“ศุภณัฐ” ถาม “ภาษีรถติด” ทำประชาชนหันใช้ขนส่งสาธารณะจริงหรือ

รัฐสภา 24 ต.ค.-“ศุภณัฐ” ถาม “ภาษีรถติด” ช่วยแก้ปัญหาให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะได้จริงหรือ บีบให้จ่ายเงินเพิ่มขึ้นเสียมากกว่า แม้เห็นด้วย แต่ไทยยังไม่เหมาะสม เหตุยังไม่แก้ปัญหาระบบขนส่ง ขณะ รมช.คมนาคม เผยเรื่องนี้ นายกฯ ให้ ก.คลัง ศึกษาอยู่ ชี้เป็นการแก้ปัญหา PM2.5 ที่ต้นเหตุ เชื่อหากทำรถไฟฟ้า 20 บาทได้จริง ลดภาระประชาชนได้

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีในวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในที่ประชุม วาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา นายศุภณัฐ มีนชัยอนันต์ สส.พรรคประชาชน ตั้งกระทู้ถาม ต่อนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยมีนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ตอบกระทู้แทน เกี่ยวกับการเก็บค่าธรรมเนียมรถติดหรือค่าภาษีรถติด เพื่อนำเงินไปเวนคืนสัมปทานรถไฟฟ้า โดยนายศุภณัฐ กล่าวว่า ส่วนตัวสนับสนุน การใช้ระบบขนส่งสาธารณะการลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว เพื่อแก้ปัญหารถติดสนับสนุนการ ลดค่าใช้จ่าย ในเรื่องการขนส่งมวลชนโดยเฉพาะรถไฟฟ้า ซึ่งหลายประเทศได้มีการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด และช่วยในการแก้ปัญหารถติดได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นการเก็บภาษี เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัด เก็บภาษีสำหรับผู้ใช้รถยนต์ส่วนตัวในเส้นทางที่มีการจราจรติดขัด หรือใจกลางเมือง การเก็บภาษีรูปแบบนี้เป็นการเก็บภาษี สำหรับผู้ใช้รถยนต์ส่วนตัวให้สูงขึ้น เพื่อจูงใจให้หันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากยิ่งขึ้น


โดยยกตัวอย่างการเดินทางในต่างประเทศที่มีการเก็บภาษีรถติด ที่ใช้เวลาในการเดินทาง ระหว่างใช้รถยนต์ส่วนตัวและขนส่งสาธารณะจะมีเวลาที่ใกล้เคียงกัน ขณะที่การเดินทางในประเทศไทย ระหว่างรถยนต์และขนส่งมวลชนสาธารณะที่ใช้เวลามหาศาลกว่ารถยนต์ 2-3 เท่า ซึ่งนี่ไม่ใช่แรงจูงใจมากพอที่จะทำให้คนหันมาใช้ขนส่งสาธารณะแต่เป็นการบีบให้ประชาชนจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเสียมากกว่า เพราะไม่มีทางเลือกในการใช้ขนส่งมวลชนสาธารณะ นี่คือปัญหาของการเกิดสภาวะ ที่แม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น แต่ความต้องการใช้รถยนต์ส่วนตัวไม่ลดลง สุดท้ายก็ต้องใช้รถยนต์ส่วนตัวเหมือนเดิม

ทั้งนี้ แม้ว่าค่าใช้จ่ายรถไฟฟ้าถูกลงเป็นเรื่องที่ดี แต่คนที่ได้ประโยชน์หลักๆจะยังคงอยู่ในกลุ่มเดิม ที่เป็นกลุ่มที่ใช้รถไฟฟ้าอยู่แล้ว แต่เราไม่สามารถเปลี่ยนให้คนที่มีบ้านอยู่ในซอย ที่ไม่ติดกับรถไฟฟ้า ให้หันมานั่งวินมอเตอร์ไซค์ ต่อรถเมล์ ต่อรถสองแถว แล้วต่อรถไฟฟ้าได้อย่างไร


“รถยนต์เมืองไทยแพง เพราะภาษีสูงมาก แต่ทำไมคนไทยถึงซื้อรถกันเยอะ จดทะเบียนรถยนต์ในกรุงเทพฯ 11-12 ล้านคัน แต่เรามีประชากรไม่ถึง 10 ล้านคน แต่การจดทะเบียนรถเยอะขนาดนี้เพราะว่าระบบขนส่งมวลชนไม่ตอบโจทย์เพราะฉะนั้นวันนี้ต่อให้มีการเก็บ 50 บาทหรือ 20 บาทตลอดสายก็อาจจะไม่สามารถแก้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ให้ประชาชนหันไปใช้ได้ เพราะไม่มีการแก้ระบบขนส่งสาธารณะทั้งระบบ” นายศุภณัฐ กล่าว

นายศุภณัฐ จึงตั้งคำถามว่า เป้าหมายของการเก็บภาษีรถติดเป็นเพียงแค่การหาเงินเพื่อเวนคืนรถไฟฟ้าหรือเพื่อต้องการแก้ปัญหารถติดและเพิ่มให้ประชาชนหันมาใช้ขนส่งสาธารณะมากยิ่งขึ้น ทำไมรัฐบาลถึงไม่เคยให้ความสำคัญกับการแก้ระบบขนส่งสาธารณะทั้งระบบ เพื่อสร้างให้คนไทยเข้าถึงขนส่งมวลชนสาธารณะ หรือรถไฟฟ้าที่เป็นจุดหลักได้จริง พร้อมตั้งคำถามว่ามั่นใจหรือไม่ว่าภายใน 6 เดือนจะแก้ปัญหาเรื่องระบบรถเมล์ ส่วนรถไฟฟ้าที่รัฐบาลต้องการจะเวนคืนจะต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่ ต่อรถไฟฟ้าแต่ละสาย และสงสัยว่ารัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทยดูทรงแล้วเหมือนเป็นการวนเวียนอยู่กับการหาเงินให้กับนายทุน

จากนั้นนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ตอบคำถามว่า ความจำเป็นที่จะต้องจัดการกับรถ ในโซนที่การจราจรติดขัด ที่มีรถ 390,000 คันต่อวัน และเราใช้เวลา 17.8 กม.ต่อ 1 ช.ม. ถ้าเรามีการเก็บภาษีรถติด เราต้องมีระบบขนส่งมวลชนสาธารณะรองรับ ซึ่งในวันนี้ กทม.มีระบบขนส่งรถไฟฟ้าทางราง และมีรถขสมก. การจัดวางที่ตั้งของบขส. ซึ่งภายในปี 68 จะเริ่มเห็นเป็นรูปธรรม โดยมีการเตรียมงบประมาณในการบริหารจัดการ ขสมก.และเส้นเลือดฝอย รวมถึงระบบรางระยะไกล โดยทั้งหมดที่เราดำเนินการจะใช้พลังงานสะอาดเป็นส่วนใหญ่ เพราะเป้าหมายของเราคืออยากเห็นกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่แก้ไขเรื่อง PM 2.5 ได้อย่างถูกวิธี มีอารยะ ที่มีการจัดการปัญหาจากต้นเหตุ


วันนี้ถ้าเราสามารถแก้ไขโซนที่เป็นรถติดได้ ก็จะเกิดการคล่องตัวในระบบจราจร ซึ่งในวันนี้จำนวนพื้นที่ผิวถนนกับจำนวนรถไม่สมดุลกัน แต่การเก็บภาษีของเราเป้าหมายคือการลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลให้หันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะมากขึ้น วิธีการนี้ถือเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้ในไทย

พร้อมยกตัวอย่างรถไฟฟ้าสายสีแดงที่ใช้นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาท พบว่ามีประชาชนใช้บริการเพิ่มมากขึ้น ซึ่งรัฐชดเชยไม่มาก ซึ่งโครงการ 20 บาทตลอดสาย เป้าหมายจริงๆ คือต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนและรณรงค์ให้ประชาชนหันมาใช้บริการสาธารณะ รวมทั้งเป็นการลดการใช้เครื่องยนต์ และเป็นการส่งเสริมอาชีพในเส้นทางเส้นเลือดฝอยเข้าสู่เส้นทางหลัก ซึ่งนี่เป็นภารกิจของกระทรวงคมนาคม

ส่วนการเก็บเงินก้อนนี้แล้วจะเอาไปเวนคืนสัมปทานนั้น นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงการคลังไปศึกษาหาวิธีการ ที่จะซื้อคืนรถไฟฟ้าทั้งหมดเอามาเป็นของรัฐ แล้วจัดการเดินรถให้เป็น ลักษณะเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีแดง ส่วนการเก็บภาษีรถติดยังเป็นแนวคิดและให้กระทรวงการคลัง ไปศึกษาวิธีการ ขณะที่หน่วยงานที่จะจัดเก็บจะเป็นใครยังไม่ใช่กระทรวงคมนาคม

ส่วนปัญหาระบบรถเมล์ ต้องยอมรับว่ามีปัญหาจริง ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการปฏิรูปทั้งระบบถนน ระบบเส้นทางเดินรถ รวมถึง ระบบขสมก. และเอกชน หากโครงการ 20 บาททุกสายเกิดขึ้น ก็จะกระทบกับระบบขนส่งสาธารณะ และระบบแท็กซี่ เราจึงต้องมาบริหารใหม่ให้เหมาะสมกับบริบทที่เป็นปัจจุบัน ทุกๆการเปลี่ยนแปลงก็ต้องมีผลกระทบเพื่อให้เข้ากับ สถานการณ์ใหม่

“ผมไม่อยากให้ไปกล่าวหากันว่าหาเงินให้ใคร วันนี้เราเป็นตัวแทนประชาชนเรามาทำหน้าที่ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน เพราะเรามาจากการเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นผมไม่อยากให้มีการกล่าวหาว่าต้องไปหาเงินให้ใคร บ้านเมืองมีกฎหมายมีกฎระเบียบ มีองค์กรอิสระมีเครื่องมือมีกลไกที่จะจัดการเรื่องพวกนี้ เพราะฉะนั้นไม่อยากให้ไปกล่าวหาว่าใครไปทำอะไรให้ใคร ใครจะไปทำนอกกฎนอกกติกานอกระเบียบไม่สามารถทำได้ วันนี้อยากให้มีความคิดตรงกันว่าเวันนี้เราจะทำเพื่อประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้งโครงการต่างๆที่คิดขึ้นมาก็เพื่อประชาชนเป็นหลัก” นายสุรพงษ์ กล่าว.-315.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นักธุรกิจสาวแจ้งความทนายดัง “ฉ้อโกง” ฮุบเงิน 71 ล้าน

นักธุรกิจสาว อดีตลูกความทนายดัง แจ้งความถูกทนายดังฉ้อโกง ฮุบเงิน 71 ล้านบาท เผยถูกหลอกให้ลงทุนซื้อแพลตฟอร์ม “หวยออนไลน์”

สาวแจ้งความภรรยาอดีตบิ๊กตำรวจ ย่องลักทรัพย์ในคอนโดฯ

หญิงสาวแจ้งความภรรยาอดีตตำรวจยศนายพล แอบกิ๊กสามี แถมย่องลักทรัพย์ในคอนโดฯ มูลค่าหลายล้านบาท ด้านตำรวจเรียกผู้เสียหายสอบเพิ่ม พร้อมเก็บภาพวงจรปิดตรวจสอบแล้ว

“ทนายบอสพอล” มองยึดมือถือ พนง.ดิไอคอน เกินเส้นกฎหมาย

“ทนายบอสพอล” พาพนักงานดิไอคอน ลงบันทึกประจำวัน หลังตำรวจบุกค้น 11 จุด และยึดมือถือ มองว่าทำเกินกว่ากฎหมาย พร้อมฝากถึงศาลยุติธรรมในการออกหมายจับรอบ 2 เป็นห่วงสิทธิของทุกฝ่าย

ข่าวแนะนำ

เยี่ยมบอสดิไอคอน

ญาติบอสชายทยอยเข้าเยี่ยมวันแรก หลังครบกักโรค

ครอบครัว-ญาติ ‘บอสชาย’ คดีดิไอคอน เข้าเยี่ยมวันแรก หลังครบกำหนดกักโรค รองโฆษกราชทัณฑ์ เผยทุกคนเริ่มปรับตัวได้ดี เครียดน้อยลง ยังไม่มีใครป่วย