พปชร. แนะทำ MOU ใหม่ บนหลักกฎหมายทางทะเลร่วมกัน

พรรคพลังประชารัฐ 8 พ.ย.- พปชร. แนะ รัฐบาลทำ MOU ใหม่ บนหลักกฎหมายทางทะเลร่วมกัน ชี้เส้นแบ่งของกัมพูชา ทำนอกกฎหมายสากล ทำไทยเสียเปรียบ ยืนยันเกาะกูดเป็นของไทย ยัน พปชร. ไม่ได้ทำเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง


พรรคพลังประชารัฐ แถลงข่าวในหัวข้อ “MOU 2544 ภาคต่อ EP 2” นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า ยังไม่ต้องการเห็นการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนสำเร็จ ไม่ได้มีเจตนาคัดค้านการเจรจาการแบ่งปันผลประโยชน์ แต่มุ่งหวังที่จะเสนอแนะการเจรจานั้นสัมฤทธิ์ผล และยืนยันว่าเกาะกูด เป็นของประเทศไทย แต่น่านน้ำถูกละเมิดสิทธิ ดังนั้นการตั้งต้นกรอบการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนด้วยการละเมิดน่านน้ำเกาะกูด เป็นจุดเริ่มต้นพื้นที่ทับซ้อนที่ยาก ในการตกลงร่วมกัน และกรณี MOU 2544 พรรคยืนยันจุดยืนว่าเป็นอุปสรรคต่อการเจรจา เป็นสาเหตุให้พรรคยกเลิก

“เพราะเกิดการถกเถียงตลอด 20 ปีที่ผ่านมา เริ่มมาจากกรณีไม่ได้มีการเจรจาอาณาเขตทางทะเลตามกฏหมายสากล กลัดกระดุมเม็ดแรกผิด ต่างฝ่ายต่างเคลม เป็นจุดเริ่มต้นในการเจรจา เป็นสาเหตุที่เราเห็นว่า หากไม่ได้เริ่มต้นเจรจาอยู่บนกรอบของกฎหมายสากลในการแบ่งอาณาเขตทางทะเลแล้วยอมรับในเรื่องของการนำจุดตั้งต้นนั้น เป็นจุดการเจรจา เราพบแล้วว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุข้อตกลงและการยอมรับของทั้ง2 ฝ่าย” นายสนธิรัตน์ กล่าว


นายสนธิรัตน์ ระบุว่า อาจจะนำไปสู่การแบ่งผลประโยชน์ที่ไม่ชอบและไม่เป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย ดังนั้นหลักการเจรจาจะต้องเริ่มต้นตามหลักกฏหมายสากล เพื่อจะเป็นจุดเริ่มต้นของการแบ่งผลประโยชน์ที่เป็นธรรม ซึ่งพรรคพลังประชารัฐยืนยันมาตลอดว่ากังวลใจ แม้กระทรวงต่างประเทศจะบอกว่า MOU2544 ไม่ได้กำหนดถึงอาณาเขตทางทะเล แต่หากการเจรจายังใช้บันทึกตกลงดังกล่าวและมีการเซ็นสัญญาระหว่าง 2 ฝ่าย โดยมีเอกสารแนบท้าย อนาคตหากเกิดกรณีพิพาท 2 ประเทศ ซึ่งสิ่งนี้เป็นหลักฐานว่าเกิดการยอมรับทางประวัติศาสตร์ขึ้น จึงมีความไม่สบายใจ

ด้าน ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ที่ปรึกษาศูนย์นโยบายและวิชาการ กล่าวชี้แจงตอบนายกรัฐมนตรี เรื่อง MOU 2544 ที่ไทยเสียเปรียบและเป็นบันไดนำไปสู่การเสียดินแดนจากความตกลงนี้ในอนาคต

  1. รัฐบาลให้สิทธิพิเศษในการเจรจากับกัมพูชาเหนือกว่าประเทศอื่นในการแบ่งเขตไหล่ทวีป ที่ล้วนต้องปฏิบัติตามกฎหมายทะเลสากล เหตุใด กัมพูชาเป็นคู่เจรจาที่ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายทะเลสากล ที่สำคัญคือ ขัดกับวรรคท้ายของพระบรมราชโองการที่ระบุว่า การกำหนดไหล่ทวีป กับประเทศใกล้เคียงให้ตกลงกันโดยยึดถือบทบัญญัติอนุสัญญาเจนีวา 1958
  2.  MOU 2544 เป็นการลดสถานะของเส้นเขตแดนตามประกาศพระบรมราชโองการที่ทำตามกฎหมายสากล ให้มีค่าเท่ากับเส้นที่ลากเส้นเขตแดนที่ไม่มีกฎหมายสากลรองรับ กินพื้นที่พระราชอาณาเขตของราชอาณาจักรไทยไปถึง 26,000 ตร. กม.MOU 2544 ทำให้ไทยที่ทำตามกฎหมายสากลกลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เพราะอีกฝ่ายทำนอกกฎหมายสากล และเรื่องการไม่ปฏิบัติตามกฏหมายสากลของกัมพูชานี้เป็นที่ทราบดีในวงวิชาการ กระทรวงต่างประเทศ และกองทัพ
  3. การลากเส้นเขตแดนทางทะเลเกินสิทธิ์ของกัมพูชา ทับน่านน้ำภายในของจังหวัดตราด ทับทะเลอาณาเขตชิดเกาะกูด แต่กลับปรากฎในแผนที่แนบท้าย MOU 2544 เท่ากับรัฐบาลไทยรับรู้ว่า ทะเลตราดและทะเลเกาะกูดอยู่ในเขตของฝ่ายกัมพูชา และถูกนำเข้ามาอยู่ในกรอบการเจรจา ไทยจึงเป็นฝ่ายเสียเปรียบตั้งแต่ยังไม่เริ่มเจรจา
  4. รัฐบาลอธิบายว่า MOU 2544 ไม่ปรากฎข้อความไทยยอมรับเส้นของกัมพูชา แต่เส้นดังกล่าวไปปรากฏในแผนที่แนบท้าย แม้ไม่ได้เขียนตรงๆ ว่า ยอมรับ แต่แผนที่คือเอกสารราชการที่แสดงการรับรู้รับทราบว่า เส้นของกัมพูชาเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย เพราะไม่เคยปรากฏบนเอกสารราชการไทยมาก่อนปี 2544 เลย การรับรู้เส้นเขตแดนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในเอกสารราชการไทย ก็ทำให้ฝ่ายกัมพูชาได้ประโยชน์ ถือว่าทำให้ไทยเสียหาย
  5. สำหรับการเจรจา MOU 44 กับประเทศกัมพูชานั้น เป็นการดำเนินการที่เร่งรีบผิดปกติโดยใช้เวลาเจรจาเพียง 44 วัน จนระบุเส้นละติจูดผิด เมื่อเทียบกรณี กับมาเลเซีย ใช้เวลา 7 ปี จึงเกิด MOU แสดงให้เห็นความรีบร้อน ไม่รัดกุม อาจนำประเทศไปสู่ความสุ่มเสี่ยงในอนาคต
  6. หากยอมให้มีการขุดปิโตรเลียมและมีการแบ่งผลประโยชน์กัน 50% ระหว่างไทยและกัมพูชาเมื่อใด จะเป็นหลักฐานสำคัญว่า ไทยยอมรับสิทธิอธิปไตยของกัมพูชาในพื้นที่ดังกล่าว และมีความเสี่ยงที่จะถูกนำขึ้นสู่ศาลโลกเพื่อแบ่งพื้นที่ให้กัมพูชา 13,000 ตร.กม. ต่อไปในอนาคต

ดังนั้น เพื่อประโยชน์ของคนไทย จึงควรยกเลิก MOU 2544 แล้วทำ MOU ฉบับใหม่กับกัมพูชา ปี 2568 ก็ได้โดยขอให้กัมพูชา ทำตามกฎหมายทะเลเสียก่อน


ด้านนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานร่วมศูนย์นโยบายและวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่ามีบางกระแสคิดว่าที่ พรรคพลังประชารัฐออกมาเคลื่อนไหวเรื่องนี้ เพื่อประโยชน์ทางการเมือง แต่ขอย้ำว่าออกมาเคลื่อนไหวเพื่อประโยชน์ของประเทศ พร้อมตั้งข้อสงสัยว่า การทำงานของกระทรวงต่างประเทศ (กต.) อาจไม่ได้ให้ข้อมูลแก่รัฐบาลต่างๆที่ผ่านมาอย่างครบถ้วน โดยขอเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศและอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้มีหน้าที่ปกป้องประเทศในเวทีกฎหมายสากล ชี้้แจงต่อประชาชนว่า กระทรวงการต่างประเทศไปเสนอให้รัฐบาลทำ MOU ทั้งที่รู้ดีอยู่แล้วว่าเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ผ่านเกาะกูดนั้นขัดกับกติกาสากล ใช่หรือไม่
 
นายธีระชัย กล่าวต่อว่า เส้นดังกล่าวขัดกับกติกาสากล 3 ข้อ คือ ขัดอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตฯ เพราะรุกล้ำอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด ขัดสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสฯ เพราะอ้างจุดสูงสุดบนเขาเกาะกูดบิดเบือนเจตนารมณ์ และขัดอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป เพราะอนุสัญญาฯ ไม่ได้อนุญาตเรื่องเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในสนธิสัญญาฯ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศในฐานะผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศย่อมจะรู้เรื่องนี้ดีอยู่แล้ว ดังนั้นจึงรู้สึกแปลกใจว่าทำไมไปทำ MOU โดยนำเส้นที่ผิดกติกาไปใส่
 
นายธีระชัย กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีควรจะเรียกให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตอบคำถามและบันทึกไว้ในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างชัดเจน ว่า กระทรวงต่างประเทศทราบหรือไม่ว่าเส้นสีแดงที่ผ่านเกาะกูดของกัมพูชานั้นผิดกฎหมายสากลและ กระทรวงการต่างประเทศ เคยแจ้งทักท้วงทางกัมพูชาหรือไม่ และได้เคยแจ้งให้รัฐบาลไทยชุดใดทราบหรือไม่ การไปทำMOU โดยนำเส้นที่ผิดกติกาสากลไปทำนั้นเกิดประโยชน์อะไรกับประเทศไทย, MOU มีการเขียนไว้ว่า ไม่กระทบต่อการอ้างสิทธิ์ทางทะเลของประเทศคู่สัญญา ก็หมายความว่าไม่กระทบต่อการอ้างสิทธิ์ทางทะเลของกัมพูชา หมายความว่าไทยจะสละสิทธิ์ในการทักทวงเส้นนี้ที่ผิดกฎหมายสากลหรือไม่ และเส้นที่ผ่านเกาะกูดจะถูกต้องตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ก็เฉพาะกรณีที่ไทยและกัมพูชาเป็นเจ้าของเกาะกูดกันคนละส่วนใช่หรือไม่

นายสนธิรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า พลังประชารัฐยืนยันจุดยืนในการยกเลิก MOU2544 ไม่ได้ประสงค์จะให้ รัฐบาลทำงานไม่ได้ แต่ประสงค์ให้รัฐบาลทำงานได้บรรลุผล เพราะใน MOU มีข้อบกพร่อง การทำสัญญา ณ ขณะนั้นขาดความรอบคอบ จึงเรียกร้องให้กลับมาเริ่มต้นโดยการเจรจา บนหลักสากลของการแบ่งอาณาเขตทางทะเล 1982 ซึ่งนี่จะเป็นจุดที่จะตัดความกังขา

อย่างไรก็ตาม การนำเสนอนี้ไม่ได้มีเจตนาโต้แย้ง แต่ต้องการความเห็นรอบ เพราะประเทศไม่ใช่ของรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง แต่ประเทศเป็นของประชาชนคนไทย

ส่วนจะยกเลิก MOU2544 ได้หรือไม่นั้น พรรคพลังประชารัฐกำลังตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษา ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะยกเลิกฝ่ายเดียว แต่ขอทำการบ้านก่อน เรื่องนี้เป็นเพียงบันทึกข้อตกลง ไม่ใช่หนังสือสัญญาระหว่างกัน ต้องให้กระทรวงการต่างประเทศศึกษาเชิงลึกด้วย เพราะตอนที่เซ็นMOUกันนั้น ไม่ได้ผ่านสภา ดังนั้นเมื่อจะยกเลิกก็ไม่จำเป็นต้องผ่านสภา และเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศที่ต้องชี้แจงให้ชัดเจนว่า ถ้าจะยกเลิกจะต้องทำอย่างไร

นายสนธิรัตน์ ยังมองการลงพื้นที่ของแกนนำรัฐบาลที่เกาะกูด จังหวัดตราด ในช่วงสุดสัปดาห์นี้ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาในการลากเส้นพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล แต่ยืนยันว่าเกาะกูดเป็นของประเทศไทย ส่วนการยกเลิก MOU2544 หากรัฐบาลยกเลิกและร่างบันทึกข้อตกลงหรือ MOU ฉบับใหม่ และนำสิ่งที่เป็นข้อโต้แย้งไปประกอบ โดยเริ่มต้นจากการแบ่งเขตการเจรจาภายใต้กฎหมายสากล ซึ่งหากเรื่องนี้ไม่เกิดเชื่อว่าการเจรจาอย่างไรก็เป็นไปได้ยาก เส้นตลอด 20 ปีที่ผ่านมาเพราะสุดท้ายติดปัญหาเรื่องเส้นแบ่งเขตแดน

สำหรับการยกเลิก MOU เชื่อว่าสามารถยกเลิกได้ผ่านการดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งตามข้อมูลที่พรรคมีนั้น เชื่อว่าสามารถยกเลิกได้ .-315 -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นวดบิดคอ

สสจ.อุดรฯ แถลง “ผิง ชญาดา” ติดเชื้อในกระแสเลือด-มีเชื้อรา

เปิดสาเหตุ “ผิง ชญาดา” นักร้องสาวรถแห่ เสียชีวิต สสจ.อุดรธานี ตั้งโต๊ะแถลง แจงรายละเอียด หลังถูกโยงไปนวดบิดคอแก้ปวดเมื่อย

flag of Syria Opposition

ลำดับเหตุการณ์ซีเรียก่อนรัฐบาลล่มสลาย

ดามัสกัส 8 ธ.ค.- การล่มสลายอย่างฉับพลันของรัฐบาลประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาดของซีเรีย หลังจากสู้รบกับฝ่ายต่อต้านมาร่วม 14 ปี ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญของสงครามกลางเมืองในซีเรียที่ปะทุขึ้นตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2554 ข้อมูลในวิกิพีเดียระบุว่า สงครามคร่าชีวิตคนไปแล้วทั้งสิ้น 580,000-617,910 คน ในจำนวนนี้เป็นพลเรือน 219,223-306,887 คน ส่วนผู้มีชีวิตอยู่กลายเป็นผู้พลัดถิ่นในประเทศราว 6.7 ล้าน เป็นผู้ลี้ภัยในต่างประเทศราว 6.6 ล้านคน และเปิดช่องให้มหาอำนาจต่างชาติเข้ามามีบทบาทในสงคราม โดยมีลำดับเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ก่อนที่ฝ่ายต่อต้านหรือกลุ่มกบฏประกาศโค่นล้มรัฐบาลสำเร็จในวันนี้ดังนี้ ปี 2554 : การประท้วงต่อต้านประธานาธิบดีอัล-อัสซาดที่ปกครองประเทศตั้งแต่ปี 2543 เริ่มแพร่กระจายไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว ทางการตอบโต้ด้วยการส่งกองกำลังความมั่นคงกวาดจับและใช้กระสุนจริง ผู้ประท้วงบางส่วนลุกขึ้นจับอาวุธและตั้งกองกำลังขึ้นเป็นกลุ่มต่อต้านติดอาวุธ โดยในภายหลังได้รับการสนับสนุนจากชาติตะวันตกและทูร์เคียหรือตุรกีที่มีพรมแดนติดทางเหนือของซีเรีย ปี 2555 : แนวร่วมนุสรา (Nusra Front) ซึ่งเป็นเครือข่ายในซีเรียของอัลกออิดะห์วางระเบิดครั้งแรกในกรุงดามัสกัส แนวร่วมนี้เริ่มมีอำนาจและเผยแพร่แนวคิดชาตินิยม ประชาคมโลกได้ประชุมในนครเจนีวาของสวิตเซอร์แลนด์ และเห็นพ้องว่าจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง แต่ตกลงกันไม่ได้ว่าจะดำเนินการอย่างไร ประธานาธิบดีอัล-อัสซาดใช้ปฏิบัติการทางอากาศถล่มฐานที่มั่นของฝ่ายต่อต้าน ขณะที่ฝ่ายต่อต้านยึดพื้นที่ได้เพิ่มขึ้น การสู้รบทวีความรุนแรงเป็นเหตุนองเลือดของทั้ง 2 ฝ่าย ปี […]

Made in Thailand แดนไทยเท่ : สุดยอดเกสต์เฮาส์ ที่พักขวัญใจนักท่องเที่ยว

เกสต์เฮาส์แห่งหนึ่งในเชียงใหม่ ราคาที่พักเพียงคืนละหลักสิบ แต่ความสะดวกสบายและการบริการหลักแสน จนกลายเป็นที่พักขวัญใจนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ หลายคนที่เดินทางมาเชียงใหม่ พักนานเป็นเดือน กลายเป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ของการท่องเที่ยวเชียงใหม่

Mohammed Al-Jalali appointed as Syria Prime Minister

นายกฯ ซีเรียพร้อมทำงานกับผู้นำที่ประชาชนสนับสนุน

ดามัสกัส 8 ธ.ค.- นายกรัฐมนตรีโมฮัมหมัด อัล-จาลาลีของซีเรียเผยว่า พร้อมร่วมมือกับผู้นำคนใดก็ตามที่ประชาชนเลือกและพร้อมร่วมมือเรื่องกระบวนการถ่ายโอนอำนาจ หลังจากรัฐบาลถูกกลุ่มกบฏโค่นล้ม นายอัล-จาลาลีวัย 55 ปี ที่เพิ่งรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซีเรียเมื่อวันที่ 14 กันยายนปีนี้แถลงผ่านบัญชีเฟซบุ๊กของเขาในวันนี้ว่า ซีเรียสามารถเป็นประเทศปกติที่มีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านและประชาคมโลก แต่เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับผู้นำที่เลือกโดยประชาชนชาวซีเรีย เขาพร้อมให้ความร่วมมือกับผู้นำคนนั้น และอำนวยความสะดวกทุกอย่างที่สามารถทำได้ นายกรัฐมนตรีอัล-จาลาลีให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์อัล-อาราบียาของทางการซาอุดีอาระเบียว่า เขาอยู่ระหว่างติดต่อกับอาบู โมฮัมเหม็ด อัล-โจลานี ผู้บัญชาการของกลุ่มกบฏ เพื่อหารือเรื่องการจัดการช่วงเวลาเปลี่ยนถ่ายอำนาจในขณะนี้ หลังจากกลุ่มกบฏแถลงทางสถานีโทรทัศน์ในเช้าวันนี้ว่า สามารถยึดกรุงดามัสกัส และโค่นล้มรัฐบาลบาชาร์ อัล-อัสซาดที่ปกครองประเทศมานาน 24 ปี เป็นการปิดฉากการปกครองของตระกูลอัล-อัสซาดที่ดำเนินมานาน 50 ปีนับตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีฮาเฟซ อัล-อัสซาดผู้เป็นบิดา กลุ่มกบฏเริ่มเปิดฉากบุกแบบสายฟ้าแลบตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน สามารถผ่านเมืองต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย โดยยึดได้เมืองสำคัญตั้งแต่อเลปโป เมืองใหญ่อันดับ 2 ที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ลงมาถึงเมืองฮามา ที่อยู่ทางตอนกลางค่อนไปตะวันตก เมืองฮอมส์ เมืองใหญ่อันดับ 3 ที่อยู่ทางตะวันตก และกรุงดามัสกัสในวันนี้ เนื่องจากกองกำลังรัฐบาลพากันทิ้งเมือง.-814.-สำนักข่าวไทย  

ข่าวแนะนำ

ชายขับเก๋งแดงแหกด่านเข้ารับทราบ 3 ข้อหา

ชายขับเก๋งแดงแหกด่าน เข้ารับทราบข้อกล่าวหา พร้อมขอโทษหลังเป็นชนวนเหตุตำรวจทำร้ายผิดตัว แต่ยังไม่ตอบคำถามว่าเมาหรือไม่

สธ.ยืนยันนักร้องสาวเสียชีวิตไม่ได้เกิดจากนวดบิดคอ

“สมศักดิ์” ยัน “ผิง ชญาดา” ไม่ได้นวดบิดคอเสียชีวิต ชี้ผลตรวจ MRI ไม่มีกระดูกคอหักหรือเคลื่อน เผยผลวินิจฉัยเป็น “โรคไขสันหลังอักเสบ” จนติดเชื้อในกระแสเลือด ขอประชาชนมั่นใจ ไม่เกี่ยวการนวด