“ดีอีเอส” ตั้งทีมจับตากลุ่มย้ายประเทศ

กรุงเทพฯ 4 พ.ค.-“ดีอีเอส” ตั้งทีมจับตากลุ่มย้ายประเทศ หลังมีร้องเรียนสร้างความแตกแยก-หมิ่นสถาบันฯ ชี้แนะแนวศึกษา-อาชีพ ตปท.เป็นเรื่องดี แต่ควรศึกษาข้อมูลรอบด้าน เตือนอาจมีมิจฉาชีพแฝงหาประโยชน์

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวถึงกรุ๊ปเฟซบุ๊ก “ย้ายประเทศกันเถอะ” ที่กำลังเป็นกระแสในสังคมออนไลน์ขณะนี้ว่า กระทรวงดีอีเอสได้รับการร้องเรียนถึงความเคลื่อนไหวของกลุ่มดังกล่าวมาเช่นกัน โดยผู้ร้องเรียนระบุว่า มีเนื้อหาสร้างความแตกแยกสร้างความเกลียดชัง และยังมีการแสดงความคิดเห็นเข้าข่ายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย อย่างไรก็ตาม เท่าที่ติดตามเบื้องต้นพบว่า เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นไปในเชิงแนะแนวการศึกษา และแนะนำแนวทางประกอบอาชีพในต่างประเทศ ซึ่งจริงๆก็เป็นเรื่องที่ดี และหน่วยงานภาครัฐเองก็มีการให้ข้อมูล และให้การสนับสนุนผู้ที่มีความพร้อมมาโดยตลอดอยู่แล้ว ทั้งในแง่การไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ทั้งกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงการต่างประเทศ เช่นเดียวกับการประกอบอาชีพที่มี กระทรวงแรงงาน เป็นผู้กำกับดูแล


“เท่าที่ติดตามหลายๆโพสต์ก็เป็นเรื่องแนะแนวการศึกษา และการใช้ชีวิตในต่างประเทศ ที่แฝงด้วยประเด็นทางการเมือง โดยเฉพาะสมาชิกกลุ่มบางคนที่หลบหนีอยู่ในต่างประเทศก็มีพฤติกรรมชังชาติอยู่แล้ว ก็มีวัตถุประสงค์แอบแฝงเพื่อสร้างความแตกแยก และหมิ่นสถาบันเบื้องสูง กระทรวงดีอีเอสมีคณะทำงานเพื่อตรวจสอบและติดตามการกระทำความผิดในสังคมออนไลน์อยู่แล้ว ก็ได้กำชับไปให้ตรวจสอบดูว่ามีเนื้อหาที่ผิดกฎหมายหรือไม่ หากพบก็จะดำเนินการทางกฎหมายอย่างเด็ดขาด” นายชัยวุฒิ กล่าว

นายชัยวุฒิ กล่าวต่อว่า หากเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการศึกษาหรืออาชีพในต่างประเทศ รัฐบาลคงไม่ปิดกั้น เพราะถือเป็นสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่ได้รับการคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญ แต่ก็มีความเป็นห่วงในบางข้อความที่ไม่เหมาะสม อาทิ การแนะนำวิธีลักลอบเข้าเมือง หรือการอาศัยอยู่เกินกำหนดอย่างผิดกฎหมายหรือที่เรียกว่าโดดวีซ่า ถือเป็นเรื่องไม่เหมาะสม และอาจจะกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมถึงการพิจารณาให้วีซ่าคนไทยของประเทศปลายทางในอนาคตด้วย ที่สำคัญยังเป็นห่วงว่า กลุ่มดังกล่าวอาจเป็นช่องทางของขบวนการมิจฉาชีพที่ใช้สังคมออนไลน์หลอกลวงให้มีการไปทำงานต่างประเทศที่ระบาดอย่างหนักในระยะหลัง โดยทราบจากสถิติของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ว่าช่วงปี 2561-2563 ได้รับเรื่องราวร้องทุกข์เกี่ยวกับการหลอกลวงไปทำงานต่างประเทศแล้วมากกว่า 1,500 เรื่อง ดังนั้นผู้ที่สนใจควรศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน ไม่หลงเชื่อขบวนการเหล่านี้ .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ค้นบ้าน “เอ็ม เอกชาติ” โยงเว็บพนันใช้ “แบงค์ เลสเตอร์” ทำคอนเทนต์

ตร.ไซเบอร์ ขยายผลบุกค้นบ้าน “เอ็ม เอกชาติ” อินฟลูเอนเซอร์สายความเร็ว โยงเว็บพนัน ใช้ “แบงค์ เลสเตอร์” ทำคอนเทนต์

วันแรก ตาย 52 อุบัติเหตุ 322 ครั้ง บาดเจ็บ 318 คน

สถิติวันแรก 10 วันอันตราย ตาย 52 อุบัติเหตุ 322 ครั้ง บาดเจ็บ 318 คน​ “เพิ่มพูน” เน้นทุกฝ่ายช่วยกันดูแลความปลอดภัย อำนวยความสะดวก เข้มเรื่องกฎหมาย

“อนุทิน” ขอทุกฝ่ายรอศาลปกครองตัดสิน “ที่ดินเขากระโดง”

“อนุทิน” ขอทุกฝ่ายหยุดตอบโต้ปม “เขากระโดง” รอศาลปกครองตัดสินชี้ขาด ยันแม้ไม่ใช่ “มท.หนู” กรมที่ดินก็ตัดสินแบบนี้