“พิเชษฐ์” เชิญทุกภาคส่วนหามาตรการป้องกันโศกนาฏกรรมบนท้องถนนซ้ำ

รัฐสภา 2 ต.ค.-“พิเชษฐ์” รองประธานสภาฯ เชิญทุกภาคส่วนร่วมบูรณาการกฎหมายและหามาตรการป้องกันโศกนาฏกรรมบนท้องถนนซ้ำ ตั้งเป้าลดการสูญเสียบนท้องถนนลงทุกปี จี้รื้อระบียบ ปรับมาตรฐานรถสาธารณะ แต่ค้านเลิกทัศนศึกษา

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ในฐานะประธานคณะกรรมการป้องกันและลดอุบัติเหตุ เพื่อสร้างความปลอดภัยบนท้องถนนของประเทศไทย แถลงว่า จากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้(1 ต.ค.) ที่รถทัศนศึกษาของนักเรียนจากจังหวัดอุทัยธานี ประสบอุบัติเหตุ และเกิดเพลิงลุกไหม้ ตนต้องขอแสดงความเสียใจกับครอบครัว และชาวจังหวัดอุทัยธานีด้วย เห็นว่าในฐานะสภาผู้แทนราษฎรมีหลายประเด็นที่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกฎระเบียบกฎหมายและมาตรฐานอุตสาหกรรม และในฐานะประธานคณะกรรมการป้องกันและลดอุบัติเหตุฯเพื่อตั้งเป้าที่จะลดการสูญเสีย เพราะ ในแต่ละปี เกิดการสูญเสียจากอุบัติเหตุบนท้องถนน 17,000-20,000คน ดังนั้นคณะกรรมการชุดนี้จะพยายามจลดอุบัติเหตุและลดจำนวนการสูญเสียให้น้อยลงทุกๆปีให้ได้ โดยในวันที่ 25 ต.ค.นี้คณะกรรมการจะเชิญหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกว่า 50คน มาพูดคุยบูรณาการหามาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาร่วมกัน


นายพิเชษฐ์ กล่าวว่าสิ่งที่จะต้องพิจารณาคือ รถสาธารณะ เช่นรถแท็กซี่รถตู้ รถบัส เป็นรถที่ จะต้องดูแลอย่างรอบคอบ ซึ่งรถแท็กซี่ มีอายุการใช้งาน 7 ปี รถตู้ขอผ่อนผันได้ถึง 10ปี ส่วนรถบัสข้อกำหนดที่ใช้งาน จำเป็นจะต้องมีเหมือนแท็กซี่ไม่ใช่ว่ารถอายุ 50 ปี แล้วมาดัดแปลงส่วนประกอบใหม่ จึงต้องมีมาตรฐานอุตสาหกรรม เช่น การรับจดแจ้งขึ้นทะเบียนรถประกอบที่นำหลายชิ้นส่วนมาประกอบและขอจดทะเบียน จะต้องมีมาตรฐาน โดยทางกระทรวงคมนาคมจะต้องสร้างมาตรฐานอุตสาหกรรมรถยนต์ใหม่ให้ได้มาตรฐานกว่านี้ ไม่ใช่ว่าพอเข้าองค์ประกอบแล้วผ่าน และ ที่จะต้องกำหนดมาตรฐานสูงสุดคือเด็กและเยาวชน เวลาจะทัศนศึกษาข้ามจังหวัด จะต้องดูว่ามีรถนำหรือไม่ ขับขี่ใช้ความเร็วเท่าไหร่ ซึ่งจะต้องมีความเข้มงวด

โดยสภาผู้แทนราษฎรในฐานะที่เป็นผู้ออกกฎหมายจะต้องเข้มงวดและนำโศกนาฎกรรมครั้งนี้เป็นบทเรียนสำคัญที่จะต้องนำมาปรับปรุงมาตรฐานการใช้งานของรถบนท้องถนนและอายุการใช้งาน และจากนี้ไปในพื้นที่กรุงเทพฯ จะต้อง มีการดับเพลิง ที่ทันท่วงที เวลาเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน จะต้องมี อุปกรณ์ ดับเพลิงประจำรถให้ได้มาตรฐานและควรทำอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเมื่อเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาแล้วก็จะ เน้นเรื่องโดรน ดับเพลิง เพราะบางครั้งอาคารสูงหรือบนท้องถนน ไม่สามารถเข้าไป ดับเพลิงได้ทันท่วงที ดังนั้นจึงต้องผลักดันในเรื่องการใช้โดรนสำหรับดับเพลิงขึ้นมาในเมืองหลวง รวมถึงการตรวจสอบสภาพของรถที่จะเดินทางสำหรับการทัศนศึกษา ไม่ใช่เฉพาะเด็กๆต้องรวมถึงประชาชนทั่วไปหากเดินทางข้ามจังหวัดในพื้นที่ห่างไกลควรต้องตรวจเช็ครถให้ได้มาตรฐานและมีกระบวนการที่จะปฏิบัติตามกฎหมายให้เคร่งครัดเช่นมีรถนำ เพราะหากเกิดการสูญเสียแบบนี้ไม่คุ้มค่าซึ่งพวกเรามีลูกมีหลานก็ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง


ส่วนที่กระแสสังคมให้ยกเลิกการทัศนศึกษานั้นนายพิเชษฐ์ กล่าวว่า ไม่ควรยกเลิกการทัศนศึกษา เพราะเป็นกระบวนการที่จะเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ ไม่ว่าเด็กนักเรียน หรือประชาชนจำเป็นจะต้องเดินทางดังนั้น ในวันที่ 25 ต.ค.นี้ ก็คงจะได้มีการพูดคุยเพื่อหามาตรการร่วมกัน ทั้งมาตรการด้านกฎหมายก็จะรีบทำเพราะถือเป็นเรื่องสำคัญก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุซ้ำและหัวใจสำคัญคือกฎหมายที่จะบังคับใช้กับผู้ประกอบการ.-312.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สามีเข้าเกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาดับ

สลด! สามีขับรถใส่เกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาเสียชีวิตในบ้านพักย่านวิภาวดี ตำรวจยังไม่ปักใจเชื่อคำให้การเบื้องต้น นำตัวสอบปากคำอย่างละเอียดอีกครั้ง

คุมฝากขัง “เอ็ม เอกชาติ” เจ้าตัวปิดปากเงียบ

ตร.ไซเบอร์คุมตัว “เอ็ม เอกชาติ” ฝากขัง เจ้าตัวปิดปากเงียบ ไม่ตอบคำถามสื่อ ด้านตำรวจพบเส้นทางการเงินจากเว็บพนัน กว่า 30 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

กรมอุตุฯ เตือนเฝ้า​ระวัง​พายุฤดูร้อน กระทบ​ 53 จังหวัด​

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 7 เตือนเฝ้า​ระวัง​พายุฤดูร้อน​ พายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก มีผลกระทบ​ 53 จังหวัด​ ระหว่าง​ 29​ มี.ค.-1 เม.ย.68​

ความเสียหายแผ่นดินไหว

ปภ. เผยพบความเสียหาย​จาก​แผ่นดินไหว​ 11​ จังหวัด

อธิบดี​กรม​ ปภ. ระบุ​ได้รับรายงาน​ความเสียหาย​จาก​แผ่นดินไหว​ 11​ จังหวัด​ ส่วนเหตุ​อาคารถล่มในกทม.​ มีผู้บาดเจ็บ 9 ราย เสียชีวิตแล้ว 8 ราย และสูญหายอีก 101 ราย​ ทีมค้นหาและกู้ภัยในเขตเมือง (USAR) ของ​ปภ.​ ยัง​คงสนับสนุน​ทีมกู้ภัย​ของ กทม.​ ค้นหาและช่วย​เหลือ​ผู้​ได้รับบาดเจ็บ​เต็มกำลัง

แผ่นดินไหว

กรมทรัพยากรธรณี แถลงสถานการณ์แผ่นดินไหว 8.2 ที่เมียนมา

กรมทรัพยากรธรณี 28 มี.ค. – กรมทรัพยากรธรณี แถลงสถานการณ์แผ่นดินไหว 8.2 รอยเลื่อนสะกาย ประเทศเมียนมา 28 มีนาคม 2568 นายพิชิต สมบัติมาก อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี พร้อมด้วยนายสุวภาคย์ อิ่มสมุทร รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ในฐานะโฆษกกรมทรัพยากรธรณี นายวีระชาติ วิเวกวิน นักธรณีวิทยาชำนาญการพิเศษ ร่วมกันแถลงความคืบหน้าสถานการณ์แผ่นดินไหวรอยเลื่อนสะกาย บนบกขนาด 8.2 ที่ระดับความลึก 10 กิโลเมตร และมีแผ่นดินไหวตามมา (After Shock) มีขนาด 2.8 – 7.1 จำนวน 27 ครั้ง (ข้อมูล ณ เวลา 18.48 น.) (ที่มา : USGS กรมอุตุนิยมวิทยา และกรมทรัพยากรธรณี) สาเหตุเกิดจากรอยเลื่อนสะกาย รับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนเป็นบริเวณกว้าง และสร้างความเสียหายจำนวนมาก ทั้งในประเทศเมียนมาและในประเทศไทย นายพิชิต กล่าวว่า จากสถานการณ์แผ่นดินไหวบนบกในครั้งนี้ […]