fbpx

อ.ปริญญา จี้รัฐแก้ปัญหา เรียกคืนเงินเบี้ยผู้สูงอายุหลังจ่ายซ้ำซ้อน

สำนักข่าวไทย 31 ม.ค.-อ.ปริญญา ยก 4 ข้อกฎหมาย อธิบายปัญหาจ่ายเงินเบี้ยผู้สูงอายุซ้ำซ้อน หากเป็นการรับเงินไปโดยสุจริต และใช้เงินหมดแล้วไม่ต้องจ่ายคืนรัฐ แนะอย่าไปเซ็นยินยอมรับสภาพหนี้ หรือผ่อนจ่ายรายเดือน


นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงกรณีกรมบัญชีกลาง-องค์กรปกครองท้องถิ่น เรียกเงินเบี้ยยังชีพคืนจากผู้สูงอายุ โดยอ้างเหตุผลว่า ระเบียบกระทรวงมหาดไทยที่ออกใหม่กำหนดว่า ผู้สูงอายุจะได้รับเบี้ยยังชีพต่อเมื่อไม่ได้รับเงินช่วยเหลือในทางอื่น ดังนั้น ผู้สูงอายุรายใดได้รับเงินช่วยเหลือทางอื่นด้วยแล้วจึงไม่มีสิทธิได้เบี้ยยังชีพอีก เมื่อรับไปแล้วจึงต้องคืนซึ่งจำนวนเงินที่เรียกคืนสูงหลายหมื่นจนเป็นแสนบาทเลยนั้น ตามหลักแห่งความยุติธรรมแล้วเรื่องนี้ไม่ถูกต้อง และไม่ใช่เรื่องที่ผู้สูงอายุที่รับเบี้ยยังชีพไปโดยสุจริต และใช้จ่ายในการยังชีพไปแล้วจะต้องคืนเงิน เนื่องจาก 1.ระเบียบกระทรวงมหาดไทยที่ออกใหม่ในปี 2552 ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2552 ซึ่งข้อ 6 (4) กำหนดว่า ผู้มีสิทธิที่จะได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจะต้อง “ไม่เป็นผู้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน” ซึ่งหลักเกณฑ์เดิมของกระทรวงมหาดไทย (ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548) ไม่มีข้อกำหนดตรงนี้ กรมบัญชีกลางไปเจอตรงนี้เข้าจึงแจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งเทศบาล และ อบต. ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่จ่ายเบี้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุ ให้เรียกเงินคืนจากผู้สูงอายุ และโดยที่ระเบียบกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ประกาศใช้วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2552 การเรียกคืนจึงย้อนไปถึงปี 2552 จำนวนเงินที่เรียกคืนจึงสูงหลายหมื่นบาทจนถึงเป็นแสนบาทอย่างน่าตกใจ

  1. แต่ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเบี้ยยังชีพฯ ปี 2552 มีบทเฉพาะกาล ซึ่งข้อ 6 เขียนว่า “ระเบียบนี้มิให้กระทบต่อสิทธิผู้สูงอายุ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548 ที่มีอยู่ก่อนหรือในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ และให้ถือว่าผู้สูงอายุดังกล่าวเป็นผู้ได้ลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามระเบียบนี้แล้ว” หมายความว่า ระเบียบกระทรวงมหาดไทยปี 2552 ใช้กับผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพหลังระเบียบฉบับนี้ประกาศใช้ คือตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2552 เป็นต้นมา ดังนั้นผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพก่อนหน้านั้น คือ ก่อนวันที่ 15 ตุลาคม 2552 แม้จะได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็ยังคงมีสิทธิรับเบี้ยยังชีพต่อไป และดังนั้นจึงไม่ต้องคืนเงิน
  2. แล้วผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2552 เป็นต้นมา ที่ได้สวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยแล้วจะต้องทำอย่างไร เรื่องนี้มีคำพิพากษาศาลฎีกาวางบรรทัดฐานไว้แล้วว่า เป็นเรื่องลาภมิควรได้ ซึ่งหลักตามมาตรา 412 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือ หากเป็นการรับเงินไปโดยสุจริต (คือไม่ทราบเรื่องระเบียบใหม่ปี 2552) ถ้าใช้เงินนั้นหมดไปแล้วก็ไม่ต้องคืน เรื่องนี้เป็นแน่ชัดว่า ผู้สูงอายุที่รับเงินกันไปโดยสุจริต เพราะจะไปรู้เรื่องระเบียบใหม่ได้อย่างไร ดังนั้นถ้าใช้เบี้ยยังชีพหมดไปแล้วก็ไม่ต้องคืน ว่าง่ายๆ เรื่องนี้ถ้าถึงศาลองค์กรปกครองท้องถิ่นที่ทวงเงินแพ้แน่นอน เรื่องนี้เป็นเรื่องเงินของรัฐ ไม่ใช่เรื่องเจ้าหนี้ลูกหนี้ตามกฎหมายแพ่ง รัฐบาลจึงต้องรีบดำเนินการแก้ไขปัญหา ไม่ต้องให้ไปฟ้องร้องกันในศาล
  3. ประเด็นสำคัญที่สุดที่อยากจะเขียน คือ คนที่ผิดในเรื่องนี้คือหน่วยงานของรัฐด้วยกันต่างหาก ทั้งกรมบัญชีกลาง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่ดูระเบียบใหม่ปี 2552 และที่น่าจะผิดมากกว่า คือ กรมบัญชีกลาง เพราะระเบียบใหม่ประกาศตั้งแต่ปี 2552 ทำไมจึงเพิ่งมาทวง และที่สำคัญทำไมถึงไปแจ้งให้องค์กรปกครองท้องถิ่นไปเรียกเงินคืนจากผู้สูงอายุ ทั้งๆ ที่ผู้สูงอายุรับเงินโดยสุจริต ไม่ได้มีเจตนาจะหลอกเอาเงินจากหน่วยงานของรัฐแต่ประการใด เรื่องนี้เป็นความผิดพลาดของหน่วยงานของรัฐกันเอง ทำไมกรมบัญชีกลางไม่หาทางอื่นในการแก้ปัญหา ทำไมถึงผลักภาระความผิดพลาดของตนไปให้ประชาชนเช่นนี้

ดังนั้น ผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนก่อนวันที่ 15 ตุลาคม 2552 ไม่ต้องคืนเงินเบี้ยยังชีพ ส่วนผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2552 เป็นต้นมา ในเมื่อไม่ทราบเรื่องระเบียบใหม่ปี 2552 จึงเป็นการรับเบี้ยยังชีพโดยสุจริตเมื่อใช้หมดไปแล้วก็ไม่ต้องคืน วอนรัฐบาลต้องรีบแก้ปัญหา สั่งการไปที่กรมบัญชีกลาง และกระทรวงมหาดไทย อย่าให้เทศบาล และ อบต. ไปทวงเงินกับผู้สูงอายุอีก พร้อมแนะนำว่า ผู้สูงอายุอย่าไปเซ็นยินยอมรับสภาพหนี้ หรือผ่อนจ่ายรายเดือน แต่หากเซ็นยินยอมไปแล้ว ไม่ต้องกลัว เพราะตามข้อกฎหมายไม่ต้องคืนเงิน แม้จะมีการไปฟ้องร้อง เจ้าหน้าที่รัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่นแพ้แน่นอน.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ชายถูกยิงในซิดนีย์หลังมีรายงานเหตุแทงกันในห้างฯ

ตำรวจของนครซิดนีย์ ของออสเตรเลียรายงานว่า ชายคนหนึ่งถูกยิงที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในนครซิดนีย์ในวันนี้หลังมีรายงานข่าวว่า มีผู้ถูกแทงหลายคนในห้างสรรพสินค้าดังกล่าว

ลำปาง เสาไฟฟ้าแรงสูงล้มกว่า 20 ต้น ทับรถ 7 คัน

พายุฝนถล่มลำปาง เสาไฟฟ้าแรงสูงล้มกว่า 20 ต้น ทับรถ 7 คัน รถยังไม่สามารถออกได้ เจ้าหน้าที่ระดมกำลังเร่งเคลียร์เพื่อสะดวกในการจารจรช่วงสงกรานต์ คาดใช้เวลา 5 วัน พร้อมตั้งศูนย์บัญชาการแก้ปัญหาที่ไทวัสดุแล้ว

แม่ร้องลูกชายโดนกลุ่มโจ๋หัวร้อนรุมทำร้ายกะโหลกศีรษะร้าว

แม่ร้องสื่อลูกชายถูกกลุ่มวัยรุ่นหัวร้อนยกพวกนับสิบรุมทำร้ายจนสลบคาที่ วอนตำรวจเร่งจับตัวกลุ่มวัยรุ่นมาดำเนินคดี

ข่าวแนะนำ

จับตาโผ ครม. ‘เศรษฐา 2’ คาดชัดหลัง 18 เม.ย.นี้

โผปรับคณะรัฐมนตรี ‘เศรษฐา 2’ จะมีขึ้นในช่วงปลายเดือนเมษายนนี้ หรืออย่างช้าไม่เกินต้นเดือนพฤษภาคม หลังนายกรัฐมนตรีได้หารือที่พรรคร่วมรัฐบาลแล้ว

ทองทุบสถิติครั้งใหม่ เปิดตลาดขึ้น 600 บาท รูปพรรณทะลุ 42,000 บาท

ทองเปิดตลาด ขึ้น 600 บาท ทองในประเทศทุบสถิติสูงสุดครั้งใหม่ ทองคำแท่ง ขายออก 41,550 บาท ทองรูปพรรณ 42,050 บาท พุ่งตามตลาดโลกและเงินบาทอ่อนค่า

สีสันส่งท้ายสงกรานต์ สุดชุ่มฉ่ำ

เก็บตกสีสันส่งท้ายสงกรานต์ หลายพื้นที่จัดกิจกรรมเล่นน้ำ สุดชุ่มฉ่ำ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเนืองแน่น ช่วงเย็นถึงค่ำคึกคักเป็นพิเศษ