รัฐบาลยกระดับสวัสดิการผู้มีรายได้น้อย-กลุ่มเปราะบางต่อเนื่อง

กรุงเทพฯ 23 พ.ค. – รัฐบาลยกระดับสวัสดิการผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบางต่อเนื่อง โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง


นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันโดยการนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สานต่อแนวทางการพัฒนาระบบสวัสดิการเพื่อผู้มีรายได้น้อยและประชาชนกลุ่มเปราะบาง ตามนโยบาย “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” โดยเฉพาะการช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้มีรายได้น้อย 14.6 ล้านคน เช่น การซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ก๊าซหุงต้ม ค่าโดยสารรถสาธารณะ โดยในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว เมื่อปี 2562 รัฐบาลได้จ่ายเงินเพิ่มให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ เป็นเวลา 2 เดือน เพื่อพยุงการบริโภคของประชาชน 500 บาท/คน/เดือน ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ถือบัตร 500 บาท/คน/เดือน ช่วยเหลือการเลี้ยงดูบุตรของผู้ถือบัตร 300 บาท/คน/เดือน

นอกจากนี้ ยังออกมาตรการช่วยเหลือต่อเนื่องเป็นเวลา 12 เดือน คือ มาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าให้กับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 230 บาท/ครัวเรือน/เดือน มาตรการบรรเทาภาระค่าน้ำประปาให้กับผู้ที่ใช้น้ำไม่เกิน 100 บาท/ครัวเรือน/เดือน และมาตรการชดเชยเงินจากภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อผู้ถือบัตรจ่ายค่าสินค้าหรือบริการผ่านบัตรสวัสดิการฯ โดยโอนเงินเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งพักชำระหนี้แก่ผู้ถือบัตรเป็นเวลา 2 ปี และยกระดับร้านค้าธงฟ้าพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น มีผู้ประกอบการเข้าร่วมกว่า 121,000 ราย เกิดการใช้จ่ายผ่านบัตรมากกว่า 90,000 ล้านบาท


ส่วนในปี 2563 ช่วงที่โรคโควิด-19 ระบาด รัฐบาลได้จ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ 3,000 บาท/คน และเพิ่มวงเงินซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ระยะที่ 1 อีก 500 บาท/คน/เดือน เป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นในปี 2564 ผู้ถือบัตรยังได้รับเงินช่วยเหลือ 7,000 บาท/คน ตามโครงการเราชนะ และได้รับวงเงินซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ระยะที่ 2 อีก 500 บาท/คน/เดือน เป็นเวลา 3 เดือน

สำหรับประชาชนกลุ่มเปราะบาง รัฐบาลจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันได ตั้งแต่ 600-1,000 บาท/คน/เดือน ปรับเบี้ยความพิการ ระยะที่ 1 จาก 800 บาท/เดือน เป็น 1,000 บาท/เดือน และระยะที่ 2 กำหนดอัตราเบี้ยขั้นต่ำ 1,000 บาท/เดือน และสูงสุด 2,270 บาท/เดือน (กรณีที่มีความยากลำบากทางการเงินให้สมทบเพิ่ม 1,200 บาท/เดือน และกรณีที่มีความพิการระดับรุนแรง สมทบเพิ่ม 1,870 บาท/เดือน) และยังจ่ายเงินอุดหนุนตามโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด 600 บาท/คน/เดือน จนอายุครบ 6 ปี โดยในปี 2563 ได้เพิ่มกรอบวงเงินงบประมาณจากปีก่อนหน้าถึง 7,390.87 ล้านบาท นอกจากนี้ ประชาชนกลุ่มเปราะบาง ทั้งเด็ก ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ยังได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาลในช่วงที่โรคโควิด-19 ระบาด อีกคนละ 3,000 บาท อีกด้วย. – สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร