ร้องเพิกถอนกฎกระทรวงห้ามออกโฉนดที่ดินบนเกาะเต่า

19 พ.ย. – ชาวบ้านเกาะเต่าร้อง ผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งศาลปกครองเพิกถอนกฎกระทรวงห้ามออกโฉนดที่ดินบนเกาะ “ทนายอนันต์ชัย” ชี้ทำชาวเกาะกลายเป็นพลเมืองชั้น 2 ของประเทศ ท้ารบกรมธนารักษ์ อย่าคิดเป็นหน่วยงานรัฐทำอะไรถูกหมด เจอกันแน่ทั้งศาลปกครอง-ศาลยุติธรรม


นายอนันต์ชัย ไชยเดช ประธานมูลนิธิทนายกองทัพธรรมพร้อมด้วยชาวบ้านเกาะเต่า อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี เข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ตรวจสอบและมีความเห็นเสนอต่อศาลปกครองกลางให้เพิกถอนกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) ข้อที่ 14 (3) ที่กำหนดว่า “ที่ดินจะออกโฉนดที่ดินต้องเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิในที่ดินได้ครอบครองและทำประโยชน์แล้ว และเป็นที่ดินที่สามารถออกโฉนดที่ดินได้ตามกฎหมายแต่ห้ามมิให้ออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดิน ดังต่อไปนี้

(3) ที่เกาะ แต่ไม่รวมถึงที่ดินของผู้ซึ่งมีหลักฐานแจ้งการครอบครองที่ดินมีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ โฉนดตราจองตราจองที่ตราว่า “ได้ทำประโยชน์แล้ว” เนื่องจากเห็นว่ากฎกระทรวงข้อดังกล่าวกำจัดสิทธิเสรีภาพของชาวเกาะ ให้เป็นพลเมืองชั้น 2 ขัดต่อประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 49 ทวิ และขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 มาตรา 26 และมาตรา 27


นายอนันต์ชัย กล่าวว่า ที่ดินเกาะเต่าชาวบ้านได้มีการจับจอง ครอบครองทำประโยชน์และอาศัยอยู่มาตั้งแต่ก่อนปี 2480 ต่อมาปี 2485 กรมราชทัณฑ์ได้มีการก่อสร้างเรือนจำเนื้อที่ 25 ไร่ เพื่อย้ายนักโทษ 54 คน จากเกาะตะรุเตามาอยู่ที่เกาะเต่า จนถึงปี 2487 มีการปล่อยตัวและอภัยโทษ ทำให้เรือนจำดังกล่าวถูกทิ้งร้าง ทำให้ในปี 2490 กระทรวงการคลังได้มีการประมูลขายสิ่งปลูกสร้างเรือนจำ ปัญหามาเกิดขึ้นในปี 2497 ที่ประมวลกฎหมายที่ดินเริ่มใช้บังคับและให้ราษฎรที่ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินไปขึ้นทะเบียนสิทธิครอบครองที่ดินตามแบบการแจ้ง (ส.ค.1) ภายใน 180 วัน แต่ชาวบ้านก็ไม่สามารถไปแจ้งสิทธิ์การครอบครองได้ เนื่องจากพบว่าวันที่ 4 พ.ค. 2598 ตัวแทนของกระทรวงการคลังในขณะนั้นได้แจ้งการครอบครองที่ดินเกาะเต่าเนื้อที่ 15,000 ไร่ คือครอบคลุมทั้งเกาะ ทั้งที่ถ้าจะแจ้งต้องแจ้งแค่ 25 ไร่ที่กรมราชทัณฑ์เคยครอบครอง การกระทำดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและทำให้ราษฎรไม่สามารถแจ้งสิทธิครอบครองที่ดินได้จนถึงปัจจุบัน

นายอนันต์ชัย กล่าวอีกว่า ตลอดหลายปีที่ผ่านมาชาวบ้านมีการยื่นหนังสือร้องเรียนกับหลายหน่วยงานรัฐ โดยในปี 2561 ยื่นร้องเรียนต่อแม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรภาค 4 (กอ.รมน.ภาค 4) ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี และผู้ว่าราชการจังหวัดได้มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินแปลงเกาะเต่า เพื่อหาข้อเท็จจริงมี พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภา ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองบัญชาการช่วยรบที่ 4 เป็นประธานคณะทำงาน ปี 2562 ยื่นต่อผู้ตรวจการแผ่นดินขอความเป็นธรรมในการพิสูจน์สิทธิที่ดินและขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมและใบอนุญาตเกี่ยวกับอาคาร โดยผลการสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานและลงพื้นที่เพื่อสอบข้อเท็จจริงของหน่วยงานต่างๆ มีความเห็นตรงกันว่า เกาะเต่าไม่เป็นที่สงวนหวงห้ามตามกฎหมาย การขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุแปลงเกาะเต่าไม่ถูกต้อง การแจ้งสิทธิ์ครอบครองที่ดิน สค. 1 ของตัวแทนของกระทรวงการคลังเมื่อ 4 พ.ค 2498 ครอบคลุมทั้งเกาะคาดเคลื่อน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อพิจารณาจากผลการตรวจพิสูจน์อายุพืชผลอาสิน เช่น ต้นมะพร้าวในพื้นที่เกาะเต่าซึ่งมีอายุการปลูกตั้งแต่ 2477-2475 การสอบปากคำราษฎรผู้สูงอายุและทายาทจำนวน 47 ราย บ่งชี้ว่าราษฎรมีการถือครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินเกาะเต่ามาก่อน การแจ้งสิทธิครอบครองที่ดินของตัวแทนกระทรวงการคลัง แต่เมื่อแจ้งไปยังกรมธนารักษ์ ซึ่งเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุกลับนิ่ง จนถึงปัจจุบัน ทำให้ล่าสุดราษฎรเกาะเต่ามีการยื่นฟ้องต่อศาลปกครองนครศรีธรรมราช เพื่อขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนที่ราชพัสดุและแบบการครอบครอง ส.ค. 1 ทั้งเกาะจำนวน 15,000 ไร่ โดยเป็นของกรมธนารักษ์เพียง 25 ไร่เศษ ส่วนอีก 14 ,975 ไร่ ขอให้ราษฎรเกาะเต่ามีสิทธิที่จะขอออกโฉนดที่ดินที่ตนครอบครอง

“แต่เมื่อเราลงพื้นที่และมาตรวจดูข้อกฎหมาย พบว่ายังมีปัญหาใหญ่ คือกฎกระทรวงฉบับที่ 43 ข้อที่ 14 (3) ที่จำกัดสิทธิของคนบนเกาะทุกเกาะ ไม่เฉพาะเกาะเต่า ให้ไม่สามารถขอออกโฉนดที่ดินตามมาตรา 59 ทวิ ประมวลกฎหมายที่ดิน เหมือนว่าชาวเกาะเป็นพลเมืองชั้น 2 ของประเทศไทยเลย จึงอยากให้ผู้ตรวจการแผ่นดินใช้อำนาจยื่นเรื่องขอให้ศาลปกครองพิจารณาเพิกถอน และแก้ไขโดยยกเลิกคำว่าเกาะ หากมีคำวินิจฉัยว่าขัดและมีการแก้ไข หรือการต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ โดยให้สามารถใช้การสืบสิทธิได้ แค่นี้ก็ถือเป็นคุณูปการกับชาวเกาะทั่วประเทศไม่เฉพาะเกาะเต่า” นายอนันต์ชัย กล่าว


นายอนันต์ชัย กล่าว อีกว่า ในวันพรุ่งนี้ (20 พ.ย.) จะไปยื่นเรื่องดังกล่าวต่อ น.ส.นันทนา นันทวโรภาส สว. ให้ตั้งกระทู้ถาม และถ้าเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรก็จะไปยื่นเรื่องต่อคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน เพราะก็ได้มีการตรวจสอบเรื่องนี้และมีความเห็นไปในลักษณะเดียวกัน แต่กรมธนารักษ์ยังตีมึนคิดว่าตัวเองเป็นหน่วยงานรัฐ ซึ่งตนก็จะสู้กันจนวินาทีสุดท้าย ดูว่าระหว่างความชอบธรรมสิ่งที่ถูกกฎหมายกับผิดกฎหมายอะไรจะแน่กว่ากัน อย่าคิดว่าเป็นหน่วยงานรัฐแล้วทำถูกเสมอไปฉะนั้นกรมธนารักษ์ เจอทนายอนันต์ชัยแน่ไม่ว่าจะศาลปกครองนครศรีธรรมราชหรือศาลยุติธรรมที่ศาลจังหวัดสมุย.-314-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

บิ๊กอ๊อดรอดคุก

“บิ๊กอ๊อด” รอดคุก คดี “บอส อยู่วิทยา” อัยการเนตร คุก 3 ปี

“บิ๊กอ๊อด-ตร.” ทำคดี “บอส” รอดคุก ศาลยกฟ้อง ส่วน “อัยการเนตร” ศาลสั่งจำคุก 3 ปี และ “อัยการชัยณรงค์” จำคุก 2 ปี

รวบทันควัน คนร้ายบุกเดี่ยวชิงเงินธนาคาร

จับแล้ว คนร้ายบุกเดี่ยวชิงทรัพย์ธนาคารกลางเมืองเชียงใหม่ ได้เงินสดกว่า 40,000 บาท ก่อนวิ่งหลบหนี ล่าสุดจนมุมตำรวจรวบตัวได้ที่ศาลาริมทางข้างถนน

สป.สายไหม

“กัน จอมพลัง” หอบหลักฐานร้องสอบ สป.สายไหม เอี่ยวเว็บพนัน

“กัน จอมพลัง” หอบหลักฐาน ร้องตรวจสอบ สป.สายไหม เอี่ยวเว็บพนันออนไลน์ ยินดีให้ตำรวจตรวจสอบกลับ มั่นใจประวัติขาวสะอาด ย้ำ “ลูกพีช” ควรขอโทษอย่างจริงใจ

ข่าวแนะนำ

นายกฯ เตรียมเดินทางเยือนราชอาณาจักรกัมพูชา

นายกรัฐมนตรี มีกำหนดเดินทางเยือนราชอาณาจักรกัมพูชาอย่างเป็นทางการ ในโอกาสครบรอบ 75 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-กัมพูชา และการส่งเสริมความร่วมมือในการแก้ปัญหาและการพัฒนาของสองประเทศ โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยรายงาน

9 ทันโลก : เตรียมเริ่มกระบวนการเลือกโป๊ปองค์ใหม่

หลังจากสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ประมุขแห่งศาสนจักรสิ้นพระชนม์ รายงาน 9 ทันโลกวันนี้จะพาไปรำลึกถึงพระองค์และติดตามกระบวนการเลือกพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่

พิพากษาแก๊งช่วยแก้ความเร็วรถ “บอส”

วันนี้คดีทายาทเครื่องดื่มชูกำลัง ขับรถชนตำรวจเสียชีวิต กลับมาถูกพูดถึงอีกครั้ง เมื่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ตัดสินจำคุกอดีตรองอัยการสูงสุด และอดีตอัยการอีก 1 คน ฐานความผิดแก้ความเร็วรถคันเกิดเหตุ หวังช่วยผู้ต้องหา