“ชัชชาติ” ลงพื้นที่ชุมชนคลองบางลำภู

ถนนข้าวสาร 25 ธ.ค.- “ชัชชาติ” ลงพื้นที่ชุมชนคลองบางลำภู ฟังเสียงสะท้อนผู้ประกอบการท่องเที่ยวก่อนปีใหม่


นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในนามอิสระ ลงสำรวจพื้นที่บริเวณตรอกพานถม คลองบางลำภู ถนนรามบุตรี และถนนข้าวสาร ร่วมกับ ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ หรือ ดร.ยุ้ย ทีมนโยบายเพื่อนชัชชาติ เพื่อสำรวจเสียงสะท้อนของผู้ประกอบการในพื้นที่ และพูดคุยกับประชาชนซึ่งประกอบอาชีพเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

นายชัชชาติ กล่าวว่า ชุมชนนี้มีเศรษฐกิจที่สำคัญอยู่ 2 รูปแบบ คือ การค้าขายกับคนในชุมชน และธุรกิจที่ค้าขายกับนักท่องเที่ยว ซึ่งธุรกิจในรูปแบบที่แรกไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่มีโจทย์สำคัญคือ จะจัดพื้นที่ค้าขายอย่างไรให้คนในชุมชนมีพื้นที่ค้าขายอย่างมีระเบียบและราคาไม่แพง ขณะที่ธุรกิจรูปแบบที่ 2 ซึ่งเป็นการท่องเที่ยว มีความน่าเป็นห่วง จากการพูดคุยกับผู้ประกอบการโรงแรม พบว่าช่วงก่อนที่สายพันธุ์โอไมครอนจะระบาด บรรยากาศเป็นไปค่อนข้างดี ยอดจองเยอะ แต่พอการระบาดสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นก็ถูกแคนเซิลบุ๊กกิ้งกันทันที ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ กทม. ต้องร่วมมือกับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา และสร้างความเชื่อมั่นต่อนักท่องเที่ยวให้กลับคืนมา


ทั้งนี้ สิ่งที่ กทม. จะช่วยได้อาจจะเป็นเรื่องของการลดภาษี ลดการดำเนินงาน ช่วยในเรื่องการกระจายชุดตรวจ ATK และการสนับสนุน ทำแคมเปญให้คนกรุงเทพฯ เที่ยวภายในกรุงเทพมหานครกันเอง พร้อมกับเตรียมความพร้อมเมืองให้พร้อมเมื่อสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น

“ช่วงนี้ต้องประคองกันไป พอสถานการณ์ดีขึ้นเราได้เตรียมการเรื่องความมั่นใจไว้อยู่แล้ว สุดท้ายนักท่องเที่ยวก็ต้องกลับมา” นายชัชชาติ กล่าว

นายชัชชาติ กล่าวอีกว่า ชุมชนย่านคลองบางลำภู เป็นชุมชนที่มีที่มีศักยภาพมากในการพัฒนาต่อ เพราะเป็นพื้นที่ที่มีประวัติศาสตร์และมีการท่องเที่ยว มีไอเดียที่อยากจะพัฒนาเป็นตลาดน้ำต่อไป แต่สุดท้ายต้องฟังเสียงคนในชุมชนเป็นหลัก เพื่อให้ประชาชนคนกรุงเทพมหานครมีชีวิตที่ปลอดภัยและดีขึ้น และกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ดีสำหรับทุกคน


ด้าน ผศ.ดร.เกษรา กล่าวว่า ผลกระทบจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เป็นห่วงโซ่ที่ยาวมาก เพราะผู้ประกอบการการท่องเที่ยวในเมืองเก่าก็มีการจ้างงานคนในชุมชนแถวนี้ ดังนั้น การแก้ไขปัญหาจึงแบ่งเป็นระยะสั้นและระยะยาว ระยะสั้นคือ เรื่องของการสนับสนุนให้คนไทยมาเที่ยวไทย และระยะยาว เรื่องที่ต้องทำตลอดคือ การสร้างความมั่นใจเชิงสาธารณสุข เพราะเชื่อว่านักท่องเที่ยวทั่วโลกต่อจากนี้จะให้น้ำหนักเรื่องความปลอดภัยเชิงสุขภาพมากขึ้น

“เราควรสร้างการรับรู้ว่าความปลอดภัยด้านสุขภาพของ กทม. เป็นที่ยอมรับ ระบบสุขภาพของ กทม. อาจจะดีอยู่แล้ว แต่เรายังไม่ได้มีการสร้างการรับรู้ ดังนั้น โจทย์สำคัญคือ กทม. ต้องประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกได้รับทราบ เพื่อสร้างความมั่นใจให้พวกเขา และผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทยด้วย” ผศ.ดร.เกษรา กล่าว

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

อพยพออกจากตึก

ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ ให้เข้าใช้งานในอาคารได้แล้ว

ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ สั่งคนออกจากตึกทันที หลังเกิดเสียงดัง-รอยร้าว-เศษปูนร่วง ล่าสุดแจ้งให้เข้าใช้งานในอาคารได้แล้ว

“เอกนัฏ” ลงเก็บตัวอย่างเหล็กตึกถล่มส่งพิสูจน์ ยอมรับเห็นแล้วอึ้ง

รมว.อุตสาหกรรม ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างเหล็ก ส่งพิสูจน์สถาบันเหล็ก เชิญสื่อร่วมติดตามผลตรวจ ยังไม่ปรักปรำใคร-ยอมรับเห็นแล้วอึ้ง

ข่าวแนะนำ

นายกฯ สั่งลดขั้นตอนแจ้งเตือนภัย ลั่นยังไม่ได้ SMS แผ่นดินไหว

นายกฯ ลั่น จนถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้รับ SMS เตือนแผ่นดินไหว สั่งลดขั้นตอนแจ้งเตือน “กรมอุตุฯ ไป ปภ. เข้าเครือข่ายมือถือ” ไม่ต้องผ่าน กสทช. ระหว่าง รอ Cell Broadcast เต็มระบบ ก.ค.นี้

ปภ.ยันไม่มีความรู้สึกสั่นไหว ไม่ใช่ผลจากอาฟเตอร์ช็อก

ปภ.แถลงชี้แจงกรณีสถานการณ์อพยพออกจากอาคาร ยืนยันไม่มีความรู้สึกสั่นไหว ไม่ได้เป็นผลกระทบจากอาฟเตอร์ช็อก ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก

นายกฯ ติดตามภารกิจช่วยเหลือคนติดซาก สตง.ถล่ม

นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่จุดเกิดเหตุอาคาร สตง.ถล่ม ติดตามภารกิจช่วยเหลือผู้ที่ติดค้างอยู่ใต้ซากอาคาร พร้อมให้กำลังใจทุกหน่วยงานทำงานอย่างเต็มที่

ตึกถล่มแผ่นดินไหว

72 ชั่วโมง ยังมีหวังพบผู้รอดชีวิตตึก สตง. ถล่ม

ใกล้ครบ 72 ชั่วโมงเหตุตึก สตง. ถล่ม แต่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายยังไม่ละความพยายาม และยังมีความหวังในการค้นหาผู้ที่ติดอยู่ใต้ซาก