ไทย-อินเดีย ​เดินหน้าความร่วมมือ​

อินเดีย​3 พ.ย.- ไทย-อินเดีย ​เดินหน้าความร่วมมือ​ภายใต้กรอบ Bimstec-ทางทหาร​-แก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง ฟื้นความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคา​ หวังขับเคลื่อนบทบาทประเทศกำลังพัฒนา

นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์ถึงการหารือกับนายสุพรหมณยัม ชัยศังกระ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินเดียเมื่อวันที่2 พ.ย. 2567ว่า ได้มีการหารือกันใน 3 ประเด็นหลัก คือความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทย-อินเดีย ซึ่งได้มีการหารือกันเกี่ยวกับความพยายามในการผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมการทหารร่วมกัน โดยทราบว่าขณะนี้ทางอินเดียมีความร่วมมือกับแอร์บัสในการผลิตเครื่องบินขนาดเล็ก นายสุพรหมณยัมยินดีที่ไทยให้ความสนใจที่จะร่วมเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาอุตสาหกรรมทางทหาร โดยในครั้งนี้ได้ตกลงกันว่าทั้งสองฝ่ายจะมีการระบุตัวบุคคลที่จะเป็นผู้ทำการติดต่อของแต่ละฝ่าย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้องได้พบปะกันทั้งในส่วนของเจ้าหน้าที่ภาครัฐและภาคเอกชน และจะมีการนำผู้แทนของบริษัทเหล่านี้เดินทางมาอินเดียเพื่อพูดคุยปรึกษาถึงความเป็นไปได้ว่าจะมีความร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมทหารในสาขาใด ขณะนี้อินเดียมีการพัฒนาอากาศยานขนาดเล็ก รถหุ้มเกราะ และรถถัง ซึ่งความร่วมมือในเรื่องดังกล่าวจะทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศใกล้ชิดกันมากขึ้น และนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมด้านความมั่นคงและทางทหารซึ่งมีความสำคัญสำหรับโลกอนาคต


นายมาริษกล่าวว่า อีกประเด็นที่ได้มีการพูดคุยกันคือเรื่องที่ไทยและอินเดียจะเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนความร่วมมือภายใต้กรอบBIMSTEC ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยภายใต้การนำของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับการแสดงบทบาทนำของไทยร่วมกับประเทศต่างๆ รวมถึงกลุ่มที่ไทยเป็นสมาชิกเพื่อขับเคลื่อนบทบาทของประเทศกำลังพัฒนา อินเดียและไทยถือว่ามีศักยภาพในฐานะประเทศที่มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ เพื่อแสดงบทบาทในการขับเคลื่อนประเทศกำลังพัฒนาให้ไปได้ และยังสามารถร่วมมือกันเพื่อขับเคลื่อนประเทศในBIMSTECได้เป็นอย่างดี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระบุเพิ่มเติมว่า ยังได้มีการหารือในเรื่องที่เคยพูดคุยกันระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศBIMSTECอย่างไม่เป็นทางการในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคงใน 3 ด้าน เรื่องแรกคือความมั่นคงด้านอาหารซึ่งไทยและอินเดียสามารถขับเคลื่อนร่วมกันเพื่อให้BIMSTECได้รับการรับรองความมั่นคงด้านอาหารใน 2 ประเด็น ประการแรกคือเรื่องธัญพืช เนื่องจากทั้งสองประเทศต่างผลิตธัญพืชและเพาะปลูกข้าว ประการที่สองคือการพัฒนาเรื่องประมงร่วมกันในสมาชิกBIMSTEC เพราะไทยและอินเดียมีองค์ความรู้เรื่องการทำประมงทั้งการทำประมงชายฝั่งและการทำประมงน้ำลึก ขณะที่ประเทศในเอเชียใต้มีทรัพยากรทางทะเลที่มีศักยภาพเป็นจำนวนมาก แต่แนวทางการทำประมงอาจยังไม่สอดคล้องกับจำนวนทรัพยากรที่มีอยู่ องค์ความรู้ที่ทั้งสองประเทศมีจะสามารถช่วยกันนำไปพัฒนาเพื่อนำไปสู่การเติบโตขอBIMSTECร่วมกัน


นายมาริษ​ กล่าวอีกว่า​ สำหรับความมั่นคงประการที่สองคือเรื่องพลังงาน ไทยและอินเดียสามารถสนับสนุนเกื้อกูลกันในการทำวิจัยเกี่ยวกับพลังงานพลังงานทางเลือก เชื่อมั่นว่าด้วยศักยภาพของทั้งสองประเทศเพียงพอที่จะสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศสมาชิกบิมสเทคได้เป็นอย่างดี​และความมั่นคงประการที่สามคือความมั่นคงของมนุษยชาติ ซึ่งนายสุพรหมณยัมสนับสนุนความร่วมมือกับไทยในการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับโรคเขตร้อน เพราะไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพและเรามีศูนย์เวชศาสตร์เขตร้อน ความร่วมมือระหว่างสองประเทศในเรื่องดังกล่าวจึงไม่ได้เริ่มขึ้นจากศูนย์ แต่จะเป็นการขยายความร่วมมือและต่อยอดในสิ่งที่มีเกี่ยวกับเรื่องโรคเขตร้อนได้เป็นอย่างดี รัฐมนตรีต่างประเทศอินเดียเห็นพ้องว่าทั้งสองประเทศสามารถพัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องโรคเขตร้อนและยังแนะนำว่าควรขยายความร่วมมือเรื่องเทคโนโลยีและความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไปสู่ความร่วมมือด้านธุรกิจ การวิจัย ยา และวัคซีน เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับมนุษยชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสมาชิกBIMSTEC ขณะที่อินเดียมีศักยภาพในการผลิตวัคซีนและยา ความรู้ที่ทั้งสองประเทศจะร่วมกันพัฒนาสามารถนำไปใช้ได้กับผู้ประกอบการในทั้งสองประเทศ และทำการตลาดปลายน้ำให้ประชาชน 2,000 ล้านคนในเอเชียใต้ได้อีกด้วย

นายมาริษกล่าวว่า ยังได้มีการหารือเกี่ยวกับผลกระทบจากไต้ฝุ่นชางงีที่ทำให้เกิดน้ำท่วมภาคเหนือทั้งของไทย ลาว และเมียนมา ขณะนี้นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ต้องการพัฒนาความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยไทย ลาว กัมพูชา เมียนมา และเวียดนาม โดยจะทำงานร่วมกับประเทศหุ้นส่วนอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รวมถึงกรอบแม่โขง-ล้านช้าง และจะพยายามให้ประเทศหุ้นส่วนเหล่านี้มาทำงานร่วมกับเราในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับน้ำทั้งสองด้านคือน้ำแล้งและน้ำท่วม เพื่อไม่ให้เกิดอุทกภัยในหน้าฝน ซึ่งเป็นความตั้งใจของรัฐบาลที่จะแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่มีการเตือนภัย มีความร่วมมือเกี่ยวกับปริมาณน้ำ การวางโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นระบบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้น แม้ว่าอาจจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่การนำเทคโนโลยีที่มีเข้ามาช่วยก็น่าจะช่วยลดผลกระทบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายมาริษกล่าวด้วยว่า ยังได้หยิบยกความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคา ซึ่งได้ว่างจากการพบปะกันมานานพอสมควรมาหารือ และแสดงความตั้งใจว่าจะรื้อฟื้นความร่วมมือดังกล่าวขึ้น ซึ่งได้รับการตอบรับจากนายสุพรหมณยัมเป็นอย่างดี อินเดียเป็นประเทศใหญ่ มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการน้ำและประสบปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วมเช่นกัน ดังนั้นองค์ความรู้ที่เราพัฒนาร่วมกันจะเป็นประโยชน์กับทั้งสองประเทศและยังเป็นองค์ความรู้ที่ทั้งสองประเทศจะช่วยนำไปแก้ไขปัญหาให้กับประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงได้ ทั้งยังเป็นประโยชน์กับประเทศที่เป็นหุ้นส่วนด้านการพัฒนาร่วมกันอีกด้วย


นายมาริษ​ กล่าวว่า​ประเทศไทยยังมีความร่วมมือที่ดีกับสถาบันแม่น้ำโขงซึ่งตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการศึกษาและมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ซึ่งมีองค์ความรู้และมีศักยภาพอย่างมากในการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำด้วยเช่นกัน​ ซึ่งการหารือระหว่างกันเป็นการพูดคุยอย่างตรงไปตรงมาและมีความเห็นสอดคล้องกันอย่างชัดเจนในทั้ง 3 ประเด็นดังกล่าว โดยนายสุพรหมณยัม ซึ่งจะเดินทางไปประเทศออสเตรเลียยังรับปากที่จะไปหารือกับออสเตรเลียในเรื่องดังกล่าวอีกด้วย.-319.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผยไทยตอนบน อุณหภูมิขยับลงอีก 1-2 องศาฯ

กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนอากาศหนาวเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลงอีก 1 – 2 องศาฯ ยอดดอยและยอดภูหนาวจัด มีน้ำค้างแข็งบางแห่ง

ยิงพรานล่าหมูป่า

เพื่อนรับเป็นคนยิงนายพรานวัย 52 อ้างคิดว่าเป็นหมูป่า

เพื่อนเปิดปากรับสารภาพเป็นคนใช้อาวุธปืนยิงนายพรานวัย 52 ปี เสียชีวิตในสวนผลไม้ อ้างคิดว่าเป็นหมูป่า ยืนยันไม่ได้มีปัญหาหรือมีเรื่องกันมาก่อน

เติมน้ำมันไม่จ่าย

แท็กซี่เติมน้ำมันไม่จ่าย ซิ่งหนีพุ่งชนรถ 5 คันรวด

ตำรวจชัยภูมิ ไล่ล่าแท็กซี่เติมน้ำมัน แล้วซิ่งหนี ไม่จ่ายเงิน แถมยังขับพุ่งชนรถตำรวจ รถเก๋งและรถ 6 ล้อ รวม 5 คันรวด