ทร.จัดเสวนา หลักกฎหมายว่าด้วยอาณาเขตทางทะเล สื่อจี้ถามจุดยืนปักปันเขตแดน

กรมยุทธศึกษา 3 ธ.ค.-ทร. จัดเสวนาวิชาการ หลักกฎหมายว่าด้วยอาณาเขตทางทะเล สื่อจี้ถามจุดยืนปักปันเขตแดน-จัดการผลประโยชน์ทับซ้อน “ไทย-กัมพูชา” วิทยากรบอก ตอบไม่ได้ โยนไปถามวงระดับชาติ ด้านผู้สื่อข่าวสวน พวกท่านคือผู้เชี่ยวชาญ! ทำไมตอบคำถามไม่ได้

กรมยุทธศึกษา กองทัพเรือ จัดงานเสวนาวิชาการ เรื่องหลักกฎหมายว่าด้วยอาณาเขตทางทะเล เพื่อชี้ให้เห็นถึงบทบาทของกองทัพเรือ ความท้าทายที่กองทัพเรือต้องเผชิญ โดยมีวิทยากรประกอบด้วย นาวาเอกเกียรติยุทธ เทียนสุวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารเรือ , นาวาเอกหญิงมธุศร เลิศพานิช รองผู้อำนวยการกองกฤษฎีกา สำนักงานพระธรรมนูญทหารเรือ , นาวาเอก รชต โอศิริ ผู้อำนวยการโรงเรียนอุทกศาสตร์ กรมอุทกศาสตร์ และนาวาเอก ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมาน ได้รายรัมย์ อาจารย์ฝ่ายศึกษา โรงเรียนนายเรือ


ช่วงหนึ่ง นาวาเอก รชต ได้ยกตัวอย่าง พื้นที่ไทยกับมาเลเซียในอดีต ที่มีพื้นที่ทับซ้อนกันอยู่ 7,250 ตารางกิโลเมตร สาเหตุของการทับซ้อนของไหล่ทวีปไทยกับมาเลเซีย หลักๆจะเกิดจากเกาะโลซิน ซึ่งไทยเป็นเจ้าของ ส่วนมาเลเซียเห็นว่าเกาะโลซินมีขนาดเล็ก และอยู่ไกล จึงไม่ให้นับมาอ้างสิทธิ์ได้ ซึ่งที่ผ่านมาไทยกับมาเลเซียก็มีการพูดคุยกันมาอย่างต่อเนื่องก่อนปี 2515 โดยก่อนหน้านี้เคยมีปัญหากัน เช่น การจับกุมหรือประมง การเผชิญหน้าของกำลังทั้งสองฝ่าย จนกระทั่งปี 2515 ไทยกับมาเลเซียก็มาพูดคุยกันว่าจะทำอย่างไรเมื่อเขตทางทะเลไม่ชัดเจน โดยเริ่มตกลงกันที่ทะเลอาณาเขต เราใช้เวลา 7 ปี สุดท้ายตกลงว่าใช้ประโยชน์ร่วมกัน จะเห็นได้ว่าใช้เวลาไม่นาน และตั้งคณะกรรมการร่วม

บริเวณที่สองคือ การอ้างสิทธิ์ทับซ้อนไทยกับเวียดนาม ซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน กับเวียดนามเราใช้ความจริงใจในการพูดคุย เราใช้การคุยกันถึง 9 ครั้ง 5 ปี ด้วยความเข้มข้น จนได้รับการชื่นชมจากหลายประเทศ


ด้านนาวาเอก เกียรติยุทธ เทียนสุวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารเรือ กล่าวว่า กองทัพเรือนั้นยึดแผนที่แสดงอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของประเทศไทย ซึ่งต้องคุ้มครอง และดูแลพื้นที่ที่อ้างสิทธิอย่างเต็มที่ ซึ่งปัจจุบันนั้นได้ดำเนินการอยู่ ส่วนอีกเส้นที่มีการอ้างสิทธิ ก็เป็นเรื่องของคณะทำงานของรัฐดำเนินการ เพราะฉะนั้นขอย้ำว่า กองทัพเรือ กองทัพบกและกองทัพอากาศ ยึดแผนที่นี้เป็นหลัก

โดยบรรยากาศในช่วงท้าย ผู้สื่อข่าวถามถึงจุดยืนของกองทัพเรือในการแบ่งผลประโยชน์พื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชาว่า ควรจะได้ข้อยุติทางเส้นเขตแดนก่อน หรือจะเจรจาผลประโยชน์ควบคู่ไปเลย รวมทั้งขอให้กองทัพเรือชี้แจงเหตุผลในแต่ละทางเลือกด้วย นอกจากนี้ยังขอให้กองทัพเรือ ชี้แจงหลักเกณฑ์ในการปักปันเขตแดน

โดยนาวาเอก รชต ตอบคำถามว่าประเทศไทยมีคณะกรรมการที่ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการชายแดน ทั้งทางบกและทางทะเล โดยคณะกรรมการดังกล่าวมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญ และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ตนคิดว่าการดำเนินการดังกล่าวก็มีผู้ดำเนินการโดยตรงอยู่ กองทัพเรือก็มีหน้าที่สนับสนุนทั้งผู้เชี่ยวชาญต่างๆและด้านความมั่นคงแก่คณะกรรมการดังกล่าว


นาวาเอก ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมาน กล่าวว่า ตนขอเสริมในเรื่องความสลับซับซ้อน ในครั้งที่มีการลงนาม MOU 44 สภาวะแวดล้อมและปัจจัย รวมถึง เวลาเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง แต่พอมาถึงปัจจุบัน ผ่านมากว่า 20 ปี สภาวะแวดล้อม และปัจจัยในการหาข้อยุติ ตนคิดว่า ยิ่งสลับซับซ้อน พร้อมยกตัวอย่างว่า ในห้องเรียน ตนให้โจทย์เรื่องการปักปันดินแดน นักเรียนสามารถหาคำตอบได้ภายใน 2 ชั่วโมง แต่เมื่อใส่ปัจจัยต่างๆเข้าไป เช่น พื้นที่ทับซ้อน เวลาก็เพิ่มขึ้น ความยุ่งยากนั้นเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ และอีกอย่างหนึ่งมันมีอะไรที่อยู่ในใจ สภาวะแวดล้อมต่างๆเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ซึ่งอีก 10 ปี 20 ปีข้างหน้า ก็ต้องเปลี่ยนไป ปัจจัยการพิจารณาก็ต้องเปลี่ยนไป

ผู้สื่อข่าวถามยังถึงจุดยืนของกองทัพเรือว่า กองทัพเรือทำตามที่ คณะกรรมการ JTC เห็นชอบ ถ้าเห็นชอบว่าการแบ่งผลประโยชน์ ในพื้นที่ทับซ้อนควรทำคู่ขนานกันไปกับการปักปันเขตแดน ก็จะทำตามนั้นใช่หรือไม่

ทำให้นาวาเอก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมาน ตอบกลับว่า “ในเวทีนี้ผมขออนุญาต พวกเราไม่สามารถที่จะตอบ ในระดับที่ผู้บริหารของกองทัพ ผมขออนุญาตจริงๆว่า ไม่สามารถตอบได้”

ต่อมาผู้สื่อข่าวถามกลับทันทีว่า “ขออนุญาตเช่นเดียวกัน พวกท่านคือผู้เชี่ยววชาญ ทางด้านทะเลและกฎหมาย อะไรต่างๆ ควรจะตอบคำถามนี้ได้ ทำไมถึงตอบไม่ได้”

จากนั้นนาวาเอก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมาน ระบุว่า “หากตอบได้ ก็จะตอบ” ทำให้ผู้สื่อข่าวที่ถามว่า “ก็ต้องตอบตามหลักการที่กองทัพเรือ เห็นว่าถูกต้อง และเป็นผลประโยชน์ของประเทศ ตามที่ท่านได้ศึกษามา หลักการเรื่องอาณาเขตทางทะเล ที่พูดมา 1-2 ชั่วโมง อยากทราบว่า กองทัพเรือยึดในหลักการอะไร”

ซึ่งนาวาเอก เกียรติยุทธ ตอบคำถามว่า กองทัพเรือในแง่ทางเทคนิค ไม่ว่าจะเป็นการ ปักปันเขตก่อนแบ่งผลประโยชน์ หรือทำอะไรก่อน เป็นส่วนที่เกินอำนาจของกองทัพเรือ เราได้แต่สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญมาจากหลายฝ่าย ไม่ได้มาจากกองทัพเรือฝ่ายเดียว แต่มาจากกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เพราะฉะนั้นตรงนี้จึงยังไม่สามารถบอกได้ว่า ท้ายที่สุดแล้ว คำตอบจะออกมาเป็นอย่างไร

“ต้องขออนุญาตจริงๆ ต่องไปเวทีระดับชาติ แต่ บทบาทของกองทัพเรือ ที่ผมนำเรียน เรามองแผนที่ เราต้องการเส้นตรงนั้น (เส้นเขตแดน) นั่นแหละครับ เราปกป้องเส้นตรงนั้นนั่นแหละครับ เราไม่เห็นเส้นอื่น ตรงนี้ยืนยันว่า เรายังปกป้องเส้นตรงนั้นอยู่ ตราบใดที่ยังไม่มี อะไรที่ออกมาจากการตัดสินใจของรัฐบาล กองทัพเรือยังยึดถือเส้นตรงนั้นอย่างเคร่งครัด”

ผู้สื่อข่าวจึงถามต่อว่า หากมีนโยบายออกมาชัดเจนแล้ว กองทัพเรือก็พร้อมที่จะปฏิบัติตามโนบายถูกต้องหรือไม่ นาวาเอก เกียรติยุทธกล่าวว่า หากนโยบายดังกล่าวถูกต้องตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายเพื่อปวงชนชาวไทย กองทัพเรือ จะต้องทำหน้าที่ ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบาย อย่าลืมว่า รัฐบาลก็มาจากประชาชน ดังนั้นกองทัพถือว่ารัฐบาลเป็นเสียงของประชาชน

จากนั้นผู้สื่อข่าวจึงท้วงว่า ยังไม่ได้ตอบคำถามข้อที่ 2 ที่ถามว่ากองทัพเรือจะใช้หลักการใดให้ได้ข้อยุติในการปักปันเขตแดน นาวาเอก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมาน กล่าวว่า เราต้องยึดหลักกฎหมายทะเล ที่เป็นไปตามความเที่ยงธรรม ซึ่งต้องบอกว่า ความเที่ยงธรรมเป็นนามธรรมมากๆ แต่สิ่งที่กองทัพเรือและกรมอุทกศาสตร์ พยายามทำคือ ทำความเที่ยงธรรมที่เป็นนามธรรมนี้ ให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดความการยอมรับของทุกฝ่าย ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องหาจุดร่วมกันให้ได้ เราจะพิสูจน์ให้เขายอมรับได้อย่างไร โดยต้องยอมรับว่าอีกฝั่งหนึ่ง เขาก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า เที่ยงธรรมอย่างไร.-313.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

แจ้งข้อหาเพิ่ม “ทนายตั้ม” คดี 39 ล้านบาท รวม 7 ข้อหา

แจ้งข้อหาเพิ่ม “ทนายตั้ม” คดี 39 ล้านบาท รวม 7 ข้อหา จ่อแจ้งข้อหา “นุ-แซน” เพิ่มเติม และเชื่อว่ามีบุคคลอื่นที่ต้องถูกดำเนินคดีอีก ส่วน “ฟิล์ม รัฐภูมิ” ยังไม่ประสานเข้าพบหลังออกหมายเรียก

วิสามัญมือยิงประธานสภา อบต.โพนจาน ยิงสู้ จนท.

วิสามัญมือยิงประธานสภา อบต.โพนจาน จ.นครพนม หลังหนีข้ามมา จ.ขอนแก่น เจ้าหน้าที่ปิดล้อมเกลี้ยกล่อมให้วางอาวุธ แต่ไม่สำเร็จ คนร้ายยิงต่อสู้

ขู่ยื่นเอาผิด รมว.ดีอี ปล่อยโฆษณาหลอกหลวง ปชช.

รัฐสภา 3 ธ.ค. – กมธ.ไอซีที สว. ขู่ ยื่น ม.157 เอาผิด รมว.ดีอี ฉุนเกียร์ว่าง ปล่อยโฆษณาหลอกหลวง ประชาชน – ปล่อย “หมอบุญ” หนีลอยนวล จี้รัฐยกปราบหลอกลวงออนไลน์เป็นวาระแห่งชาติ นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ สว. ฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม คนที่หก วุฒิสภา แถลงผลการประชุมกมธ. เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. ซึ่งตรวจสอบกรณีการโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ให้ลงทุนในสินทรัพย์ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงอาทิ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรณีของนพ.บุญ วนาสิน ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลธนบุรี ที่พบกรณีฉ้อโกงและฟอกเงิน เป็นมูลค่าสูงกว่า 7,500 ล้านบาท อย่างไรก็ดีในคดีดังกล่าวถูกแจ้งความดำเนินคดีที่ สน.ห้วยขวาง แล้วปี 2566 แต่ไม่มีการดำเนินการใดๆ จนกระทั่งนพ.บุญเดินทางออกไปนอกประเทศและไม่มีการอายัดทรัพย์ ทั้งนี้ในการหลอกหลวงผ่านโฆษณาชวนเชื่อนั้น ทำผ่านโบรกเกอร์ที่หลอกลงทุน ทั้งนี้เชื่อว่าจะเป็นนักลงทุนที่เคยลงทุนที่คุ้นเคยกับเครือโรงพยาบาลธนบุรี “จากการชี้แจงกรณี นพ.บุญของหน่วยงานที่ชี้แจง พบเป็นการโยนกลองกันไปมา ไม่มีหน่วยงานใดที่รับผิดชอบจริงจัง […]

ข่าวแนะนำ

บุญทรงรายงานตัว

“บุญทรง” รายงานตัวครั้งแรกหลังได้พักโทษ

“บุญทรง” รายงานตัวกับเจ้าหน้าที่คุมประพฤติครั้งแรก หลังได้รับการพักโทษจากคดีทุจริตจำนำข้าว ด้านลูกชายเผยพ่อตั้งใจบวชหลังพ้นโทษ

ชุมนุมเกาหลีใต้

นายกฯ ขอคนไทยในเกาหลีใต้ เลี่ยงพื้นที่ชุมนุม

“นายกฯ แพทองธาร” ขอคนไทยในเกาหลีใต้ ระมัดระวังหลีกเลี่ยงพื้นที่ชุมนุม ติดตามข่าวสถานทูตใกล้ชิด หวังสถานการณ์คลี่คลายโดยเร็ว

อัญเชิญพระเขี้ยวแก้ว

อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) จากจีนสู่ไทย

“ชูศักดิ์” นำคณะผู้แทนไทยเดินทางไปยังวัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) มาประดิษฐานในไทยเป็นการชั่วคราว ณ ท้องสนามหลวง ระหว่าง 5 ธ.ค. 67 – 14 ก.พ. 68

ต้มยำกุ้งมรดกโลก

“ต้มยำกุ้ง” ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมฯ ยูเนสโก

เฮ! “ต้มยำกุ้ง” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมฯ โดยยูเนสโก ด้านนายกฯ เชิญชวนลิ้มลองรสชาติความอร่อย มั่นใจเป็นส่วนหนึ่งของ Soft Power ไทย สร้างความมั่นคงด้านอาหาร สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน