นายกฯ กล่าวถ้อยแถลง UNGA76 ย้ำความร่วมมือพหุภาคี

กทม. 26 ก.ย.-นายกฯ กล่าวถ้อยแถลงในการประชุม UNGA76 เน้นย้ำความร่วมมือพหุภาคี พลิกวิกฤติเป็นโอกาส สร้างความสมดุลของการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อโลกใบใหม่ที่ดีและเข้มแข็งกว่าเดิม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (26 ก.ย.) เวลา 00.00 น. (ซึ่งตรงกับวันที่ 25 กันยายน 2564 เวลา 13.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของนครนิวยอร์ก) ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถ้อยแถลงในการอภิปรายทั่วไป (General Debate) ของการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 76 (76th Session of the United Nations General Assembly – UNGA76) ภายใต้หัวข้อ การสร้างความยืดหยุ่นผ่านความหวัง โดยการฟื้นฟูจากโควิด-19 การสร้างอย่างยั่งยืน ตอบรับความต้องการของโลก เคารพสิทธิของผู้คน และการฟื้นฟูของสหประชาชาติ “Building resilience through hope – to recover from COVID-19, rebuild sustainably, respond to the needs of the planet, respect the rights of people, and revitalize the United Nations” ผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล


นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ประชาคมโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งมีแนวโน้มจะอยู่กับเราไปอีกนาน ความสามารถที่จะเรียนรู้สู่บริบท “Next Normal” รวมถึงภัยพิบัติต่าง ๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในทุกภูมิภาค และประการสำคัญ คือ การชะงักงันในการเร่งขับเคลื่อน SDGs ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชากรโลกในวงกว้าง อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีชื่นชมวิสัยทัศน์ของเลขาธิการสหประชาชาติที่ได้จัดทำรายงาน Common Agenda ซึ่งเสนอความสำคัญในการร่วมมือกัน “เพิ่มพลัง” และสร้างเครือข่ายความร่วมมือพหุภาคี เพื่อก้าวผ่านวิกฤตนี้ไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น ยั่งยืนมากขึ้น และมีสันติภาพ โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “ความหวัง” และความมุ่งมั่นที่จะร่วมกันสร้างโลกของวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่าเดิม โดยมุ่งเน้นการพัฒนาอย่างสมดุลที่มีคนเป็นศูนย์กลางและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง พลิกวิกฤตเป็น “โอกาส” ร่วมกันผลักดันการปฏิรูปความร่วมมือภายใต้กรอบพหุภาคี ให้สามารถเป็น “Driver of Change” อย่างแท้จริง

ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า จะไม่มีใครปลอดภัย หากทุกคนยังไม่ปลอดภัย ประชาคมโลกจึงต้องเร่งผลักดันให้วัคซีนและยารักษาโควิด-19 เป็นสินค้าสาธารณะของโลก รวมถึงความร่วมมือด้านการพัฒนาวัคซีน ยา และเวชภัณฑ์ที่จำเป็น เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับโรคอุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต นอกจากนี้ ทุกประเทศต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุข โดยเฉพาะการบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และสนับสนุนการดำเนินงานภายใต้ WHO เสริมสร้างความมั่นคงทางด้านสุขภาพโลกรวมถึงการหารือเพื่อพิจารณาจัดทำ Pandemic Treaty ในส่วนของไทยได้พยายามส่งเสริมการผนวกรวมมิติด้านสาธารณสุขในเรื่องการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ครอบคลุมทั้งภัยธรรมชาติและโรคอุบัติใหม่ เชิญชวนให้มีการใช้ประโยชน์จากหลักการกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นแนวทางด้านสาธารณสุขตามกรอบเซนไดฯ สิ่งสำคัญ คือ การสร้างระบบสาธารณสุขของโลกที่มีภูมิต้านทาน เท่าเทียม และเป็นธรรม ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการฟื้นตัวที่ยั่งยืนต่อไป


ซึ่งปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาที่ไม่สมดุล ไทยอยู่ระหว่างการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ. 2608-2613 พร้อมทั้งมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และมีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วน 3 ใน 10 ทั้งนี้ ไทยสนับสนุนให้ประเทศพัฒนาแล้วเป็นผู้นำในการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างมีนัยสำคัญ และสนับสนุนให้ประชาคมโลกร่วมกันผลักดันให้การประชุม COP26 มีพัฒนาการที่สร้างสรรค์และเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ทุกประเทศควรร่วมมือกันเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสสู่ “ความสมดุลของสรรพสิ่ง” โดยเฉพาะสร้างสมดุลของการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผ่านการเร่งพัฒนาความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งไทยมุ่งมั่นที่จะผลักดันให้ EEC เป็นศูนย์กลางความร่วมมือของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระหว่างประเทศ ตลอดจนสนับสนุนให้มีการให้ความช่วยเหลือทางการเงินและการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมให้ประเทศกำลังพัฒนามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา รวมถึงสามารถปรับตัว เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และฟื้นตัวจากภาวะโลกร้อนอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ การผลักดันการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs ในทุกภาคส่วนเป็นเครื่องมือสำคัญในการรับมือกับความท้าทายรวมถึงความเหลื่อมล้ำที่รุนแรงขึ้นจากโควิด-19 โดยประชาคมโลกควรให้ความสำคัญกับการดำเนินตามแผนปฏิบัติการแอดดิส อาบาบา รวมถึงการดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่มีส่วนสนับสนุนการฟื้นตัวของประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ดี ไทยในฐานะผู้ประสานงานอาเซียนเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความเกื้อกูลกันระหว่างวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ค.ศ. 2025 กับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 เพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูภายหลังโควิด-19 และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของโลกต่อความท้าทายต่าง ๆ ในอนาคต ไทยเชื่อว่า หัวใจของการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs คือ ความสมดุล ไทยได้ประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) ซึ่งเป็นรูปแบบเศรษฐกิจที่ตอบโจทย์การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และครอบคลุม ไทยยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความมั่นคงของระบบอาหารโลกผ่านเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยมีโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียน เป็นต้นแบบของการปลูกฝังการส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืนตั้งแต่ระดับเยาวชน

ความสงบสุขและเสถียรภาพเป็นพื้นฐานในการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ประชาคมระหว่างประเทศจึงต้องร่วมกันสร้างสภาวะแวดล้อมแห่งสันติภาพ ที่ผ่านมา ไทยพยายามมีบทบาทที่ต่อเนื่อง ได้ส่งเสริมการสร้างสันติภาพและบรรลุสันติภาพที่ยั่งยืนในกรอบคณะกรรมาธิการเสริมสร้างสันติภาพ และบริจาคเงินสมทบกองทุนเสริมสร้างสันติภาพ ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ไทยยังคงปฏิบัติหน้าที่เพื่อสนับสนุนภารกิจการส่งเสริมสันติภาพของ UN อย่างแข็งขัน และไทยยังได้บริจาคเงิน จำนวน 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนหน่วยงานของ UN ในการดำเนินงานเพื่อบรรเทาวิกฤตด้านมนุษยธรรมในอัฟกานิสถาน นอกจากนี้ การมีผลใช้บังคับของสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on the prohibition of nuclear weapons : TPNW) สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของประชาคมโลกในการส่งเสริมให้ประชาชนรุ่นหลังปลอดภัยจากอาวุธนิวเคลียร์ แม้ในห้วงที่มีความตึงเครียดระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ไทยยังส่งเสริมการเชื่อมโยงความร่วมมือในกรอบ TPNW กับสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ด้วย สำหรับประเด็นเมียนมา ไทยได้ติดตามพัฒนาการอย่างใกล้ชิด และยืนยันที่จะส่งเสริมการใช้การทูตพหุภาคี เพื่อเสริมสร้างสภาพแวดล้อมแห่งสันติภาพและความสมานฉันท์ในเมียนมา และส่งเสริมการดำเนินการตามฉันทามติ 5 ข้อ ของที่ประชุมผู้นำอาเซียน ควบคู่กับความร่วมมือด้านสาธารณสุขและความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม


สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ยังคงมีความท้าทายสูงเหมือนเช่นหลาย ๆ ประเทศ อย่างไรก็ดี เชื่อมั่นว่าการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนมีความสำคัญ โดยเฉพาะการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะช่วยรับมือกับความท้าทายด้านสุขภาพและโรคอุบัติใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน ไทยได้นำพลังของอาสาสมัครในท้องถิ่นและความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น มาปรับใช้ในการรับมือกับโควิด-19 โดยใช้สารสกัดจากฟ้าทะลายโจรซึ่งเป็นสมุนไพรพื้นบ้านของไทย มาเป็นยารักษาและบรรเทาอาการของโควิด-19

ในโอกาสนี้ เดือนธันวาคมที่จะถึงนี้จะครบรอบ 75 ปี การเป็นสมาชิกสหประชาชาติของไทย ที่ผ่านมาไทยได้แสดงบทบาทในฐานะรัฐสมาชิกและหุ้นส่วนด้านการพัฒนาที่มีความรับผิดชอบ เชื่อถือได้ และสร้างสรรค์ อีกทั้ง ไทยยังเป็นศูนย์กลางขนาดใหญ่ของสำนักงานสหประชาชาติในภูมิภาคเอเชีย และมุ่งมั่นเป็นศูนย์กลางความร่วมมือระหว่างประเทศและการฝึกอบรมในภูมิภาค ผ่านการเสริมสร้างความร่วมมือแบบใต้-ใต้ และไตรภาคี รวมทั้งการเป็นเจ้าภาพการประชุม Global South-South Development Expo ที่กรุงเทพฯ ร่วมกับ ESCAP และสำนักงานสหประชาชาติเพื่อความร่วมมือใต้-ใต้ ในปี 2565

นอกจากนี้ ในโอกาสที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคในปี 2565 ไทยจะผลักดันเป้าหมายหลัก 3 ประการ ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน การฟื้นฟูความเชื่อมโยง และการส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม ซึ่งประเด็นสำคัญเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของไทยในการส่งเสริมความร่วมมือในกรอบพหุภาคีที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลหลังโควิด-19 โดยหวังว่าจะสามารถให้การต้อนรับโลกสู่ไทยภายใต้บริบทของความเปลี่ยนแปลงตลอดกาล

นายกรัฐมนตรี ยังเน้นย้ำความร่วมมือพหุภาคีในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะภายใต้กรอบของ UN จะนำเราไปสู่ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ครั้งยิ่งใหญ่ และพลังของประชาคมโลกในการรับมือกับวิกฤตโลกร้อน จะนำเราไปสู่เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ล้ำหน้า ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือ ความยืดหยุ่นในการปรับตัวเพื่อรับมือกับความท้าทายจะผลักดันให้เราบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกันพร้อมกับการมีโลกใบใหม่ที่ดีและเข้มแข็งกว่าเดิม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การกล่าวอภิปรายทั่วไปของการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 76 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-25 และ 27 กันยายน 2564 โดยเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ผู้นำและผู้แทนของประเทศสมาชิกได้กล่าวถ้อยแถลงเพื่อแสดงนโยบาย ความคิดเห็น และท่าทีของประเทศตนในประเด็นสำคัญต่าง ๆ ภายใต้หัวข้อหลัก ทั้งนี้ การร่วมกล่าวถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีไทย เป็นโอกาสในการแสดงบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยในเวทีระหว่างประเทศ และความพร้อมในการร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงการยึดมั่นในระบบพหุภาคี.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

“ลิณธิภรณ์” แจงปมสะกดคำผิด ยอมรับผิดพลาดพร้อมแก้ไข

กระทรวงวัฒนธรรม 4 ก.ค.- “ลิณธิภรณ์” ยอมรับดรามาใช้ภาษาไทยสะกดคำผิด พร้อมแก้ไขปรับปรุงตัว รับปากจะไม่ให้เกิดขึ้นอีก บอก บางครั้งรีบพิมพ์ไม่ได้ตรวจทาน ทำเกิดผลเสียทุกวันนี้ แจงมีปัญหาสุขภาพ อาจทำให้ออกเสียงควบกล้ำไม่ได้ น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์ถึงดรามาเรื่องการใช้ภาษาไทยในโซเชียลมีเดีย ว่า ตนขอยอมรับอย่างซื่อตรง ว่าบางครั้งในการสะกดคำของตนเองก็มีความผิดพลาด ซึ่งบางครั้งใช้การพิมพ์ด้วยเสียงผ่านโทรศัพท์มือถือ และได้โพสต์ข้อความไปแล้ว ก่อนจะมารู้ตัวอีกทีก็ผ่านไป 2-3 ชั่วโมง มันเป็นความผิดพลาด อันนี้ตนยอมรับด้วยความจริงใจ และวันนี้ตนก็เข้าใจดีว่าเมื่อมานั่งตำแหน่งตรงนี้ สิ่งที่จำเป็นต้องทำ คือต้องปรับปรุง และคิดว่าหลังจากนี้ความผิดพลาดเหล่านี้ก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะตนก็อยากเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กและเยาวชน ของประเทศเหมือนกัน รวมถึงอีกสิ่งที่ตนอยากจะบอกคือการออกเสียงควบกล้ำ ซึ่งเป็นผลกระทบ จากปัญหาสุขภาพ แต่ส่วนหนึ่งตนก็จะพยายามทำให้ดีที่สุด น.ส.ลิณธิภรณ์ กล่าวว่า วันนี้ตนเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในภาพนโยบายใหญ่ คงต้องขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาฯ ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้มีการพูดคุยใน รายละเอียดที่ชัดเจน และจะเข้ากระทรวงพร้อมกันในวันที่ 8 กรกฎาคม สำหรับตนหากใครที่เคยติดตาม ก็เคยเป็นคนหนึ่งที่ พูดเรื่องการศึกษาในส่วนของพรรคเพื่อไทยมาโดยตลอด ตั้งแต่เป็นโฆษกพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะเรื่องการลดค่าสอบทีแคส (TCAS) รวมถึงเรื่องการทำโครงการ ด้านสุขภาพภาวะจิต และอาจจะเป็นโครงการหนึ่งที่ตนจะสานต่อ […]

มอบ “จิราพร” เข้าร่วมประชุมผู้นำ BRICS ที่บราซิล

ทำเนียบ 3 ก.ค.-มอบ “จิราพร” เข้าร่วมประชุมผู้นำ BRICS ครั้งที่ 17 ที่บราซิล 6-7 ก.ค.นี้ นางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมผู้นำกลุ่ม BRICS ครั้งที่ 17 ระหว่างวันที่ 6 – 7 กรกฎาคม 2568 ร่วมกับผู้นำจาก 10 ประเทศสมาชิกกลุ่ม BRICS และประเทศหุ้นส่วนจากหลากหลายประเทศ ที่นครรีโอเดจาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล โดยไทยเข้าร่วมในฐานะประเทศหุ้นส่วนของกลุ่ม BRICS (Partner Country) สำหรับการประชุมผู้นำกลุ่ม BRICS จะจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “เสริมสร้างความร่วมมือโลกใต้เพื่อการสร้างธรรมาภิบาลที่ครอบคลุมและยั่งยืนยิ่งขึ้น โดยบราซิลในฐานะประธานกลุ่ม BRICS ปีนี้ ให้ความสำคัญกับประเด็นหลัก 6 ด้าน ได้แก่ (1) สาธารณสุข (2) การค้า การลงทุน และการเงิน (3) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (4) ธรรมาภิบาลของปัญญาประดิษฐ์ […]

Hun Sen, at event marking ruling party's 74th founding anniversary

ฮุน เซน เรียกร้องปั๊ม ปตท. งดนำเข้าน้ำมันจากไทย

พนมเปญ 3 ก.ค.- นายฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา ยังคงเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเรียกร้องให้เจ้าของปั๊ม ปตท.เลิกนำเข้าน้ำมันจากไทย และหันไปนำเข้าจากประเทศอื่นแทน สื่อของกัมพูชารายงานว่า นายฮุน เซน พูดถึงเรื่องนี้ในระหว่างการประชุมกับครูและนักเรียนที่ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมในจังหวัดไพรแวงในวันนี้ เรียกร้องให้เจ้าของปั๊มน้ำมัน ปตท.ทุกแห่งในกัมพูชาเลิกนำเข้าน้ำมันจากไทย และหันไปนำเข้าน้ำมันจากประเทศอื่น ๆ แทน ไม่ว่าจะเป็นจากเวียดนาม  มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อปั๊ม แม้ว่า ปตท.จะเป็นรัฐวิสาหกิจของไทยก็ตาม นอกจากนี้นายฮุน เซนยังพูดถึงเรื่องที่ไทยเคยขู่ว่าจะตัดไฟฟ้า ตัดอินเทอร์เน็ต ห้ามขายเชื้อเพลิง และอื่นๆ ให้กัมพูชาด้วยว่า เมื่อไทยขู่มากัมพูชาก็ตอบโต้ทันที กัมพูชาต้องพึ่งพาตนเองให้ได้เพื่อรับมือกับภัยคุกคามในอนาคตเหมือนกับที่กำลังเผชิญจากไทยในเวลานี้ แม้ว่าจะมีแรงกดดันจากไทย แต่กัมพูชาก็ได้ดำเนินการไปแล้ว ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้ของกัมพูชา ประธานวุฒิสภากัมพูชาเน้นย้ำว่า มาตรการทั้งหมดที่กัมพูชาได้ดำเนินไปนั้นเป็นการตอบโต้โดยตรงกับภัยคุกคามจากฝ่ายไทย รวมทั้งการที่ไทยปิดด่านพรมแดนแต่เพียงฝ่ายเดียว เขาแสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่า การเจรจากับไทยจะเริ่มขึ้นได้ ต่อเมื่อฝ่ายไทยจะต้องยอมเปิดด่านทุกจุดอย่างเต็มรูปแบบเหมือนที่เคยทำก่อนวันที่ 7 มิถุนายนแล้วเท่านั้น.-816(814).-สำนักข่าวไทย

เปิด 7 จุดยืน “ปชน.” ทางออกประเทศหาก “แพทองธาร” พ้นเก้าอี้

กรุงเทพฯ 4 ก.ค. – พรรคประชาชนโพสต์เฟซบุ๊กแสดง 7 จุดยืน หาก “แพทองธาร” พ้นตำแหน่ง เปิดเงื่อนไขโหวตนายกฯ คนใหม่ พรรคประชาชนโพสต์เฟซบุ๊กแสดง 7 จุดยืน หาก “นายกฯ แพทองธาร” พ้นจากตำแหน่ง เพื่อนำพาประเทศไปสู่ทางออกที่จะเป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับประชาชนทุกคน ดังนี้ 1.สิ่งที่ประเทศต้องการมากที่สุด คือรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ มีความชอบธรรม และสามารถตั้งทีมบริหารจากความรู้ความสามารถ ไม่ใช่จากการต่อรองผลประโยชน์ทางการเมือง2.รัฐบาลที่จะมีคุณสมบัติดังกล่าวจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากสภาชุดปัจจุบัน ทางออกสำหรับประเทศจึงเป็นการจัดให้มี “การเลือกตั้งใหม่” โดยเร็ว3.รักษาการนายกฯ ควรประกาศให้ชัดเจนว่าจะใช้อำนาจที่ตนเองมี ในการเดินหน้าสู่การยุบสภา เพื่อคืนอำนาจให้กับประชาชนผ่านคูหาเลือกตั้ง4.หากรักษาการนายกฯ ไม่ทำ และมีเหตุใดที่ทำให้นายกรัฐมนตรีแพทองธาร พ้นจากตำแหน่ง กระบวนการในการเลือกนายกฯ คนใหม่ จะต้องนำไปสู่การได้มาซึ่งนายกฯ ที่พร้อมเดินหน้าสู่การยุบสภา5.เพื่อให้ประเทศไม่ถูกบีบไปสู่ทางตันหรือการใช้อำนาจนอกครรลองประชาธิปไตย เราพร้อมจะพิจารณาลงมติให้กับผู้เสนอตัวเป็นนายกฯ คนใหม่คนใดก็ตาม ที่ยอมรับ “เงื่อนไข” ในการเป็นรัฐบาลชั่วคราว โดยทางพรรคประชาชนจะไม่เข้าร่วมรัฐบาลและจะไม่มีใครจากพรรคประชาชนไปเป็นรัฐมนตรี 6.“เงื่อนไข” ในการเดินหน้าสู่การยุบสภา สำหรับนายกฯ คนใหม่ จะต้องประกอบไปด้วยอย่างน้อย6.1 การประกาศเส้นตายว่าจะยุบสภาภายในสิ้นปี6.2 การยืนยันภารกิจเฉพาะหน้าที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว (เช่น การดำเนินการให้มีการจัดประชามติพร้อมกับการเลือกตั้ง เพื่อถามประชาชนเรื่องการมี […]

ข่าวแนะนำ

ทลายบ่อนกลางกรุง พบเจ้ามือเป็นชาวกัมพูชา

กทม. 4 ก.ค.-“ภูมิธรรม” เอาจริง สั่งจัดระเบียบสังคมทันที หลังรับตำแหน่ง มท.1 ประเดิมงานแรก สั่งการชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง บุกทลายบ่อนพนันกลางกรุง หลังมีประชาชนร้องเรียน พบเจ้ามือเป็นชาวกัมพูชา วันที่ 4 กรกฎาคม 2568 เวลา 15.30 น. นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย สั่งการให้นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมการปกครอง เปิดปฏิบัติการ “ปิดบ่อนสะพานใหม่” จับกุมบ่อนการพนันกลางกรุง โดยชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมการปกครอง พร้อมด้วย นายรณรงค์ ทิพย์ศิริ รองอธิบดีกรมการปกครอง นายเรืองลักษณ์ เรืองยังมี ผู้อำนวยการสำนักการสอบสวนและนิติการ นายอิสรา เจริญศรี ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการกองอาสารักษาดินแดน และนายศักดิ์ชัย โรจนรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายพนักงานฝ่ายปกครอง สนธิกำลังพนักงานฝ่ายปกครอง พร้อมด้วยสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ทลายบ่อนการพนันขนาดใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ในชุมชนสะพานใหม่ เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร […]

ทบ.ยันไม่รุนแรง เหตุทหารไทยเจอทหารเขมร

กองทัพบก 4 ก.ค.-ทบ.ยันไม่รุนแรง เหตุทหารไทยเจอทหารเขมร หลังลาดตระเวนพื้นที่อ้างสิทธิ์ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา บ่อยขึ้น จากกรณีเฟซบุ๊กเพจ “Army Military Force” โพสต์คลิปทหารพรานของไทยปะทะคารมกับทหารกัมพูชา ที่กำลังพยายามรุกลํ้าเข้ามาในดินแดนไทย ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีอาวุธปืนครบมือนั้น พล.ต.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก กล่าวว่า ได้รับรายงานจากกองกำลังสุรนารีว่า ชุดลาดตระเวนของกองร้อยทหารพรานที่ 2304 ที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ได้ทำการลาดตระเวนพื้นที่ ตรวจพบความเคลื่อนไหวของกำลังทหารกัมพูชา ในบริเวณจุดชมวิวภูผี ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อ้างสิทธิ์ตามแนวชายแดน ใกล้บริเวณปราสาทโดนตวล และเขาพระวิหาร และบริเวณเส้นทางลาดตระเวนใกล้เคียง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ฝ่ายไทยมีการลาดตระเวนตรวจตราอย่างต่อเนื่อง จึงได้เข้าทักทายเจรจากัน และแยกย้ายกันไป ไม่มีเหตุความรุนแรงใด พล.ต.วินธัย กล่าวต่อว่า ในช่วงที่ผ่านมา หลายจุดพบกำลังทหารกัมพูชามาลาดตระเวนในพื้นที่อ้างสิทธิ์ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา บ่อยขึ้น และบางครั้งมีเจ้าหน้าที่ระดับผู้บังคับหน่วยของกัมพูชาร่วมลงพื้นที่ด้วยตนเอง เมื่อมาพบเจอกับฝ่ายทหารไทยก็จะมีพูดทักทายกัน และบางครั้งก็อาจจะมีแสดงออกทางอารมณ์ในลักษณะเหมือนถกเถียงกันบ้าง แต่ทั้งหมดไม่ถึงขั้นตั้งใจจะใช้ความรุนแรงต่อกัน เพราะต่างฝ่ายต่างระมัดระวังไม่ให้มีการละเมิดข้อตกลง และต้องยึดมั่นในแนวทางสันติวิธี ตามแนวทางผู้บังคับบัญชา.-313.-สำนักข่าวไทย

นักธรณีวิทยา​ย้ำไม่มีสัญญาณ​สึนามิ​เข้าไทย​ ไม่ต้องตระหนก

กรุงเทพฯ​ 4 ก.ค. – ผู้เชี่ยวชาญทางธรณีวิทยา ย้ำขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณทางวิทยาศาสตร์​บ่งชี้ว่า​จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่อาจทำให้เกิดคลื่นสึนามิซัดเข้าสู่ประเทศไทย​ จากกรณีเกิดแผ่นดินไหวต่อเนื่องบริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์และสุมาตรา ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก แนะติดตามข่าวสารจากทางราชการอย่างต่อเนื่อง ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้แจงว่า แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในช่วง​ 1-2​ สัปดาห์ที่ผ่านมา บริเวณใกล้หมู่เกาะนิโคบาร์และสุมาตรา เป็นการเลื่อนตัวในแนวราบ ไม่ใช่แนวดิ่ง จึงไม่เข้าลักษณะที่จะทำให้เกิดคลื่นสึนามิได้ ขณะเดียวกัน จากการติดตามข้อมูลยังไม่พบสัญญาณทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ ที่บ่งชี้ว่า​ จะมีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในแนวดิ่ง ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการเกิดคลื่นสึนามิ ศ.ดร.สันติ กล่าว​ว่า​ ก่อนหน้านี้​เรารู้​จักแนวมุดตัวของเปลือก​โลก​บริเวณ​หมู่เกาะ​นิโคบาร์​-สุมาตรา ที่หากมีการเคลื่อนตัวจะมีโอกาส​เกิดสึนามิ​ แต่ล่าสุด​พบ​ว่า​ มีแนวภูเขาไฟ​ใต้น้ำ​บริเวณ​หมู่เกาะ​สุมาตรา​ที่​ไม่เคยปะทุมาก่อนและบอกไม่ได้​ว่าจะปะทุ​เมื่อ​ใด ซึ่งนักธรณีวิทยา​และหน่วยงาน​ด้านภัยพิบัติ​จะต้องติดตาม​อย่างต่อเนื่อง​ต่อไป​ ทั้งนี้ แม้ในอดีตจะเคยเกิดสึนามิจากรอยเลื่อนสุมาตราที่เกิดการมุดตัวของเปลือกโลก​ แต่ย้ำว่า​ เหตุการณ์ปัจจุบันไม่มีตัวชี้วัดในลักษณะเดียวกัน จึงขอให้ประชาชนอย่ากังวลเกินควร อย่างไรก็ตาม การตื่นรู้ต่อภัยพิบัติเป็นสิ่งที่ดี โดยเฉพาะการใช้เครื่องมือสื่อสาร เช่น แอปพลิเคชันกรมอุตุนิยมวิทยา การติดตามข้อมูลจากภาครัฐ และระบบแจ้งเตือนภัยในท้องถิ่นเช่น Cell Broadcast​ ที่​ภาครัฐ​เร่งดำเนินการ​สำหรับ​แจ้ง​เตือน​ภัยพิบัติ​ต่าง​ ๆ ให้​ครอบคลุม​ทั่วประเทศ​ ทั้งนี้ ​การเตรียมความพร้อมคือเรื่องสำคัญ รัฐเองก็พยายามส่งสัญญาณให้ถึงประชาชนโดยเร็ว […]

“แพทองธาร” หารือผู้บริหาร ก.วัฒนธรรม

ก.วัฒนธรรม 4 ก.ค.-“แพทองธาร” หารือผู้บริหาร ก.วัฒนธรรม แจงข่าวปลอมไทยคืนวัตถุโบราณ 20 รายการ ให้กัมพูชาไม่จริง ชี้ทำตั้งแต่ “รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์” พร้อมสั่งเบรกจัดสรรงบฯ คืนวัตถุโบราณกัมพูชา จ่อแจ้งความคนปล่อยเฟกนิวส์ ปลุกปั่น “กลุ่มปราสาทตาเมือน” ยันอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยไทย ช่วงบ่ายวันนี้ (4 ก.ค.) น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุมหารือร่วมกับผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม โดย น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า วันนี้ถือเป็นการประชุมครั้งแรก มีข้อที่อยากจะฝากเอาไว้ และอยากจะให้ช่วยกันผลักดัน รวมถึงอยากจะอัปเดตข้อมูลให้ฟัง ซึ่งวันนี้ตนได้ทำการบ้านมาเล็กน้อย และรู้สึกดีใจที่จะได้ฟังจากทุกคนว่า แต่ละหน่วยงานแต่ละฝ่ายทำอะไรกันอยู่บ้าง และในกระทรวงฯ มีอะไรที่อยากให้ดำเนินการเพิ่มเติมบ้าง ประเด็นแรก อยากจะขอชี้แจงเรื่องข่าวปลอม เรื่องการส่งคืนวัตถุโบราณ จำนวน 20 รายการ ให้กับประเทศกัมพูชา ตนขอยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง เพราะการคืนวัตถุโบราณให้กับประเทศกัมพูชา มีมาตั้งแต่สมัย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งประเทศไทยได้คืนไปแล้ว […]