“ชูศักดิ์” ย้ำนิรโทษกรรม ม.112 ยังเป็นประเด็นอ่อนไหว

รัฐสภา 17 ต.ค. – สภาฯ ถกรายงานนิรโทษกรรม “ชูศักดิ์” ย้ำนิรโทษกรรม ม.112 ยังเป็นประเด็นอ่อนไหว แจงไม่มีบทบังคับ-ผูกมัดให้ ครม.ดำเนินการ


ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ซึ่งกรรมาธิการฯ ชุดที่มีนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ เป็นประธาน กมธ. พิจารณาเสร็จแล้ว

นายชูศักดิ์ กล่าวถึงรายงานตอนหนึ่งว่า การนิรโทษกรรมไม่ใช่การยกเลิกความผิด การกระทำนั้นเป็นความผิดตามกฎหมายแต่สมควรเป็นการยกเลิกความรับผิดแก้ปัญหาข้ดแย้งในบ้านเมืองในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข


ทั้งนี้ การตรากฎหมายนิรโทษกรรมเป็นเครื่องมือให้ประเทศเดินหน้า ซึ่งในอดีตประเทศไทยมีกฎหมายนิรโทษกรรม 23 ฉบับ สำหรับรายงาน กมธ. เป็นการศึกษาแนวทางการตรากฎหมาย ไม่ใช่การพิจารณาหรือยกร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งมีข้อเสนอแนะแนวทางหากมีการยกร่างหรือตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ต่อไปว่าควรหรือไม่ควร รวมการกระทำที่เป็นประโยชน์ที่ต่อประเทศชาติโดยรวม

“กมธ. เสนอความเห็นในทุกมิติ เพื่อให้สภาฯ ศึกษา เรียนรู้ รับฟังความเห็นอย่างรอบด้าน แม้รายงานเป็นการศึกษาแนวทางการตรา พ.ร.บ. แต่ได้เสนอแนะแนวทางอื่นๆ เพื่อยุติความขัดแย้งและสร้างความเข้าใจอันดีของสังคมไทย เช่น ขอพระราชทานอภัยโทษ แนวทางล้างมลทิน การชะลอการฟ้อง สั่งไม่ฟ้องคดีที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อสาธาร และตรา พ.ร.บ. ที่มีเงื่อนไขตามกระบวนการที่เกิดขึ้น” นายชูศักดิ์ กล่าว

นายชูศักดิ์ กล่าวถึงสาระของรายงาน กมธ. ว่าควรกำหนดขอบเขตการนิรโทษกรรม ตั้งแต่ปี 2548 ถึง ปัจจุบันการกระทำที่ควรได้รับนิรโทษกรรม เน้นมูลเหตุที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง โดย กมธ. แยกในคดีหลัก เช่น ฐานะเป็นกบฏ การกระทำในคดีรอง เช่น ความผิดต่อเจ้าพนักงาน และแยกคดีที่มีความอ่อนไหวทางการเมืองออกมาพิจารณาเฉพาะ โดยแสดงเหตุผลทุกมิติ ทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย รวมถึงการแสวงหามาตรอื่นๆ เช่น การนิรโทษกรรมแบบมีเงื่อนไข สำหรับรูปแบบการนิรโทษกรม กำหนดให้เป็นการนิรโทษกรรมแบบ อัตโนมัติ มีคณะกรรมการพิจารณาและผสมผสาน ทั้งนี้ กรณีตั้งกรรมการนั้นเนื่องจากช่วงเวลาของเหตุการณ์ซึ่งมีคดีที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก เมื่อมีคณะกรรมการพิจารณาจะทำให้การนิรโทษกรรมถูกต้องเป็นธรรม


นายชูศักดิ์ กล่าวด้วยว่า มีการเสนอแนะแนวทางการตรา พ.ร.บ.อาจทำเป็นหลายฉบับ เพราะเหตุการณ์หรือพฤติกรรมของการกระทำนั้นแตกต่างกัน สำหรับข้อสังเกตของ กมธ. มีหลายแนวทางเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องและ ครม. รับไปดำเนินการ เช่น การอำนวยความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 110 และมาตรา 112 ยังคงเป็นประเด็นที่อ่อนไหวและอาจนำไปสู่ความขัดแย้งได้ อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตของ กมธ. ไม่ได้บังคับหรือผูกมัด ครม. ที่จะดำเนินการตามที่เสนอ

“รายงานนี้ขอเลื่อนการพิจารณา 2-3 ครั้ง เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันว่าไม่ใช่การพิจารณา พ.ร.บ. แต่เป็นการศึกษาของ กมธ. ที่ได้รับมอบหมายจากสภาฯ ดังนั้น ที่ประชุมควรรับทราบรายงานเพื่อนำผลการศึกษาไปพิจารณาประกอบกับการยกร่างกฎหมายในอนาคต” นายชูศักดิ์ กล่าว.-319-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ยิง สจ.โต้ง

คุมตัว “โกทร-สมุน” ฝากขัง – ค้านประกันตัว

ตำรวจเตรียมคุมตัว “โกทร” พร้อมลูกน้อง รวม 7 คน ส่งศาลฝากขัง ขณะที่ผลชันสูตร “สจ.โต้ง” โดนยิงพรุนทั้งตัว รวม 22 นัด ขณะ “โกทร” ลั่นไม่ได้สั่งตาย อยู่ในห้องนอน ไม่เห็นเหตุการณ์

“บิ๊กอ้อ” เชื่อยิงดับ “สจ.โต้ง” มีการวางแผนล็อกเป้าล่วงหน้า

“บิ๊กอ้อ” ฟันธงหลังพา 3 ผู้ต้องหา ชี้จุดบ้านเกิดเหตุยิง “สจ.โต้ง” เสียชีวิต เชื่อมีการวางแผน ล็อกเป้าล่วงหน้า สั่งเพิ่มข้อหาหนัก “ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน”

ข่าวแนะนำ

ปาระเบิดงานกาชาด

ปาบึ้มหน้าเวทีรำวง งานกาชาดอุ้มผาง ตาย 4 เจ็บอื้อ

ระทึกกลางดึก! ขว้างระเบิดหน้าเวทีรำวง งานกาชาดอำเภออุ้มผาง เสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บจำนวนมาก ตำรวจเช็กวงจรปิดไล่ล่าคนร้าย

ไทยตอนบน-อีสาน อากาศเย็น เตือนภาคใต้รับมือฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบน-อีสาน อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิลดลง 1-4 องศาฯ ยอดดอย-ยอดภู หนาวถึงหนาวจัด เตือนภาคใต้รับมือฝนตกหนัก

ศาลไม่ให้ประกันตัว “โกทร” กับพวก คุมทั้งหมดส่งเรือนจำนครนายก

“โกทร” ปฏิเสธสั่งฆ่า “สจ.โต้ง” ลูกบุญธรรม พร้อมต่อว่าสื่อมวลชนตั้งคำถามบ้าบอ จะฆ่าทำไมรักเหมือนลูก ที่ผ่านมาช่วยเหลือมาตลอด ก่อนถูกตำรวจนำตัวไปฝากครั้ง ด้าน สจ.จอย ยื่นคำร้องคัดค้านการประกันตัว