fbpx

ประธาน ป.ป.ช. รับทุจริตไม่ลด


สำนักงาน ป.ป.ช. 20 ส.ค.-ประธาน ป.ป.ช. รับสถานการณ์ทุจริตไม่ลด ช่วงโควิดพบเรื่องร้องเรียนกว่า 15,283 เรื่อง เดินหน้าป้องปรามเชิงรุก

พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นประธานเปิดงานสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับชาติ เรื่อง “ถอดกับดัก คอร์รัปชัน : The Big Push in Corruption Trap” และกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “กับดักคอร์รัปชันในอนาคต : การถอดกับดักที่ทรงพลัง” เนื้อหาระบุว่า ยุทธศาสตร์ชาติป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 สิ้นสุดลง ปี 2564 จึงต้องสรุปผลการดำเนินการ เพื่อวิเคราะห์แสวงหาแนวทางในการป้องกันการทุจริตทุกระดับ และในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 ถึงปัจจุบัน ทำให้ประชาชนมีความทุกยาก แต่การทุจริตเป็นปัจจัยที่เพิ่มความทุกยากในสังคมเพิ่มขึ้น โดยสถิติเรื่องร้องเรียนต่อสำนักงาน ป.ป.ช. ระหว่างปี 2560-2564 พบว่าปี 2560 มีเรื่องกล่าวหา 4,896 เรื่อง ปี 2561 มีเรื่องกล่าวหา 4,622 เรื่อง โดยในปี 2562 จนถึงปัจจุบัน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2561 กำหนดให้ ป.ป.ช.รับเรื่องร้องเรียนกล่าวหาทุจริตของเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ทำให้ในปี 2562 มีเรืองกล่าวหา 10,382 เรื่อง ป.ป.ช.รับดำเนินการเอง 3,285 เรื่อง มูลค่าความเสียหาย 2.3 แสนล้านบาท ส่วนปี 2563 มีเรืองกล่าวหา 9,130 เรื่อง ป.ป.ช.รับดำเนินการเอง 2,951 เรื่อง มูลค่าความเสียหาย 9 หมื่นล้านบาท และในปี 2564 (ข้อมูลจนถึงวันที่ 26 ก.ค.2564) มีเรืองกล่าวหา 6,153 เรื่อง ป.ป.ช.รับดำเนินการเอง 1,963 เรื่อง ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่าแม้ในภาวะวิกฤติโควิดเกิดขึ้น 2563-2564 แต่ยังมีคำกล่าวหา 15,283 กรณี แสดงว่าการทุจริตไม่มีการลดราวาศอกหรืออ่อนข้อให้กับสถานการณ์ใดๆ


“กับดักคอร์รัปชัน คือ จิตใจ ความรู้สึกที่อ่อนแอ ถูกครอบงำโดยง่ายด้วยกิเลสและความโลภ ขาดอุดมการณ์และแรงจูงใจในการประพฤติดี มีค่านิยมที่ผิดยกย่องคนมีเงินโดยไม่สนใจปัจจัยอื่นๆ ยอมตกอยู่ใต้อิทธิพลของผู้ทุจริต และมีค่านิยมว่าการทุจริตเป็นวิถีชีวิตปกติธรรมดา ดังนั้นการถอดกับดักคอร์รัปชัน คือการพัฒนาจิตใจของบุคคล ครอบครัว ชุมชนให้เข้มแข็ง”ประธาน ป.ป.ช. กล่าว

พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวอีกว่า ป.ป.ช.ได้ดำเนินการทั้งการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงรุก ทั้งมาตรการและข้อเสนอแนะป้องกันการทุจริต ต่อ ครม. และหน่วยงานต่างๆ การประเมินความโปร่งใสหน่วยงานภาครัฐ โดยในปี 2564 มีหน่วยงานภาครัฐเข้าประเมิน 8,300 แห่ง ผลการประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 81.25 ส่วนหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์ 85 คะแนนขึ้นไปมีจำนวน 4,146 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 49.95 ทั้งนี้จากปี 2561-2564 การประเมินมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แสดงว่าการให้บริหารหน่วยงานภาครัฐได้รับการยอมรับจากประชาชนมากขึ้น ซึ่งในปี 2565 จะมีการประเมินรายละเอียดไปถึงระดับอำเภอเพิ่มเติม 878 แห่ง และสถานีตำรวจนครบาล 88 หน่วย ทั้งนี้ยังมีมาตรการป้องกันเชิงรุก คือการปักหมุดพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต และยังมีกลไกป้องกันและป้องปรามการทุจริตในระดับชุมชนและสังคม โดยมีการจัดตั้งชมรม strong – จิตพอเพียงต้านทุจริต ในทุกจังหวัด มีสมาชิก 63,552 คน นำมาสู่การป้องกันทุจริตเชิงรุก ร่วมป้องปรามการทุจริตในชุมนุม โดยผลลัพธ์การดำเนินการของชมรม strong – จิตพอเพียงต้านทุจริต เช่น เสาไฟปะติมากรรมกินรี จ.สมุทรปราการ เป็นต้น


“การสร้างหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา เป็นเครื่องมือในการปรับวิธีคิดให้คนไทยทุกกลุ่มเป้าหมาย คิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตัวและประโยชน์ส่วนรวม มีความอายและไม่ทนต่อการทุจริตทุกรูปแบบ ซึ่งปัจจุบันเป็นรายวิชาการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการฝึกอบรมในหน่วยงานทหารและตำรวจ ทั้งนี้เชื่อว่ากลไกในการป้องกันและป้องปรามการทุจริตในทุกภาคส่วน รวมทั้งกลไกการศึกษาและศาสนาในการปลูกฝังวิธีคิดและจิตสำนึกต้านทุจริต จะสร้างความเข้มแข็งของสังคม ชุมชน และครอบครัวได้ และความเข้มแข็งนี้จะทำให้กับดักคอร์รัปชันไม่มีอิทธิพลอิทธิฤทธิ์อีกต่อไป” พล.ต.อ.วัชรพล กล่าว.-สำนักข่าวไทย.

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ร่างศึกษา พ.ร.บ.นิรโทษฯ เข้าสภา 26 ก.ย.นี้

“นิกร” เผยร่างศึกษา พ.ร.บ.นิรโทษฯ เข้าสภา 26 ก.ย.นี้ ชง ครม. เป็นเจ้าภาพ ยกร่าง-เคาะปม ม.112 จะรวมหรือไม่ หวั่นคําวินิจฉัยศาลฟันก้าวไกล พ่นพิษ

คนร้ายฆ่าสาวโบลท์ เครียด ซัดมีอีก 2 คนยังไม่โดนจับ

เครียด! “ไอ้แม็ก” มือฆ่าชิงทรัพย์สาวโบลท์ ใช้หัวโขกลูกกรง สน.มีนบุรี จนตำรวจต้องเข้าระงับเหตุ ซัดมีอีก 2 คนยังไม่โดนจับ ล่าสุดคุมตัวไปฝากขังแล้ว