“จุรินทร์” เผยปุ๋ยแพงเพราะวิกฤติรัสเซีย-ยูเครน

สุราษฎร์ธานี 17 เม.ย.- “จุรินทร์” ควง “สินิตย์” ออนทัวร์สุราษฎร์ ชาวเวียงสระลั่น รายได้ดีขึ้นเพราะประกันรายได้ ย้ำเดินหน้า ปี 3 เผยปุ๋ยแพงเพราะวิกฤติรัสเซีย-ยูเครน ต้องให้สมดุลไม่ขาดแคลนหากค้ากำไรเกินควรดำเนินคดีสูงสุด


วันที่ 17 เมษายน 2565 เวลา 10.00 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน และมอบถุงน้ำใจบรรเทาทุกข์เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยโควิด พร้อมด้วย นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ นางสาวนุสรา กาญจนกูล ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ นายนันทวัช เจริญวรร รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รองผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย นางสาววชิราภรณ์ กาญจนะ ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 3 และนางโสภา กาญจนะ อดีต ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 3 ที่อาคารอเนกประสงค์ โรงเรียนเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ที่ตนมาวันนี้ด้วยการประสานงานของน้องจ๋า (นางสาววชิราภรณ์กาญจนะ ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 3 ) วันนี้ภารกิจสำคัญมาติดตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล ซึ่งเดิมเป็นนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ คือนโยบายประกันรายได้เกษตรกร โดยเฉพาะพืช 5 ชนิด ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมันและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่เกี่ยวกับภาคใต้ส่วนใหญ่มี 2 ตัว คือ ยางกับปาล์ม นโยบายนี้เป็นนโยบายที่ประชาธิปัตย์ต้องการช่วยแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรทั่วประเทศ โดยภาคใต้ลมหายใจอยู่ที่ยางกับปาล์ม ยามที่พืชเกษตรตกต่ำ ชาวสวนยาง สวนปาล์ม จะมีหลักประกัน ยางแผ่นดิบชั้นสามกิโลกรัมละ 60 บาท น้ำยางข้น กิโลกรัมละ 57 บาท ขี้ยางหรือยางก้อนถ้วย กิโลกรัมละ 23 บาท หากราคาต่ำกว่านี้จะมีเงินส่วนต่างโอนเข้าบัญชี ธ.ก.ส.โดยตรง ทำให้มีรายได้ 2 ทาง จากราคาที่ขายในตลาดและส่วนต่างจากรายได้ที่ประกัน ซึ่งเป็นหลักประกันให้คนปักษ์ใต้บ้านเรา วันนี้ปาล์มกิโลกรัมละ 10 บาท หากราคาต่ำกว่า 4 บาท จะมีเงินส่วนต่างจากโครงการประกันรายได้ โอนเข้าบัญชี ธ.ก.ส.โดยตรง เช่นเดียวกัน ซึ่งนโยบายนี้ประชาธิปัตย์เตรียมไว้ดูแลคนปักษ์ใต้บ้านเราและโชคดีที่การเลือกตั้งที่ผ่านมาแม้ได้ผู้แทนไม่มาก แต่เราเอานโยบายประกันรายได้มาเป็นนโยบายรัฐบาล เพราะต้องการช่วยเกษตรกร จึงเดินหน้าช่วยชาวสวนยาง สวนปาล์มมา 2 ปีเต็มวันนี้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 และเดินหน้าต่อไป เฉพาะจังหวัดสุราษฎร์ธานีช่วยเกษตรกรได้ 177,000 คน มีเงินส่วนต่างโอนมาช่วยกว่า 5,000 ล้านบาท แต่ตอนนี้ไม่มีเงินส่วนต่างเพราะราคาปาล์มเกิน 4 บาทและราคาน้ำยางข้นเกิน 57 บาท/กก.แล้ว ยางแผ่นดิบขึ้นไปเกือบ 70 บาท/กก. ขี้ยางก่อนตนเข้ามาเพียงกิโลกรัมละ 10-11 บาท วันนี้กิโลกรัมละ 25-27 บาท ซึ่งเป็นสิ่งที่เราทำไว้กับพี่น้อง ก่อนตนเข้ามาปาล์มกิโลกรัมละ 2 บาทกว่าหลายปี มาถึงวันนี้ ปาล์มกิโลกรัมละ 10 บาทโดยประมาณ เคยขึ้นสูงถึง 12 บาท ซึ่งราคาขึ้นจากมาตรการของการบริหารจัดการของกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรฯ และรัฐบาลที่ช่วยกัน สมัยก่อนมีข่าวว่ามีการลักลอบนำเข้าน้ำมันปาล์มจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในประเทศทำให้ราคาน้ำมันปาล์มในประเทศราคาตก สิ่งหนึ่งที่เราทำคือห้ามนำเข้าน้ำมันปาล์มทางบกเด็ดขาด ให้นำเข้าทางเรือ และเราช่วยสนับสนุนการส่งออก ตนนำเอกชนที่ส่งออกน้ำมันปาล์มไปเปิดตลาดใหญ่ที่ประเทศอินเดีย 2 ครั้ง เป็นตลาดใหญ่ที่มีประชากร 1,000 กว่าล้านคนมาถึงวันนี้ยอดนำเข้าน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้น 400% ทำให้ราคาปาล์มดีขึ้นและมีนโยบายทำน้ำมัน B7 B10 ด้วย


เมื่อเราไปเป็นรัฐบาลก็ช่วยกันทำช่วยกันแก้ปัญหาให้กับพี่น้อง ดีใจกับชาวพี่น้องชาวสวนยาง สวนปาล์มทุกคนรวมทั้งคนปักษ์ใต้บ้านเรา สิ่งที่อยากฝากคือ พืชเกษตรราคาบางครั้งราคาขึ้นกับกลไกตลาดโลก ถ้าวันหนึ่งราคาปาล์ม-ยางเกิดผันผวนเรามีประกันรายได้ช่วยและสำคัญยามนี้ที่ราคาดีขอฝากพี่น้อง ให้เก็บหอมรอมริบไว้บ้างเผื่อยามเกิดอะไรมากกว่านี้ จะได้พอมีเงินออมไว้ให้ลูกหลานหรือใช้ในชีวิตครอบครัวได้ โดยตนไม่ทิ้งพี่น้องเมื่อถึงเวลาก็จะมาช่วยแก้ปัญหา แต่อยากให้ตระหนักไว้นิดหนึ่ง

“เรื่องปุ๋ยแพงซึ่งแพงจริง เพราะปุ๋ยบ้านเรานำเข้า 100% ไม่ได้ผลิตเอง ซึ่งปุ๋ยเคมีนำเข้าราคาแพงทั่วโลก เพราะปุ๋ยทำจากน้ำมัน ซึ่งวันนี้น้ำมันราคาแพงมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตปุ๋ยแพง และการนำเข้าก็ต้องขนส่งเข้ามาก็ต้องใช้น้ำมัน ทำให้ปุ๋ยนำเข้าแพง หลายประเทศผลิตไว้ใช้เองและขายเท่าที่จำเป็นประเทศที่ผลิตมากที่สุดในโลกประเทศหนึ่งคือ รัสเซีย ซึ่งทำสงครามอยู่จึงกระทบไปหมดในเรื่องการนำเข้า กระทรวงพาณิชย์พยายามคุมราคาปุ๋ยอย่าให้ขึ้นจนเป็นการค้ากำไรเกินควร แต่ถ้าต้นทุนแพงจริงจะพิจารณาให้ปรับราคาได้ตามความเป็นจริงป้องกันไม่ให้ผู้นำเข้าขาดทุนและไม่นำเข้าจะมีปัญหาซ้ำซ้อนคือ ปัญหาปุ๋ยขาด ไม่มีปุ๋ยใช้ในประเทศ ต้องแก้ปัญหาให้สมดุลที่สุด หากค้ากำไรเกินควรเราจะดำเนินคดี”รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าว

นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในงานได้มีการมอบถุงน้ำใจบรรเทาทุกข์เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยโควิดจากมูลนิธิหม่อมราชวงศ์เสนีย์ปราโมช ที่นายจุรินทร์เป็นประธานมูลนิธิในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้แก่ตัวแทนเกษตรกรในพื้นที่ด้วย .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นร.หญิง ม.1 จมทะเลดับ หลังโรงเรียนพาไปทัศนศึกษาที่ระยอง

โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.นครราชสีมา พานักเรียนไปทัศนศึกษาที่ จ.ระยอง นักเรียนหญิง ม.1 ถูกคลื่นดูดลงทะเลขณะเล่นน้ำ เสียชีวิต พ่อแม่สุดเศร้าสูญเสียลูกสาวคนเดียวของครอบครัว

น้ำท่วมเชียงใหม่

เชียงใหม่จมบาดาล น้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

น้ำท่วมในตัวเมืองเชียงใหม่ ยังวิกฤติ หลังน้ำในลำน้ำปิงขึ้นสูงสุดทรงตัวสูงกว่า 5.30 เมตร ซึ่งสูงที่สุดตั้งแต่มีการวัดระดับน้ำปิง

น้ำท่วมขนส่งเชียงใหม่กระทบผู้โดยสาร เปิดจุดจอดรับ-ส่งชั่วคราว

น้ำขยายวงกว้างเข้าท่วมสถานีขนส่งเชียงใหม่แห่งที่ 2 และ 3 เต็มพื้นที่ ระดับน้ำสูงเกือบ 50 ซม. ผู้ประกอบการขนส่งต้องนำรถทัวร์โดยสารออกมาจอดรับ-ส่งบนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ยืนยันผู้ประกอบการยังให้บริการตามปกติ

ระทึก! แท็กซี่พลิกคว่ำเกิดเพลิงไหม้ 5 ชีวิตรอดหวุดหวิด

รถแท็กซี่พลิกคว่ำและเกิดเพลิงลุกไหม้กลางถนนพระราม 9 ผู้โดยสารหญิงสติดีถีบประตูช่วยตัวเองและคนอื่นออกมาจากตัวรถรวม 5 ชีวิตได้ทัน แต่ในจำนวนนี้บาดเจ็บสาหัส 1 คน เป็นคนขับแท็กซี่ ตำรวจเร่งสอบสวนหาสาเหตุ

ข่าวแนะนำ

กต.ย้ำมีแผนพร้อมอพยพคนไทยในอิสราเอล-เลบานอน

กต.ประชุมประเมินสถานการณ์อิสราเอล-ฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอน ย้ำมีแผนอพยพพร้อม เผย 5 แรงงานไทยเตรียมเดินทางกลับ แนะประชาชนตัดสินใจก่อนน่านฟ้าปิด

เตรียมตั้ง 7 เตาไฟฟ้า พิธีพระราชทานเพลิงศพ นร.-ครู 23 คน

เตรียมพื้นที่ตั้ง 7 เตาไฟฟ้า กลางสนามโรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม จ.อุทัยธานี ในพิธีพระราชทานเพลิงศพ นักเรียน-ครู 23 คน เหยื่อไฟไหม้รถบัสทัศนศึกษา วันที่ 8 ต.ค.นี้

เชียงใหม่ยังอ่วม เจอน้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

แม้ระดับน้ำปิงที่ทะลักท่วมตัวเมืองเชียงใหม่เริ่มลดลง จากที่เคยขึ้นสูงสุดถึง 5.30 เมตร ซึ่งถือว่าสูงที่สุดเท่าที่เคยวัดระดับมา จนทำให้เชียงใหม่เผชิญกับน้ำท่วมครั้งใหญ่สุดเป็นประวัติการณ์ บ้านเรือนหลายพันหลังและย่านการค้ายังจมน้ำ บางจุดยังท่วมสูงกว่า 2 เมตร ยังต้องเร่งอพยพผู้คนออกจากพื้นที่น้ำท่วม หลายคนต้องใช้ชีวิตอยู่ในรถที่จอดบนสะพาน

ภาคกลางเริ่มกระทบ น้ำเจ้าพระยาเอ่อท่วมบ้านประชาชน

น้ำเจ้าพระยาล้นข้ามถนนเข้าท่วมบ้านกว่า 30 หลังคาเรือน ต.ชีน้ำร้าย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ส่วนชุมชุนริมท่าน้ำปากเกร็ด เริ่มกระทบ