“พริษฐ์” รอหารือ 3 บุคคลสำคัญ ลุยทำประชามติ 2 ครั้งเพียงพอ

รัฐสภา 6 พ.ย.-“พริษฐ์” รอหารือ 3 บุคคลสำคัญ “ปธ.รัฐสภา-นายกฯ-ศาล รธน.” เดินหน้าทำประชามติ 2 ครั้งเพียงพอ ชี้หากไม่บรรจุร่างแก้ รธน. ให้มี ส.ส.ร.จัดทำ รธน.ใหม่ก่อน ก็ไม่สามารถมีรัฐธรรมนูญใหม่ได้ทันเลือกตั้งครั้งหน้า

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส. พรรคประชาชน ในฐานะกรรมาธิการร่วมพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงการประชุม ร่วมพ.ร.บ.ประชามติฯ ว่า ว่าไม่ควรใช้เวลานานเพราะประเด็นที่เห็นต่างกันระหว่างสภาผู้แทนราษฎร กับวุฒิสภามีแค่ประเด็นเดียว คือ เรื่องใช้กติกาเสียงข้างมาก 1 ชั้นหรือ 2 ชั้น นอกจากนี้ หากรัฐบาลยึดแผนเดิม คือการทำประชามติ 3 ครั้ง และจะไม่ทำครั้งแรก จนกว่ามีการแก้พ.ร.บ.ประชามติเสร็จ ตนเกรงว่าจะมีความเป็นไปได้น้อยมาก ที่จะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ถูกจัดทำโดย สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ก่อนการเลือกตั้งครั้งถัดไป เพราะตามแผนเดิมมีความประสงค์ที่จะให้ประชาติครั้งแรกพร้อมกับการเลือกตั้งท้องถิ่นในช่วงต้นปี 2568 ซึ่งร่างพ.ร.บ.ประชามติยังไม่สรุปก็มีความเป็นไปได้น้อยมากว่ากรอบเวลาดังกล่าวจะเป็นจริงได้ หนทางเดียวที่จะเราจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ถูกจัดทำโดยส.ส.ร. ใช้บังคับก่อนการเลือกตั้งครั้งถัดไป คือการลดจำนวนประชามติจาก 3 ครั้งเหลือ 2 ครั้ง ซึ่งพรรคประชาชนก็ยืนยันมาโดยตลอดว่าหากยึดความจำเป็นทางกฎหมาย 2 ครั้งก็เพียงพอ แต่จะเป็นเช่นนั้นได้จะต้องหารือกับมี 3 บุคคลสำคัญ ซึ่งทางกรรมาธิการพัฒนาการเมืองสภาผู้แทนราษฎรได้ทำหนังสือเพื่อขอหารือแล้ว คือ 1. ประธานรัฐสภานายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ที่ได้มีการตอบกลับมา ให้เข้าหารือในวันที่ 27 พฤศจิกายนนี้ เพราะความจำเป็นในการเข้าพบประธานรัฐสภาเพื่อชี้แจง ถึงกระบวนการการบรรจุ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการ มีส.ส.ร.ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งทางพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชนได้ยื่นไปตั้งแต่ต้นปี แต่ประธานรัฐสภาไม่บรรจุในระเบียบวาระ เพราะกังวลว่าจะขัดกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้นจึงหวังว่าการหารือในช่วงปลายเดือนนี้ จะเป็นการคลายข้อกังวลให้กับประธานรัฐสภาว่า การบรรจุร่างดังกล่าวในระเบียบวาระไม่ขัดรัฐธรรมนูญ หากดูคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยก็จะเห็นภาพชัดมากกว่านี้ จึงหวังว่าประธานรัฐสภาจะทบทวนและบรรจุร่างดังกล่าว


นายพริษฐ์ กล่าวว่าบุคคลที่ 2 คือ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าฝ่ายรัฐบาล หากประธานรัฐสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมร่างดังกล่าวจะผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการลงมติความเห็นชอบของสส.แต่ละพรรคและสว.จึงอยากเข้าหารือกับนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลเพื่อพยายามที่จะเชิญชวนให้ทุกพรรคการเมืองในซีกรัฐบาลเห็นตรงกันถึงแนวทางการทำประชามติ 2 ครั้ง และ พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับการ มีส.ส.ร.จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และขอความร่วมมือสส.ทุกพรรคการเมืองโน้มน้าว ให้สว.ให้ความเห็นชอบด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งเมื่อวานได้ทราบด้วยวาจาจากคำสัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีที่ยินดีให้เราเข้าไปพบ ซึ่งหนังสือขอเข้าพบได้ออกไปเมื่อวันศุกร์ ที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และอยู่ในขั้นตอนของสำนักเลขานายกรัฐมนตรีแล้ว

นายพริษฐ์ กล่าวถึงบุคคลสุดท้ายที่อยากหารือคือ ตัวแทนจากศาลรัฐธรรมนูญ แม้ตนเองจะยืนยันว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้บอกว่าต้องทำประชามติ 3 ครั้ง แต่เพื่อให้เกิดความชัดเจนของทุกฝ่าย ก็เป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากศาลรัฐธรรมนูญจะมาขยายความเพิ่มเติมว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ หมายถึงขั้นตอนอย่างไร เพราะก่อนหน้านี้ที่สภาผู้แทนราษฎรได้ส่งหนังสือไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยเรื่องนี้อีกครั้ง แต่ศาลไม่รับไว้ วินิจฉัยโดยบอกว่าคำวินิจฉัยก่อนหน้านี้ชัดเจนแล้ว ดังนั้นหากมีตัวแทนของศาลรัฐธรรมนูญมาขยายความเรื่องนี้ก็จะเป็นประโยชน์ให้ทุกฝ่ายสบายใจในการเดินหน้าทำประชามติ 2 ครั้ง


เมื่อถามว่าเรื่องแก้รัฐธรรมนูญดูเหมือนน.ส.แพทองธารกังวลเรื่องถูกฟ้อง นายพริษฐ์ กล่าวยืนยันว่าการขอเข้าพบ ประธานรัฐสภา นายกฯ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะปิดช่องโหว่ และทำให้นายกฯ คลายกังวลได้

นายพริษฐ์ หวังว่าทั้ง 3 บุคคลที่คณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองสภาผู้แทนราษฎรขอหารือจะสำเร็จได้ภายในเดือนนี้ ส่วนกรณีที่ในการประชุมครั้งแรกของกรรมาธิการร่วม ดูเหมือนเสียงสส.จะแพ้โหวตฝั่งสว.นั้น นายพริษฐ์ กล่าวว่า ถ้าดูผลการลงมติ เลือกประธานในที่ประชุม ตัวแทนจากทางวุฒิสภาได้คะแนนมากกว่า จำนวนสว. ที่เข้าประชุมในวันนั้นดังนั้นหมายความว่า คงมีกรรมาธิการสัดส่วนสภาผู้แทนราษฎรที่ไปลงมติให้กับทางซีกสว. แต่ไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นใครเพราะเป็นการลงมติแบบลับ

ส่วนตัวแทนฝั่งสส.ของพรรคภูมิใจไทย มีแนวโน้มว่าจะเห็นด้วยกับการทำ ประชามติ 2 ชั้น ซึ่งเป็นความเห็นเดียวกับทางฝั่งวุฒิสภานั้น นายพริษฐ์กล่าวว่า ยังไม่ได้มีการคุยในรายละเอียดลงลึกในเนื้อหาแต่ถ้าวิเคราะห์จากการลงมติในห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎรก็จะเห็นว่า สส.ทุกพรรคมีการลงมติ ยืนยันร่างของสส. มีเพียงพรรคเดียวที่งดออกเสียง คือพรรคภูมิใจไทยจึงพอจะอนุมานได้ว่าหากจะมีพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งจะเห็นด้วยกับสว. ก็อาจจะเป็นพรรคภูมิใจไทยแต่จะเป็นเช่นนั้นหรือไม่ก็ต้องพูดคุยกันในชั้นกรรมาธิการ ซึ่งในวันนี้คงจะได้รับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายเพิ่มมากขึ้น ตนเองในฐานะกรรมาธิการก็ไปย้อนฟังการอภิปรายของสว.และเชื่อว่าจะสามารถตอบข้อกังวล ของทางฝั่งสว.ได้


ทั้งนี้ หากกรรมาธิการร่วมได้ข้อสรุป ที่สภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบ สภาผู้แทนราษฎรก็สามารถยืนยันร่างของสภาผู้แทนราษฎรได้ เพียงแต่จะต้องบวกเวลาเพิ่มอีก 6 เดือนและหลายคนก็กังวลจะกระทบกับไทม์ไลน์ ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ข้อกังวลเหล่านี้จะหายไป หากเราหันไปใช้กระบวนการที่มีการทำประชามติ 2 ครั้ง ซึ่งใน 6 เดือนตรงนี้จะไม่ส่งผลกระทบกับไทม์ไลน์ดังกล่าว เพราะขั้นตอนแรก ไม่ใช่การจัดทำประชามติเลยแต่เป็นการที่รัฐสภาพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับส.ส.ร. ซึ่งกว่าที่รัฐสภาจะพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับ ส.ส.ร.สำเร็จ ข้อสรุปเรื่องพร.บ.ประชามติก็เรียบร้อยแล้ว และ การทำประชามติก็จะไม่ล่าช้าออกไป

ดังนั้น การที่เราหันมาใช้แผนการทำประชามติ 2 ครั้ง ดูน่าจะเป็นทางออกที่ทำให้เราได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่บังคับใช้ก่อนการเลือกตั้งมากที่สุดและรัฐบาลสามารถที่จะรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนได้

“ไม่ได้บอกว่าไม่ให้ความสำคัญกับการประชุมกมธ.ร่วมพ.ร.บ.ประชามติฯ ทำเต็มที่อยู่แล้วแต่จะบอกว่าถ้าเราอยากจะหาช่องทางที่ทำให้เราไม่ต้องมากังวลว่า กระบวนการในการหาข้อสรุปเรื่องพรบประชามติจะใช้เวลาเท่าไหร่คือหันไปใช้แผนการทำประชามติ 2 ครั้งก็จะทำให้เราไม่เจออุปสรรคและไม่เป็นอุปสรรคต่อแผน” นายพริษฐ์กล่าว

ส่วนการไม่บรรจุระเบียบวาระของนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ก่อนหน้านี้นั้น เหมือนเป็นเครื่องยืนยันว่า ประธานรัฐสภาทำถูกต้องแล้ว นายพริษฐ์ กล่าวว่าไม่เคยมีใครวินิจฉัย ว่าการบรรจุหรือไม่บรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระถูกต้องหรือไม่ถูกต้องแต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมา ว่ารัฐสภามีอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แต่จะต้องมีการทำประชามติ 1 ครั้งก่อนและหลังแต่สิ่งที่แต่ละฝ่าย ตีความกันการทำประชามติ 1 ครั้งก่อนคือก่อนอะไร ซึ่งถ้าเป็นในมุมมองของตนและพรรคเพื่อไทย คือก่อนที่จะมีส.ส.ร.จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ถ้า เป็นในมุมมองของที่ปรึกษาของประธานสภาไปตีความว่า 1 ครั้งก่อน คือก่อนที่เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขใดๆ เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาตั้งแต่วาระ 1 จึงทำให้จำนวนการทำประชามติเพิ่มขึ้นอีก 1 ครั้ง นี่คือข้อแตกต่าง ของการตีความคำวินิจฉัยของสารรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าไปดูความเห็นของตุลาการแต่ละคน ส่วนใหญ่เขียนชัดว่าประชามติ 2 ครั้งพอ ก็หวังว่าข้อมูลตรงนี้จะเอากลับมาขยายความละเอียดมากขึ้นและหารือกับประธานสภาเพื่อเห็นว่า การบรรจุร่างดังกล่าวไม่ได้ขัดกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

แต่ทั้งนี้หากมีการหารือแล้วแต่ยังไม่บรรจุร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญอีก ตนมองว่าเราคุยด้วยเหตุและผลทางพรรคแกนนำฝ่ายค้านพรรคแกนนำรัฐบาลก็เห็นตรงกันในเรื่องนี้มาโดยตลอดว่าประชามติ 2 ครั้งเพียงพอแล้ว จึงคิดว่าฉันทามติของทั้งพรรคแกนนำฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลจะชี้ให้ประธานได้เห็น.-319.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

เชิญชวนร่วมงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025”

“กำภู-รัชนีย์” พาทัวร์งาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025” ณ ลานจอดรถ บมจ.อสมท พบปะผู้ประกาศ ดีเจ และอินฟลูเอนเซอร์ รวมไปถึงศิลปินที่จะมาร่วมสนุกในงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟู ปาร์ตี้ 2025”

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

แม่คะนิ้งโผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดอุทยานฯ พรุ่งนี้

จังหวัดเลย อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ “แม่คะนิ้ง” โผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดให้ท่องเที่ยวพรุ่งนี้ (23 ธ.ค.) หลังปิดมา 9 วัน จากเหตุช้างป่า