กสม.หนุนร่าง พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานฯ

กสม. 8 ก.ย. – กสม.หนุนรัฐสภาผ่านร่าง พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและบังคับสูญหายตามหลักการสากล เสนอมาตรการคุ้มครองสิทธิผู้ถูกควบคุมตัว-วางกลไกตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้กระทำผิด


น.ส.พรประไพ กาญจนรินทร์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ สม 0006/74 ลงวันที่ 7 กันยายน 2564  แจ้งข้อเสนอแนะต่อร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. …. ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา ไปยังประธานรัฐสภา โดย กสม.ได้ประมวลข้อคิดเห็นประกอบกับหลักสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย ซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน โดย กสม. มีข้อเสนอว่า หลักการสำคัญของกฎหมาย ควรกำหนดให้มีบทบัญญัติที่แสดงสิทธิเด็ดขาดอันไม่อาจถูกเพิกถอนได้ว่า บุคคลจะไม่ถูกกระทำทรมานหรือถูกกระทำให้สูญหาย ไม่ว่าสถานการณ์พิเศษใด ๆ และให้รวมถึงการกระทำหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ กำหนดให้มีมาตรการป้องกันการทรมานหรือการถูกกระทำให้บุคคลสูญหาย นอกจากนี้ ควรกำหนดให้มีการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกควบคุมตัว เช่น สิทธิในการติดต่อกับญาติ สิทธิการมีทนายเข้าร่วมสอบปากคำหรือซักถาม รวมทั้งกำหนดให้มีการชดเชยเยียวยาทั้งร่างกายและจิตใจแก่ผู้ถูกกระทำทรมานหรือถูกทำให้สูญหายอย่างเต็มที่

สำหรับการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น น.ส.พรประไพ กล่าวว่า ควรกำหนดให้มีการบันทึกภาพและเสียงที่มีประสิทธิภาพ สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ในการจับกุม การควบคุมตัว การสอบสวน สถานที่กักขัง หรือสถานที่ควบคุมตัว และมีระบบจัดเก็บข้อมูลที่เพียงพอต่อการตรวจสอบย้อนหลัง เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย นอกจากนี้ ควรกำหนดให้การจับ ขัง หรือค้นโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องได้รับการรับรองจากพนักงานอัยการ และควรกำหนดให้พนักงานอัยการเข้าไปมีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตั้งแต่ขั้นตอนการควบคุมตัว


น.ส.พรประไพ กล่าวด้วยว่า ในส่วนการดำเนินคดีในชั้นศาล ห้ามมิให้รับฟังพยานหลักฐานของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้มาจากการทรมานหรือการถูกกระทำให้บุคคลสูญหาย เพื่อเป็นการยืนยันและแสดงให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเห็นว่า การได้มาซึ่งพยานหลักฐานจากการทรมานหรือการถูกกระทำให้บุคคลสูญหายโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่ว่าจะอ้างเหตุความมั่นคงของชาติ เพื่อการปราบปรามยาเสพติด เพื่อการคลี่คลายอาชญากรรมร้ายแรง หรือเพื่อการอื่นใดนั้น ไม่อาจกระทำได้ในทุกกรณี  

นอกจากนี้ ควรกำหนดให้การกระทำทรมาน หรือการกระทำให้บุคคลสูญหายโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะต้องถูกพิจารณาโดยศาลอาญาหรือศาลยุติธรรมที่มีอำนาจพิจารณาคดีในทุกกรณี และกำหนดให้ความผิดฐานกระทำทรมาน และฐานกระทำให้บุคคลสูญหาย เป็นคดีที่ไม่มีอายุความ พร้อมทั้งเห็นว่า คณะกรรมการที่ทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหาย ต้องมิใช่บุคคลในหน่วยงานเดียวกันกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกร้องเรียน และควรกำหนดให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการฯ แต่งตั้งมาจากผู้แทนของผู้เสียหายคดีการทรมานและคดีการกระทำให้บุคคลสูญหายด้วย.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เครื่องบินภูเก็ตมุ่งหน้ามอสโก ขอลงจอดฉุกเฉินที่สุวรรณภูมิ

เที่ยวบิน 777-300ER สายการบิน Aeroflot ขึ้นจากภูเก็ตไปมอสโก เตรียมลงสุวรรณภูมิ หลังบินวนกลางทะเลอันดามันหลายชั่วโมง จากปัญหาระบบลงจอดขัดข้อง

ไข้หวัดใหญ่ระบาด

ไข้หวัดใหญ่ระบาดในสหรัฐ-เสียชีวิตแล้ว 13,000 ราย

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ หรือซีดีซี รายงานว่า พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในฤดูกาลนี้อย่างน้อย 24 ล้านคนแล้วทั่วสหรัฐ

ตัดไฟเมียนมา

มาตรการตัดไฟเมียนมาได้ผล กลุ่มเว็บพนันปลดพนักงานแล้วกว่าร้อยคน

มาตรการตัดไฟเมียนมาได้ผล กลุ่มเว็บพนันออนไลน์และกลุ่มสแกมเมอร์ที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ปลดพนักงานแล้วกว่า 100 คน เนื่องจากขาดแคลนกระแสไฟฟ้า ทำให้พนักงานทยอยเดินทางออกจากท่าขี้เหล็ก กลับมาทางด่าน อ.แม่สาย จ.เชียงราย อย่างต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

เข้มทางบก แก๊งลักลอบเข้าเมือง หนีไปทางน้ำ

หลังมาตรการ Seal Stop Safe ชายแดนของรัฐบาล ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 30 มกราคม เพื่อเข้มงวด ตั้งจุดตรวจ จุดสกัดตามเส้นทางต่างๆ พบขบวนการลักลอบเข้าเมืองด้านชายแดนกาญจนบุรี ซึ่งฝั่งตรงข้ามคือ เมืองพญาตองซู ของเมียนมา เลี่ยงไปใช้เส้นทางน้ำแทน

ทองไทยใกล้เป้าหมายบาทละ 5 หมื่น

ทองไทยเข้าภาวะกระทิง เปลี่ยนแปลงคึกคักวันนี้ (11 ก.พ.) ปรับเปลี่ยน 27 รอบ เข้าใกล้ 48,000 บาทต่อบาททองคำ มองเป้าหมายถัดไปที่ 50,000 บาทต่อบาททองคำ ด้านสภาทองคำโลก ชี้การซื้อทองเป็นการลงทุนมากกว่าการใช้เป็นเครื่องประดับ ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นตลาดทองคำที่แข็งแกร่งในปี 67 สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก