยทะเล มาแปรรูปจนสามารถจักสานชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์ ร่วมกับต้นกระจูดและใบลานได้อย่างลงตัว


สำหรับกรรมวิธีการแปรรูปต้นเตยปาหนัน หรือ เตยทะเล จนสามารถนำมาจักสานผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ ได้นั้น มีหลายขั้นตอน เริ่มจากเลือกใบที่มีสีเขียวเข้ม แล้วเอามีดปาดส่วนที่เป็นส้นใบและหนามริมใบทั้ง 2 ข้างออก จากนั้นใช้มีดที่ทำขึ้นมาเป็นพิเศษ มีคมมีด 3 อัน ซึ่งมีขนาดแต่ละช่องของคมมีดเท่าๆ กัน กรีดไปที่ใบของเตยปาหนัน หรือ เตยทะเล ซึ่ง 1 ใบ จะได้ขนาดเท่าๆ กันเพียง 4 ชิ้นเท่านั้น เมื่อได้แล้วก็นำมาต้มในน้ำเดือดประมาณ 10 นาที จากนั้นตากแดดให้แห้ง แล้วนำมารีดให้แต่ละเส้นเรียบ ก่อนจะนำไปจักสานเป็นชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์ตามต้องการ โดยกลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านค่าย นิยมนำไปจักสานผสมผสานกับใบกระจูดและใบลาน เนื่องจากให้สีสันที่สวยงาม และเมื่อจักสานเป็นลวดลายต่างๆ ชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ ก็จะมีความสวยงามโดดเด่นกว่าชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์ที่สานเฉพาะกระจูดหรือใบลาน

ส่วนการผลิตชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ภายในกลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านค่าย ก็ไม่แตกต่างกับการตัดเย็บเสื้อผ้าทั่วไป คือ ชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์จะต้องมีการออกแบบรูปทรง เขียนแบบลงในกระดาษ แล้วตัดมาทาบกับชิ้นงานที่จักสานแล้วเสร็จ จากนั้นนำไปเย็บกับจักรอุตสาหกรรม ถ้าใส่ลวดลายต่างๆ ก็นำลวดลายนั้นๆ ไปพร้อมในขั้นนี้เลย ซึ่งทางกลุ่มฯ จะนำลวดลายลังกาสุกะ หรือจะพบเห็นกันทั่วไปที่เขานิยมปักลงในหมวกกะปิเยาะห์ ที่ผู้ชายนับถืออิสลามนิยมสวมใส่กันทั่วไปในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งทางกลุ่มฯ ต้องการแสดงออกถึงอัตลักษณ์วัฒนธรรมของชายแดนใต้ ในการสืบทอดให้ลูกหลานรุ่นหลังได้เห็น

ผลิตภัณฑ์ที่กลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านค่าย มีหลายรูปแบบ ทั้งกระเป๋าใส่เสื้อผ้า กระเป๋านักเรียน กระเป๋าถือ กล่องใส่กระดาษทิชชู พวงกุญแจ กระเป๋าสตางค์ ของชำร่วย และรูปแบบต่างๆ ที่ลูกค้าสั่งทำ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายจะมีด้วยกัน 3 ส่วน คือ 1. ส่งไปยังร้านภูฟ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริ ที่ช่วยเหลือส่งเสริมอาชีพประชาชนในถิ่นทุรกันดาร 2. ส่งให้ตัวแทนจำหน่ายในประเทศมาเลเซีย และ 3. ลูกค้าขาจรที่มาซื้อและสั่งทำ ซึ่งมีราคาตั้งแต่ชิ้นละ 50-600 บาท ส่วนราคาที่ลูกค้าสั่งทำเป็นพิเศษ จะจำหน่ายชิ้นละ 1,200 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดและรูปแบบ


นายโสภณ ประธานกลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านค่าย กล่าวว่า ตนเองทำมาตั้งแต่ปี 2554 ส่วนใหญ่สินค้าส่งร้านภูฟ้า ซึ่งเป็นโครงการพระราชดำริ มีตั้งแต่ราคา 50 บาท แพงสุด 500-600 บาท มีการปักลวดลายลังกาสุกะ กำลังส่งเสริมแพร่หลายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีเอกลักษณ์ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สนใจติดต่อสั่งซื้อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 080 5169098 หรือทางเฟซบุ๊ก กลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านค่าย จ.นราธิวาส. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ฉายาสภาปี67

ฉายาสภาปี 67 สส. “เหลี่ยม(จน)ชิน” ด้าน วุฒิสภา “เนวิ(น)เกเตอร์”

สื่อสภาตั้งฉายาปี 67 สส. “เหลี่ยม(จน)ชิน” ด้านวุฒิสภา “เนวิ(น)เกเตอร์” ส่วน “วันนอร์” รูทีนตีนตุ๊กแก ประธานวุฒิฯ “ล็อกมง” ส่วนผู้นำฝ่ายค้านฯ “เท้งเต้ง”

มติกฤษฎีกา “กิตติรัตน์” คุณสมบัติไม่ผ่านนั่งประธานบอร์ด ธปท.

คณะกรรมการกฤษฎีกา 3 คณะ มีมติไม่ผ่านคุณสมบัติ “กิตติรัตน์ ณ ระนอง” เป็นประธานบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทย