คนกรุงเทพฯ ยังเทใจให้ “ชัชชาติ”


สถาบันพระปกเกล้า 11 พ.ค.- สถาบันพระปกเกล้าฯ เผย โพล พบชาว กทม. ยังเทให้ “ชัชชาติ“ เป็นอันดับหนึ่ง รองลงมายังไม่ตัดสินใจลงคะแนน เชื่อมีการซื้อเสียง กว่า 93%ตั้งใจไปใช้สิทธิ์แน่นอน



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถาบันพระปกเกล้า จัดการแถลงผลสำรวจความคิดเห็นและพฤติกรรมของประชาชนต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร 2565 โดยนางถวิลวดี บุรีกุล ผู้อำนวยการสำนักวิจัย และพัฒนาสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่าจากการสำรวจประชาชน 1,038 คน เป็นผู้ตอบแบบสำรวจที่เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 702 คน โดยเป็นผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกถึง 79.8% และเป็นผู้ที่ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง 336 คน ในประเด็นความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.และ ส.ก. 2565 พบว่า ประชาชนไม่ทราบจำนวนบัตรเลือกตั้งวันที่ 22 พฤษภาคมถึง 30.1% รองลงมาคือไม่ทราบระยะเวลาในการลงคะแนนเสียง 51.3% ไม่ทราบบทบาทหน้าที่ของผู้ว่าฯ กทม. 36.2% ไม่ทราบบทบาท ส.ก. 35.5% และไม่ทราบจำนวนของ ส.ก. 58%


สำหรับผลการสำรวจการตัดสินใจในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง พบว่าประชาชนเลือก นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ 42.4% รองลงมาคือนายสุชัชร์ สุวรรณสวัสดิ์ 12% พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง 6.7% นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร 5.7% นายสกลธี ภัททิยะกุล 5.7% น.ส.รสนา โตสิตระกูล 2.7% นายโฆสิต สุวินิจจิต 2.3% ยังไม่ได้ตัดสินใจมีจำนวน 18.2% และไม่ประสงค์ลงคะแนน 2%



สำหรับความเห็นของผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง หากเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.จะเลือกใครนั้นพบว่า อันดับหนึ่งยังคงเทคะแนนให้นายชัชชาติ 52.9% รองลงมานายวิโรจน์ 10.8% นายสุชัชวีร์ 10.5% พล.ต.อ.อัศวิน 6% นายสกลธี 3% น.ส.รสนา 3% น.ต.ศิธา 1.2% ยังไม่ได้ตัดสินใจ 7.5% และไม่ประสงค์ลงคะแนน


นายถวิลวดี กล่าวว่า ปัจจัยในการเลือกผู้ว่าฯ กทม. อันดับหนึ่งคือนโยบายของผู้สมัคร 62.3% รองลงมาคือประสบการณ์การทำงานของผู้สมัคร 48.9% และการพูดจริงทำจริง จริงใจใสการแก้ไขปัญหา 29.9% สำหรับประเด็นที่ประชาชนอยากให้ผู้ว่าฯ กทม.ดำเนินการอันดับหนึ่งคือ การขนส่งสาธารณะและการจราจร 66.4% การจัดการสิ่งแวดล้อม ความสะอาด และพื้นที่สีเขียว 64.2% ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 52.5% ปัญหาน้ำท่วมขัง 45.4% และระบบสาธารณสุข และสุขอนามัย 41.7%


ในส่วนของความเชื่อ มั่นใจการเลือกตั้ง พบว่า เชื่อว่าจะมีการซื้อเสียงเลือกตั้ง 71.9% รองลงมาคือ เชื่อว่า กกต.จะสามารถจัดการเลือกตั้งได้อย่างสุจริต โปร่งใส และเที่ยงธรรม 49.1% นอกจากนี้ผลสำรวจความตระหนัก ความสนใจ และความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งพบว่า ไปเลือกตั้งแน่นอน 93.6% รองลงมาคือระบุชื่อผู้สมัครผู้ว่า กทม.ได้อย่างน้อย 5 คน 82.5% และทราบว่าคูหาเลือกตั้งอยู่ที่ใด 85.2%



ด้านนายสติธร ธนานิธิโชติ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า กล่าวถึงผลการสำรวจในครั้งนี้ว่า ผลสำรวจในครั้งนี้ให้ความสำคัญของผู้ที่ไม่มีสิทธิ์เลือกตั้งด้วย ซึ่งจากประชากรที่มีสิทธิเลือกตั้งได้มี 4.3 ล้านคน ซึ่งความเป็นจริงแล้วประชากรในกรุงเทพฯมีมากกว่านี้ ซึ่งผลสำรวจครั้งนี้นำความคิดเห็นของประชากรที่ไม่มีเสียงเลือกตั้งเข้ามาด้วย ซึ่งข้อมูลตรงนี้จะมีประโยชน์กับผู้สมัครหรือผู้ที่มีโอกาสที่จะเข้ามาเป็นผู้ว่าจะต้องนำไปใช้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

นายกฯ เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัยตึก สตง.ถล่ม

นายกรัฐมนตรี เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัย ค้นหาผู้สูญหายเหตุตึก สตง.ถล่ม พร้อมสอบถามถึงอุปสรรคในการทำงานและความต้องการเพิ่มเติม

ปรับวิธีรายงานยอดผู้เสียชีวิต ให้นิติเวชยืนยันก่อน

รองผู้ว่าฯ กทม. เผยยอดผู้เสียชีวิตเหตุตึกถล่ม ที่ผ่านการพิสูจน์อัตลักษณ์แล้ว อยู่ที่ 16 ราย และอยู่ระหว่างการค้นหาอีก 78 ราย พร้อมแจงปรับวิธีรายงานยอดผู้เสียชีวิต ให้นิติเวชยืนยันก่อน