เปิดคำแถลง 10 นโยบายเร่งด่วน “รัฐบาลแพทองธาร”

กรุงเทพฯ 7 ก.ย. – เปิดคำแถลง “นโยบายรัฐบาลแพทองธาร” กับ 10 นโยบายเร่งด่วน เดินหน้าผลักดันโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ให้ความสำคัญกลุ่มเปราะบางลำดับแรก-การพักหนี้ SME เร่งออกมาตรการลดราคาพลังงาน เจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ดันเศรษฐกิจใต้ดินไว้บนดิน ส่งเสริมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ “เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพลกซ์” กำหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสาร รองรับนโยบายค่าโดยสารราคาเดียวตลอดสาย


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดพิเศษ ที่มี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีมติเห็นชอบคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่จะแถลงต่อรัฐสภาในวันที่ 12 กันยายน 2567 มีทั้งหมด 75 หน้า ประกอบด้วย ประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นโยบายเร่งด่วน นโยบายระยะกลางและระยะยาว ภาคผนวก

โดยคำแถลงนโยบายของนายกรัฐมนตรีแพทองธาร เริ่มแรกได้ยกความท้าทายที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่หลายประการ ทั้งด้านเศรษฐกิจ ปัญหาหนี้สินเรื้อรัง ปัญหาความเหลื่อมล้ำรุนแรง ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาสังคมและการเมือง


“ทั้งหมดนี้คือความท้าทายที่รัฐบาลพร้อมจะประสานพลังกับทุกภาคส่วนเปลี่ยนความท้าทายให้กลายเป็นความหวังโอกาส และความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคมของคนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม รัฐบาลพร้อมเสริมสร้างศักยภาพสร้างโอกาสให้ประชาชน ทั้งบทบาทและสิทธิเพื่อพลิกฟื้นประเทศจากปัญหาที่รุมเร้า และทำให้ประเทศไทยเดินไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง”

โดยคำแถลงนโยบายของนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย 10 นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการทันที มีสาระสำคัญดังนี้

นโยบายแรก รัฐบาลจะผลักดันให้เกิดการปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบ โดยเฉพาะกลุ่มสินเชื่อบ้านและรถ ช่วยเหลือลูกหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ ภายใต้ปรัชญาที่จะไม่ขัดต่อวินัยทางการเงินและไม่ทำให้เกิดภาวะภัยทางจริยธรรม (Moral Hazard) ของผู้มีภาระหนี้สิน ควบคู่กับการเพิ่มความรู้ทางการเงินและส่งเสริมการออมในรูปแบบใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทย โดยจะดำเนินนโยบายผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทบริหารสินทรัพย์


นโยบายที่สอง รัฐบาลจะดูแลและส่งเสริมพร้อมกับปกป้องผลประโยชน์ของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs จากการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมของคู่แข่งทางการค้าต่างชาติ โดยเฉพาะผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ และการแก้ไขปัญหาหนี้ของ SMEs เช่น การพักหนี้ การจัดทำ Matching Fund ซึ่งเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างรัฐบาลและเอกชน เพื่อประคับประคองให้กลับมาเป็นกลไกที่แข็งแรงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

นโยบายที่สาม รัฐบาลจะเร่งออกมาตรการเพื่อลดราค่าพลังงานและสาธารณูปโภค ปรับโครงสร้างราคาพลังงานควบคู่กับการเร่งรัดจัดทำ ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำสัญญาซื้อขายพลังงานได้โดยตรง (Direct PPA) รวมทั้งการพัฒนาระบบสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อความมั่นคงทางยุทธศาสตร์ของประเทศ (Strategic Petroleum Reserve : SPR) สำรวจหาแหล่งพลังงานเพิ่มเติม และการเจรจาประเด็นพื้นที่ทับช้อนกับกัมพูชา (OCA) เพื่อลดต้นทุนด้านพลังงาน พร้อมทั้งผลักดันการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ (Mass Transit) และการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วมในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับนโยบาย “ค่าโดยสารราคาเดียว” ตลอดสาย เพื่อลดภาระค่าเดินทาง

นโยบายที่สี่ รัฐบาลจะสร้างรายใหม่ของรัฐด้วยการนำเศรษฐกิจนอกระบบภาษี (Informal Economy) และเศรษฐกิจใต้ดิน (Underground Economy) เข้าสู่ระบบภาษี ที่คาดว่าจะมีมูลค่าสูงกว่าร้อยละ 50 ของ GDP เพื่อนำไปจัดสรรสวัสดิการด้านการศึกษา สาธารณสุข และสาธารณูปโภค รวมทั้งอุดหนุนค่าใช้จ่ายขั้นพื้นฐานของประชาชน พร้อมทั้งจะปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

นโยบายที่ห้า รัฐบาลจะเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย ควบคู่กับการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายและเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มเปราะบางเป็นลำดับแรก และผลักดันโครงการดิจิทัลวอลเล็ต (Digital Wallet) ซึ่งจะเป็นการวางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัล และพัฒนาศูนย์ข้อมูลภาครัฐที่มุ่งการพัฒนานโยบายที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน พร้อมเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชน และการประกอบอาชีพ

นโยบายที่หก รัฐบาลจะยกระดับการทำเกษตรระบบดั่งเดิมให้เป็นเกษตรทันสมัย โดยใช้แนวคิด “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” นำเทคโนโลยีด้านการเกษตร (Agi-Tech) เช่น เกษตรแม่นยำ (Precision Agriculture) และเทคโนโลยีด้านอาหาร (Food Tech) มาใช้พัฒนาอาชีพด้านการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ และอาชีพที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร รวมถึงการคว้าโอกาสในตลาดใหม่ๆ รวมทั้งอาหารฮาลาล และพื้นนโยบาย “ครัวไทยสู่ครัวโลก” ซึ่งเป็นจุดเด่นของประเทศไทยเพื่อตอบสนองความต้องการของโลก ด้านความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) และเร่งเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและราคาพืชผลการเกษตร รวมทั้งเพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกร

นโยบายที่เจ็ด รัฐบาลจะเร่งเสริมการท่องเที่ยว ด้วยการสานต่อความสำเร็จในการปรับโครงสร้างการตรวจลงตราทั้งหมดของประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ขอวีซ่า เช่น กลุ่มผู้เข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติ (MICE) และกลุ่มชาวต่างชาติที่ทำงานทางไกล (Digital Nornad) ซึ่งสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวถึง 1.892 ล้านล้านบาท ในปี 2566 โดยส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ เพิ่มแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-made Destinations) เช่น สวนน้ำ สวนสนุก ศูนย์การค้า สถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex) นำคอนเสิร์ต เทศกาล และการแข่งขันกีฬาระดับโลก มาจัดในประเทศไทย รวมถึงส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองน่าเที่ยว เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและเม็ดเงินมหาศาลที่จะกระจายลงสู่ผู้ประกอบการภายในประเทศได้อย่างรวดเร็ว

นโยบายที่แปด รัฐบาลจะแก้ปัญหายาเสพติดอย่างเด็ดขาดและครบวงจร เริ่มตั้งแต่การตัดต้นตอการผลิตและจำหน่ายด้วยการร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน การสกัดกั้น ควบคุมการลักลอบนำเข้าและตัดเส้นทางการลำเลียงยาเสพติด การปราบปรามและการยึดทรัพย์ผู้ค้าอย่างเด็ดขาด การค้นหาผู้เสพในชุมชนเพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษา ตลอดจนการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด การฝึกอาชีพ การศึกษา และการฟื้นฟูสภาพทางสังคม รวมทั้งมีระบบติดตามดูแลช่วยเหลือเพื่อไม่ให้กลับไปสู่วงจรยาเสพติดอีก เพื่อคืนคนคุณภาพกลับสู่สังคม

นโยบายที่เก้า รัฐบาลจะเร่งแก้ปัญหาอาชญากรรม อาชญากรรมออนไลน์/มิจฉาชีพ และอาชญากรรมข้ามชาติเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน โดยการเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และรับมือกับอาชญากรรมออนไลน์อย่างรวดเร็ว ช่วยเหลือเหยื่อของมิจฉาชีพอย่างทันท่วงที โดยผนึกกำลังกับประเทศเพื่อนบ้าน และสร้างกลไกการร่วมรับผิดชอบของบริษัทผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมและธนาคารพาณิชย์

นโยบายที่สิบ รัฐบาลจะส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ และจัดสวัสดิการสังคมให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป สร้างความเท่าเทียมทางโอกาสและเศรษฐกิจโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่สำคัญ ได้แก่ คนพิการ ผู้สูงอายุ กลุ่มชาติพันธุ์ บุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติ เพื่อให้ตามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการของรัฐได้โดยสะดวกตามที่กฎหมายบัญญัติ.-316-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผจก.ปัดตอบอาการ “ติ๊ก ชีโร่” โบ้ยให้ถามภรรยา

ผจก.ส่วนตัว “ติ๊ก ชีโร่” ปัดตอบอาการ อ้างต้องถามภรรยา ส่วนที่เกิดเหตุพบเศษชิ้นส่วนรถ และกองเลือดผู้เสียชีวิต พบลักษณะการจอดอยู่บนเส้นทึบ

นักร้องดัง “ติ๊ก ชิโร่” ซิ่งรถตู้ชน จยย.ดับ 1 สาหัส 1

นักร้องดัง “ติ๊ก ชิโร่” ซิ่งรถตู้พุ่งชนรถจักรยานยนต์ของ 3 พี่น้อง บนสะพานข้ามถนนเทพรักษ์ เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บสาหัส 1 ราย เจ้าตัวยืนรอมอบตัวกับตำรวจ เผยไม่คิดว่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น

ธุรกิจขายตรง

ชำแหละธุรกิจขายตรงยักษ์ใหญ่-ดาราดังมีเอี่ยว

ผู้เสียหายลั่น “หมดตัวเพราะขายตรง” แฉธุรกิจขายตรงยักษ์ใหญ่ ชวนลงทุนแต่ทำกำไรไม่ได้จริง พบมีดาราระดับเบอร์ต้นๆ ของเมืองไทยเป็นผู้บริหาร ด้าน ปคบ. เร่งตรวจสอบโมเดลธุรกิจ

ทอ.สั่งตรวจสอบข้อเท็จจริง ข่าวกำลังพลรับสินบนข้ามชาติ

ทอ. สั่งตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีมีการเผยแพร่เอกสารต่างประเทศ ซึ่งมีเนื้อหาอ้างถึงการให้สินบนแก่กำลังพลของกองทัพและเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐ

ข่าวแนะนำ

ฝ่ายการเมืองตบเท้ารำลึกเหตุการณ์ 14 ตุลา

ฝ่ายการเมืองตบเท้ารำลึกเหตุการณ์ 14 ตุลา “วันนอร์” มอง 14 ตุลา เป็นมรดกอันล้ำค่าการแสดงออกทางการเมือง ด้าน “สมคิด” ยันรัฐบาลฟังเสียงข้างน้อยและเคารพความเห็นต่าง ขณะที่ “ณัฐพงษ์” พร้อมรับคมหอก สานต่อ รธน.ฉบับประชาชน

“หนุ่ม-กัน-บอย” พาผู้เสียหายหลายสิบคนเข้าแจ้งความ

“หนุ่ม กรรชัย – กัน จอมพลัง” พาผู้เสียหายหลายสิบคนเข้าแจ้งความกองปราบ ด้าน “บอย ปกรณ์” ออกมารับผิดชอบต่อสังคม พร้อมแจ้งความเอาผิดบริษัทฯ ฐานฉ้อโกง

“หมูเด้ง” ฮอต เป็นพรีเซนเตอร์ 38 แบรนด์

องค์การสวนสัตว์ฯ เผย “หมูเด้ง” เป็นพรีเซนเตอร์ 38 แบรนด์ ส่วนช่วงวันหยุดยาว นักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาดูความน่ารักของหมูเด้งจำนวนมาก คาด 3 วัน มีนักท่องเที่ยวไปเยือนสวนสัตว์เขาเขียวมากกว่า 3 หมื่นคน

นักการตลาดขาโหด แฉโมเดล “ดิ ไอคอน” มีสินค้าคือ “คน”

นักการตลาดขาโหด ออกมาเผยไต๋ โมเดลของธุรกิจดิไอคอนกรุ๊ป มีสินค้าคือ “คน” ด้านสมาคมขายตรงไทย ชวนตั้งข้อสังเกตธุรกิจขายตรง