ผบ.ทสส. ถก ผบ.เหล่าทัพ เห็นพ้องศึกษาพัฒนาการปฏิบัติการพิเศษ

หอประชุมกองทัพเรือ 18 เม.ย.- ผบ.ทสส. นั่งหัวโต๊ะถก ผบ.เหล่าทัพ ขอบคุณกำลังพลช่วยเหลือกรณีแผ่นดินไหว ดูแลความปลอดภัยสงกรานต์ ขณะทุกเหล่าทัพเห็นพ้องร่วมกันศึกษาแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติการพิเศษ เพื่อเป็นแนวทางพัฒนากองทัพไทยร่วมกันต่อไป


พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานการประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2568 โดยมี พลเอก พนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้บัญชาการทหารบก ,พลเรือเอก จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ,พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ และพลตำรวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้าร่วมประชุม ณ หอประชุมกองทัพเรือ

โดย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ขอบคุณเหล่าทัพ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ร่วมปฏิบัติภารกิจในการสนับสนุนรัฐบาลเป็นอย่างดี โดยเฉพาะงานด้านความมั่นคงตลอดช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา ทั้งการดูแลความปลอดภัยประชาชนในพื้นที่ชุมชน การอำนวยความสะดวกในการสัญจร ตลอดจนเฝ้าระวังป้องกันยาเสพติด สิ่งผิดกฎหมาย และความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดน รวมถึงการช่วยเหลือประชาชนจากภัยพิบัติต่างๆทั้งในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะกรณีแผ่นดินไหว จนเกิดเหตุการณ์ตึก สตง. ถล่ม


พร้อมกันนี้ ได้เน้นย้ำให้เหล่าทัพ ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงกลาโหม ด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ ทุ่มเท และเสียสละ เพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชน และสถาบันพระมหากษัตริย์ ดำรงการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจการรักษาความมั่นคงตามแนวชายแดน อย่างเต็มที่ ตลอดจนพัฒนากำลังพลให้มีความรู้ความสามารถ เพื่อการปฏิบัติการพิเศษในอนาคตได้ทุกรูปแบบ

สำหรับการประชุมในวันนี้ ได้รับทราบแนวทางการพัฒนา การปฏิบัติการพิเศษร่วมของทุกเหล่าทัพ โดย กองบัญชาการกองทัพไทย ได้เสนอแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถการปฏิบัติการพิเศษร่วม อาทิ การเตรียมกำลัง โดยในมิติการรบ ได้ขยายขีดความสามารถของกำลังพลศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ให้สามารถปฏิบัติการร่วมกับหน่วยปฏิบัติการพิเศษของเหล่าทัพในภารกิจป้องกันประเทศได้ ส่วนด้านการปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงคราม ได้จัดทำบัญชีพร้อมเรียกปฏิบัติงาน (On Call List) ของกำลังพลหน่วยปฏิบัติการพิเศษของทั้งฝ่ายทหารและตำรวจ เพื่อให้สามารถรองรับสถานการณ์การก่อเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา รวมถึงพัฒนาหลักสูตรการบริหารวิกฤตการณ์ พัฒนาระบบสนับสนุนการฝึกอบรม ตลอดจนได้เตรียมการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากลสู่การเป็นสถาบันป้องกันและตอบโต้สถานการณ์วิกฤตนานาชาติ

ส่วนกองทัพบก ได้เสนอเรื่อง “การปฏิบัติการพิเศษร่วมของกองทัพบก” มุ่งยกระดับการปฏิบัติการพิเศษร่วม ให้มีความพร้อม ครอบคลุมทุกมิติ และบูรณาการกำลัง การฝึก รวมถึงความร่วมมือทั้งภายใน และระหว่างประเทศ เพื่อปกป้องความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติอย่างรอบด้าน โดยมี หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ รับผิดชอบภารกิจปฏิบัติการพิเศษของกองทัพบก สำหรับการเตรียมกำลังและใช้กำลังนั้น เป็นไปตามแผนแม่บทพัฒนากำลังระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565–2570) ภายใต้กระบวนการ “วงจรนักรบพิเศษ” ซึ่งครอบคลุมการฝึกในหน่วย และการปฏิบัติราชการสนามในวงรอบ 4 ปี เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถอย่างเป็นระบบ


ขณะที่ กองทัพเรือ ได้เสนอ “การปฏิบัติการพิเศษของกองทัพเรือ” ว่าปัจจุบันมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการพิเศษร่วม คือ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ หรือ นสร.กร. ทำหน้าที่จัด และเตรียมกำลังสำหรับปฏิบัติการสงครามพิเศษทางเรือ ปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงคราม และปฏิบัติกิจพิเศษที่ได้รับมอบหมาย อีกทั้งยังได้กำหนดให้มีแนวทางพัฒนาขีดความสามารถของทัพเรือทั้งในด้านองค์บุคคล ด้านองค์วัตถุ ด้านองค์ยุทธวิธี เพื่อให้พร้อมเผชิญภัยคุกคามในทุกมิติ ทำให้กองทัพเรือสามารถติดตามสภาพสถานการณ์ทางทะเล ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติการทั้งสองฝั่งทะเล ได้อย่างต่อเนื่อง

ด้านกองทัพอากาศ ได้นำเสนอการปฏิบัติการพิเศษร่วม ในการเตรียมกำลังและใช้กำลังหน่วยปฏิบัติการพิเศษ โดยมีกรมปฏิบัติการพิเศษ จำนวน 3 กองพัน ขึ้นตรงการปฏิบัติกับหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน ภายใต้การบังคับบัญชาของ ผู้บังคับการกรมปฏิบัติการพิเศษ ได้แก่ กองพันปฏิบัติการพิเศษ 1 บรรจุเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษคอมมานโด เพื่อต่อต้านการก่อการร้าย การรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ การรักษาความปลอดภัยบนอากาศยานขณะทำการบิน ,กองพันปฏิบัติการพิเศษ 2 บรรจุเจ้าหน้าที่ค้นหาและช่วยชีวิต หรือ PJ เพื่อค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากอากาศยาน และกองพันปฏิบัติการพิเศษ 3 บรรจุเจ้าหน้าที่ควบคุมการรบ หรือ CCT เพื่อควบคุมการโจมตีทางอากาศในพื้นที่การรบ และสนับสนุนการปฏิบัติการลำเลียงทางอากาศยุทธวิธี

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ดำเนินการพัฒนาขีดความสามารถในหัวข้อเรื่อง “การปฏิบัติการพิเศษร่วมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ” โดยมี หน่วยปฏิบัติการพิเศษของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เช่น หน่วยคอมมานโด (Commando) หน่วยหนุมาน กองกำกับการต่อต้านการก่อการร้าย อรินทราช 26 ฯลฯ ทำหน้าที่หลักในการเป็นชุดจู่โจม ปิดล้อมตรวจค้น และการปฏิบัติการพิเศษร่วมในเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ โดยเฉพาะตำรวจพลร่มชุดกู้ภัย จากกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้ร่วมกับหน่วยกู้ภัยจากทุกภาคส่วน ทั้งเจ้าหน้าที่ของหน่วยราชการและอาสาสมัคร เดินหน้าปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบเหตุอาคาร สตง. ถล่มด้วย-313 .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

รถทัวร์โดยสารชนท้ายเทรลเลอร์ เสียชีวิต-บาดเจ็บจำนวนมาก

รถทัวร์โดยสารชนท้ายรถบรรทุกเทรลเลอร์ บนถนนสาย 304 จังหวัดปราจีนบุรี ทำให้ไฟลุกไหม้รถทัวร์โดยสาร เบื้องต้นมีรายงานผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจำนวนมาก

ชาวบ้านยอมรับค่าเยียวยาหลังละ 1 หมื่นบาท จากเจ้าของที่ดิน

ชาวบ้านยอมรับการเยียวยา บ้านละ 1 หมื่นบาท จากเจ้าของที่ดินใน จ.ระยอง หลังถมที่สูงมิดหลังคาของเพื่อนบ้าน และรับปากจะเร่งแก้ไขให้ทันหน้าฝนที่จะถึงนี้ แต่ชาวบ้านยังหวั่นใจ หากแก้ไขไม่ทันก็ยังจะเดือดร้อน น้ำจะไหลลงมาบ้านที่อยู่ต่ำกว่า

“พีช” หอบเงิน 2 แสน หวังจ่ายค่ารักษาลุงป้า แต่ญาติชิงจ่ายแล้ว

“นายกเบี้ยว” พร้อมลูกชาย หอบเงิน 2 แสน หวังจ่ายค่ารักษาลุงป้า แต่ญาติชิงจ่ายก่อนแล้ว จึงฝากจดหมายขอโทษไว้ ด้าน “กัน จอมพลัง” ยอมถอย ให้สองฝ่ายพูดคุย แต่ต้องเป็นรูปธรรม

ข่าวแนะนำ

รวบทันควัน คนร้ายบุกเดี่ยวชิงเงินธนาคาร

จับแล้ว คนร้ายบุกเดี่ยวชิงทรัพย์ธนาคารกลางเมืองเชียงใหม่ ได้เงินสดกว่า 40,000 บาท ก่อนวิ่งหลบหนี ล่าสุดจนมุมตำรวจรวบตัวได้ที่ศาลาริมทางข้างถนน

โป๊ปฟรังซิส สิ้นพระชนม์แล้ว ขณะพระชนมายุ 88 พรรษา

สำนักวาติกัน แถลงผ่านทางโทรทัศน์ของสำนักวาติกันว่า สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระประมุขแห่งพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกและพระประมุขแห่งนครรัฐวาติกันสิ้นพระชนม์แล้วในวันนี้

Pope inaugurated the Holy Year on Christmas Eve on December 24, 2024

เปิดพระประวัติโป๊ปฟรังซิส

วาติกัน 21 เม.ย.- เว็บไซต์ข่าวโทรทัศน์ซีเอ็นบีซี (CNBC) ของสหรัฐ เปิดพระประวัติที่น่าสนใจ 10 ประการของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระประมุขแห่งพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกและพระประมุขแห่งนครรัฐวาติกัน ที่สิ้นพระชนม์วันนี้ (21 เม.ย.68) ขณะมีพระชนมายุ 88 พรรษา ประการที่ 1 ทรงเป็นพระสันตะปาปาลาตินอเมริกันและเยสุอิตคนแรก สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส มีพระนามเดิมว่า ฮอร์เก มาริโอ เบร์โกกลิโอ ประสูติวันที่ 17 ธันวาคม 2479 ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา เป็นพระสันตะปาปาลาตินอเมริกันคนแรกของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก แตกต่างจากผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาเกือบ 200 คน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากอิตาลี ทรงมาจากนอกทวีปยุโรปในฐานะพระสันตะปาปาพระองค์ที่ 266 และเป็นนักบวชคณะเยสุอิตคนแรกที่ขึ้นดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปา ประการที่ 2  ทรงมีพื้นเพมาจากอิตาลี แม้ว่าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสประสูติในอาร์เจนตินา แต่ท่านมีมรดกทางชาติพันธุ์จากอิตาลี จากการที่บิดามารดาเป็นผู้อพยพชาวอิตาลี บิดาทำงานเป็นนักบัญชีในทางรถไฟ ขณะที่มารดาอุทิศตนให้กับการเลี้ยงลูกทั้ง 5 คน ประการที่ 3 ทรงศึกษาด้านเคมีและปรัชญา สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสศึกษาปรัชญาและมีปริญญาโทในด้านเคมีจากมหาวิทยาลัยบัวโนสไอเรส ทรงศึกษาในโรงเรียนเทคนิคและได้ฝึกอบรมเป็นช่างเทคนิคเคมี ก่อนเข้าเรียนที่โรงเรียนสอนศาสนาแห่งอัครสังฆมณฑลบิญญา เดโวโต […]