พรรคประชาชน 18 ก.พ.- “เท้ง” นำ 44 อดีต สส.ก้าวไกล แถลงจุดยืนหลังถูกเรียกรับทราบข้อกล่าวหาผิดจริยธรรม เตรียมขอขยายเวลา อ้างติดเตรียมข้อมูลอภิปราย เชื่อเป็นการเมืองแน่ เล็งไม่นิ่งเฉยกรณีประธาน ป.ป.ช. ดอดพบประธานสภา
นายณัฐพงศ์ เรืองปัญญาวุฒิ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาชน แถลงจุดยืนต่อกรณีที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ส่งหนังสือให้อดีต 44 สส.พรรคก้าวไกล ที่เคยลงชื่อเสนอร่างกฎหมายแก้ไขความผิดคดี ม.112 ไปรับทราบข้อกล่าวหา โดยยืนยันการทำหน้าที่ของพวกตนทุกคนในการยื่นร่างแก้ไขกฎหมาย เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ตามกระบวนการ นิติบัญญัติ ไม่ควรที่จะต้องผิดกฎหมายข้อหนึ่งข้อใดเลย ไม่ควรจะต้องถูกร้องเป็นเรื่องของความผิดจริยธรรมร้ายแรง ดังนั้นพวกตนยืนยันที่จะเดินหน้าต่อ และช่วงนี้อยู่ในช่วงของการเตรียมการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล และกรณีนี้มีกรอบเวลา 15 วัน ดังนั้นหลังจากนี้จะขอใช้การขยายกรอบเวลาออไปก่อน และหลังจากรับทราบข้อกล่าวหาของป.ป.ช.ในเบื้องต้นแล่วอย่างน้อยเพื่อให้พวกเราสามารถรับทราบรายละเอียดข้อกล่าวหาของป.ป.ช.รวมถึงพยานหลักฐานที่ทางป.ป.ช ได้รวบรวมมาก่อน และขอยืนยันพวกเราไม่ได้มีความเสียสมาธิใดๆ และคดีนี้ไม่ส่งผลกระทบกับพวกเราใด ๆ ทั้งสิ้น ยังยืนเดินหน้าทำงาน เพื่อพี่น้องประชาชนต่อไป
นายณัฐพงษ์ กล่าวว่าขณะนี้ทุกคนได้ เตรียมแก้ข้อกล่าวหาแล้ว เบื้องต้นแล้วทราบมาว่าคดีนี้ไม่ใช่คดีชุด ดูตามความผิดที่เขากล่าวหาเราเป็นรายบุคคล ดังนั้นในตัวคดีดังกล่าว เราเตรียมทีมกฎหมายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ที่จะแก้ข้อกล่าวหาใดๆ ก็ตามที่ดูเป็นรายบุคคล ไม่ยอมที่จะให้ป.ป.ช. มัดมารวมทำเป็นคดีกลุ่มที่จะมาเป็นกระบวนการ จึงอยากให้ใช้มาตรฐานเดียวกัน หากย้อนกลับไปดูหลายกรณี ใช้เวลาการฟ้องร้องเป็นรายบุคคลใช้เวลาหลายส่วนเป็นปี ก่อนที่ป.ป.ช.จะยื่นไปศาลฎีกา เราไม่อยากให้ป.ป.ช.มีหลายมาตรฐาน ไม่อยากให้คดีนี้ เร่งรัดจนผีดสังเกต
ทั้งนี้การเข้าชี้แจงข้อกล่าวหามีการแบ่งไว้แล้ว แต่จะเป็นใครบ้างนั้นยังไม่เปิดเผย เพราะเกรงว่าจะกระทบต่อการทำงาน ยืนยันชุดใหญ่หลายสิบคน แต่เป็นใครบ้างยังไม่ขอเปิดเผย แต่สิ่งที่พวกเราทำได้คือการเดินหน้าทำงานอย่างเต็มที่ และเชื่อมั่นว่าเพื่อนสมาชิกรวมทั้งเพื่อนส.ส.คนอื่นสามารถทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างเต็มที่ ทั้งในและนอกสภา ดังนั้นสิ่งที่ทำอยู่ยืนยันไม่เสียสมาธิ ต่อการฟ้องร้องดำเนินคดีในลักษณะนี้เดินหน้าทำงานต่อ สุดท้ายเสียงของประชาชน ก็จะเป็นคนที่สนับสนุนเราต่อไป
“ยืนยันไม่น่าส่งผลกระทบใด ๆ ต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เพราะเราจะขยายสิทธิเวลาในการรับทราบข้อกล่าวหาเพราะเรามีภารกิจสำคัญในการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมนี้” นายณัฐพงษ์ กล่าว
เมื่อถามว่าได้วางแผนรองรับอย่างไร หากเกิดผลในทางลบ นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า ตรงนั้นเป็นเรื่องในอนาคตที่เราต้องดูก่อน ถ้าเกิดเคสกรณีแบบนั้นจริงๆ คิดว่าไม่กระทบต่อการทำงานใด ๆ และการความเป็นสภาผู้แทนราษฎรไม่ใช่ทำงานแค่ในสภาอย่างเดียว แต่เราสามารถทำงานเพื่อประชาชน ดำรงตำแหน่งที่ไหนก็ได้ แต่ยังไม่ขอตอบล่วงหน้าเร็วเกินไป เพราะยังไม่ได้รับทราบ ข้อกล่าวหาของป.ป.ช.รวมทั้งพยานหลักฐานที่มีอยู่เมื่อถามว่า มองเป็นประเด็นการเมือง หรือไม่ นายณัฐพงศ์กล่าวว่าหลายคนมีการตั้งข้อสงสัยว่าเกี่ยวข้องอะไรกันหรือไม่กับกรณีที่เกิดขึ้น ตัวประธานเอง เกี่ยวข้องไหมกับการที่มีการยื่นหนังสือเร็วๆนี้ คิดว่าสามารถประเมินได้ แต่ไม่อยากให้เป็นเรื่องของการคาดเดา ขอดูข้อเท็จจริงก่อนว่าเป็นอย่างไร
ประเด็นเรื่องนี้เป็นประเด็นที่ค่อนข้างใหญ่และตนในฐานะสส.ฝ่ายค้าน ไม่สามารถที่จะนิ่งเฉยต่อกรณีนี้ได้ ซึ่งวาระที่ประชุมสส.วันนี้ จะหารือเรื่องนี้อยู่ และเชื่อมั่นว่า เพื่อนสมาชิกของพรรคประชาชนทุกคนจะเห็นด้วยในหลักการส่วนจะดำเนินการอย่างไรตามข้อกฎหมายที่มีอยู่ ซึ่งมีอยู่หลายช่องทาง ขอรอหารือในที่ประชุมสส. ก่อน แต่หลักฐานที่เห็นชัด ก็คือมีการเข้าชื่อเพื่อร้องเรียนต่อตัวประธานป.ป.ช. และการที่ไปพบประธานรัฐสภา ซึ่งเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในกระบวนการร้องเรียนต่างๆ อยู่ขณะนี้ ถือเป็นสิ่งที่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อน หรือพูดง่ายๆว่าเข้าไป”วิ่ง”เพื่อเป่าคดีหรือไม่ ซึ่งลักษณะเช่นนี้ไม่ควรเกิดขึ้น ดังนั้นก็สรุปอย่างที่ตนได้บอกไปว่า พวกเราในฐานะพรรคฝ่ายค้านคงไม่นิ่งเฉยต่อกรณีดังกล่าว
สำหรับมีคนจากพรรคประชาชนไปเป็นพยาน 4คนนั้น นายณัฐพงศ์ กล่าวว่ เราไม่ขอเปิดเผยรายชื่อและถือเป็นเอกสิทธิ์ของแต่ละคน ยังไม่ขอให้รายละเอียดขอรับทราบข้อกล่าวหาจากป.ป.ช. ก่อนจะได้รู้ถึงหลักฐานต่างๆ ที่มี และไม่คิดว่าเกี่ยวข้องกับการ “ลอยแพ” หรือไม่ลอยแพพรรค เพราะเอกสิทธิ์ที่จะให้ปากคำ หรือกล่าวหา อยู่ที่ตัวพวกเขาเอง สุดท้ายเราก็รู้กันอยู่ว่าคดีนี้เป็นคดีทางการเมือง ซึ่งประชาชนที่กำลังเฝ้ามองอยู่ ก็จะตัดสินได้เองว่าใครที่อยู่ข้างประชาชนมากที่สุด และยืนยันว่าเราดำเนินการโดยอาศัยอำนาจนิติบัญญัติที่ฟ้องร้องว่าเราผิดจริยธรรมร้ายแรงนั้นไม่ควรเกิดขึ้น และมองว่าตัวปัญหาคือง รัฐธรรมนูญ จึงให้ความสำคัญกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ก็รู้สึกเสียดายว่าการประชุมร่วมรัฐสภาที่ผ่านมาประชุมล่ม ไม่สามารถแก้ไขได้ หากเป็นเช่นนี้ปัญหาการฟ้องร้องทางจริยธรรมให้นักการเมืองหลุดออกจากตำแหน่งก็ยังคงมีอยู่ต่อไป.-312 -สำนักข่าวไทย