ไทยสร้างไทย ชี้ปมกาะกูด อย่าเฉไฉแบ่งสมบัติไทยให้ต่างชาติ

กทม. 9 พ.ย. – ไทยสร้างไทย ชี้ รู้แล้วว่าเกาะกูดเป็นของไทย อย่าเฉไฉแบ่งสมบัติไทยให้ต่างชาติ เพื่อประโยชน์ของตนเอง จี้ พิจารณาทบทวนดูว่า ภายใต้ MOU 44 ประเทศไทยจะได้ไม่คุ้มเสีย ระบุการยกเลิก MOU เป็นสิทธิที่ไทยพึงกระทำได้


นายศักดิ์ณรงค์ ศิริพร ณ ราชสีมา รองเลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย ให้ความเห็นหลังฟังนายกรัฐมนตรี แถลงต่อสื่อมวลชนภายหลังการประชุมกับพรรคร่วมรัฐบาลในเรื่องของ MOU 44 ระหว่างไทยกับกัมพูชาแล้ว เห็นว่า ถึงเวลานี้ คงไม่ต้องมาพูดกันอีกแล้วว่า เกาะกูดเป็นของไทยหรือไม่ ประเด็นอยู่ที่ว่า เมื่อเป็นของไทยแล้วเหตุใดพื้นที่ทางทะเลโดยรอบเกาะกูดซึ่งมีระยะห่างจากแผ่นดินอาณาเขตประเทศออกไป 12 ไมล์ทะเล และต่อไปอีก 12 ไมล์ทะเลที่เป็นเขตเศรษฐกิจต่อเนื่อง เรื่อยไปจนถึงเขตเศรษฐกิจจำเพาะที่ไทยเป็นเจ้าของทะเลอาณาเขตตามกฎหมายระหว่างประเทศนั้น นายกรัฐมนตรี และนายภูมิธรรมรองนายกฯ กลับไม่พูดถึงเลย หรือจงใจจะเบี่ยงเบนประเด็นพื้นที่ทางทะเล หันเหความสนใจของประชาชน มาอยู่ในพื้นที่เกาะกูดเพียงอย่างเดียว แล้วปล่อยให้พื้นที่ทางทะเลของไทยมีการแสวงหา และเจรจาผลประโยชน์กันอย่างรีบเร่งจนน่าผิดสังเกต

นายศักดิ์ณรงค์​ยังระบุว่า​เห็นได้จากเหตุการณ์หนึ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมและความต้องการของพรรคแกนนำรัฐบาลได้อย่างชัดเจนก็คือ การที่รองนายกรัฐมนตรีฯ นายภูมิธรรม มีกำหนดการลงพื้นที่เกาะกูดในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2567 นี้ เพื่อตรวจเยี่ยมกำลังพล และตอกย้ำการเป็นแผ่นดินของไทย ตามที่สื่อมวลชนได้เสนอข่าวเผยแพร่ตามหน้าสื่อต่างๆ อยู่ในเวลานี้


นายศักดิ์ณรงค์ เห็นว่า การลงพื้นที่เกาะกูดเพื่อไปตอกย้ำความเป็นดินแดนของไทยนั้น ไม่สำคัญเท่ากับการไปตอกย้ำพื้นที่อาณาเขตทางทะเลโดยรอบเกาะกูด ตามสิทธิ์ทางกฎหมายสากลที่ไทยได้ประกาศ พระบรมราชโองการกำหนดเขตแดนไว้ในปี พ.ศ.2516 ซึ่งที่ผ่านมา ยังไม่เคยเห็นรัฐบาลออกมาพูดในประเด็นนี้เลย มีแต่พูดถึงพื้นที่เกาะกูดเพียงอย่างเดียว

ทั้งนี้ ผลจากการทำ MOU 44 ระหว่างไทยกับกัมพูชา โดยมีเส้นเขตแดนตามที่ปรากฏเป็นแผนที่อยู่ใน MOU นั้น ทำให้น่านน้ำของจังหวัดตราดได้เข้าไปอยู่ในเส้นของกัมพูชาแล้ว และพื้นที่อาณาเขตของเกาะกูดก็เข้าไปอยู่ในพื้นที่ของกัมพูชาด้วยเช่นกัน รวมถึงพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทย ก็เข้าไปอยู่ในเส้นของกัมพูชาด้วย ซึ่งไม่มีที่ไหนในโลกเขายอมให้ทำกันแบบนี้ ดังนั้น หากพิจารณาตามหลักกฎหมายสากลแล้ว เราจะไม่มีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลอาณาเขต และเขตเศรษฐกิจต่อเนื่องทางทะเลเลย แต่จะมีพื้นที่ทับซ้อนเฉพาะที่เป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะเท่านั้น ซึ่งก็จะมีจำนวนพื้นที่น้อยกว่ามากตามที่ได้อ้างสิทธิ์อยู่ในปัจจุบัน แผนที่ที่ปรากฏใน MOU 44 นี้ ได้มีการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนบน เหนือเส้นที่ 11 องศาเหนือ ขึ้นไป ให้เป็นพื้นที่เจรจาแบ่งเขตแดน และส่วนล่างเส้นที่ 11 องศาเหนือลงมา ให้เป็นพื้นที่เจรจาแบ่งปันผลประโยชน์

เมื่อเป็นดังนี้ คำถามที่ตามมาก็คือ ทำไมจึงเจรจาเขตแดนเฉพาะพื้นที่ส่วนบน? แล้วส่วนล่างที่เป็นผลมาจากการที่กัมพูชาลากเส้นไหล่ทวีปอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายสากล ซึ่งเราไม่ยอมรับว่าเป็นเขตแดนนั้น แต่เรากลับไปยอมรับเป็นเขตแดนแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างกัน หรือ JDA ซึ่งเป็นเส้นที่แตกต่างไปจากพระบรมราชโองการในปี พ.ศ.2516 เป็นอย่างมาก


ดร.ศักดิ์ณรงค์ ยังเห็นเพิ่มเติมว่าภายใต้ MOU 44 นี้ ทำให้ไทยจำต้องไปยอมรับการมีอยู่ และการคงอยู่ของเส้นแนวเขตของกัมพูชา โดยฝ่ายไทยนำมาเป็นกรอบในการเจรจา JDA จึงขอเสนอให้รัฐบาลดำเนินการให้มีการเจรจาแบ่งเขตแดนให้จบตลอดทั้งเส้นแนวเขต ไม่ต้องมาแบ่งเป็น 2 ส่วน แยกการเจรจาอย่างที่ปรากฏในปัจจุบันนี้ พร้อมกับเสนอให้ฝ่ายกัมพูชาได้พิจารณาลากเส้นแนวเขตแดนของประเทศตนเสียใหม่ โดยไม่ล้ำอธิปไตยของไทย ให้มีความถูกต้อง ชอบธรรมตามกฎหมายระหว่างประเทศที่สากลยอมรับ

จึงขอให้นายกรัฐมนตรี และนายภูมิธรรม ได้พิจารณาทบทวนดูว่า ภายใต้ MOU 44 นี้ ประเทศไทยเราได้อะไร และเสียอะไร ถ้าเห็นว่าได้ไม่คุ้มเสีย ก็สมควรที่จะต้องยกเลิก MOU 44 นี้ แล้วหาวิธีเจรจาทำความตกลงกันใหม่ โดยไม่ต้องกังวลว่าเราจะยกเลิกไม่ได้ และกัมพูชาจะฟ้องร้องเรา เพราะ MOU คือ “บันทึกความเข้าใจร่วมกัน” เท่านั้น ไม่ใช่สนธิสัญญาอะไรที่มีข้อผูกมัดใดๆ ในเมื่อไทยเป็นรัฐเอกราช เราจะเจรจาด้วยกรอบอะไร อย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของเรา เช่นเดียวกับกัมพูชา ที่ดำเนินการภายใต้นโยบายของเขา ไม่มีใครฟ้องใครได้ การยกเลิก MOU เป็นสิทธิ์ที่ไทยพึงกระทำได้ ไม่ต่างอะไรกับ MOU ที่พรรคต่างๆ ได้ร่วมกันทำขึ้นเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งเสร็จ แต่จู่ๆ วันหนึ่งเพียงแค่ชั่วข้ามคืน พรรคแกนนำจัดตั้งยังยกเลิก MOU นั้นได้เลย ไม่เห็นต้องกลัวว่าพรรคต่างๆ ที่ร่วมลงนามด้วยจะฟ้องร้อง.-319-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

เชิญชวนร่วมงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025”

“กำภู-รัชนีย์” พาทัวร์งาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025” ณ ลานจอดรถ บมจ.อสมท พบปะผู้ประกาศ ดีเจ และอินฟลูเอนเซอร์ รวมไปถึงศิลปินที่จะมาร่วมสนุกในงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟู ปาร์ตี้ 2025”

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

แม่คะนิ้งโผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดอุทยานฯ พรุ่งนี้

จังหวัดเลย อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ “แม่คะนิ้ง” โผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดให้ท่องเที่ยวพรุ่งนี้ (23 ธ.ค.) หลังปิดมา 9 วัน จากเหตุช้างป่า