ไอลอว์บุกสภา ยื่น 1 แสนรายชื่อแก้ รธน.ฉบับประชาชน

รัฐสภา 22 ก.ย. -ไอลอว์ นำรายชื่อกว่า 1 แสนรายยื่นสภาฯ แก้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน จี้ ประธานสภา บรรจุเข้าการพิจารณา 23 -24 ก.ย.นี้ ย้ำการแก้รัฐธรรมนูญจะเป็นทางออกของประเทศ


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 13.00 น. กลุ่มโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) พร้อมเครือข่ายภาคประชาชนเดินเท้า เคลื่อนขบวนรถซาเล้งจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเตาปูน มายังอาคารรัฐสภา นำรายชื่อประชาชน 100,732 รายชื่อ ยื่นต่อนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เพื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีนายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เลขาธิการประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นตัวแทนรับมอบ และมีส.ส. พรรคก้าวไกล อาทิ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ นายรังสิมันต์ โรม นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร รวมถึงนายสุทิน คลังแสง ประธานวิปรัฐบาล มาร่วมเป็นสักขีพยาน โดยกลุ่มไอลอว์เรียกร้องให้บรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของประชาชนเข้าสู่วาระการประชุมในวันที่ 23-24 ก.ย.นี้เท่านั้น

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ (ไอติม) ตัวแทนกลุ่มรัฐธรรมนูญก้าวหน้า กล่าวปราศรัยก่อนมอบรายชื่อ100,732 ร่วมแก้รัฐธรรมนูญบริเวณหน้ารัฐสภา ว่า วันนี้เป็นก้าวแรก ของภาคประชาชน ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่าอาจทีความเป็นไปได้ในการดำเนินการของรัฐสภา คือ ลักไก่ล็อคสเปคสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร) จากข้อเสนอพรรคร่วมที่เสนอแก้มาตรา 256 จึงขอให้จับตารัฐสภาว่าจะผ่านโหวตส.ส.ร.หรือไม่ ลักไก่ 2 คือไม่มีการแตะเรื่องที่มา ส.ว. หรือปล่อยส.ว. ลอยนวล หากมาตรา 272 ที่เกี่ยวข้องกับอำนาจส.ว. ในโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ยังมีก็ยังไม่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งจะจับตาดูว่าการพิจารณาของรัฐสภา 2 วันนี้จะมีประเด็นใดถูกแก้หรือไม่


นายจอน อึ้งภากร ผู้อำนวยการไอลอร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐสภาไม่เคยให้ความสำคัญกับกฎหมายภาคประชาชน วันนี้จะรอดูท่าที ฝากนายชวน หากไม่รับพิจารณา จะสะท้อนให้เห็นว่าไม่เป็นนักประชาธิปไตย

นายสุทิน คลังแสง กล่าวว่า จะเดินหน้าผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญเต็มที่ โดยเจตนารมย์สอดคล้องกับทางกลุ่ม ไอลอว์ เตรียมเสนอให้ภาคประชาชนมาร่วมเป็นกรรมาธิการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในวาระสอง วาระสาม

สำหรับประเด็นหลัก ๆ ที่กลุ่มไอลอร์และเครื่อข่ายเสนอให้แก้ไข คือ ที่มาของนายกรัฐมนตรี ต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของทั้งสองสภา และกำหนดให้มี ส.ส.ร. 200 คน มาจากการเลือกตั้ง


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มมวลชนได้ตั้งเวทีปราศรัยชั่วคราวด้านประตูทางเข้าอาคารรัฐสภา ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้ปิดประตูทางเข้า 2 ช่องทาง เปิดให้เข้าภายในรัฐสภา 1 ช่องทาง ออกจากรัฐสภา 1 ช่องทาง ท่ามกลางมาตรการรักษาความปลอดภัยบริเวณพื้นที่ด้านหน้าอาคารรัฐสภาเข้ม โดยใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจากสถานีตำรวจนครบาลบางโพ มาดูแลความเรียบร้อย แต่ไม่มีการปิดการจราจร ถนนหน้ารัฐสภาแต่อย่างใด หลังยื่นหนังสือแล้วกลุ่มมวลชนได้ทยอยเดินทางกลับ.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง