fbpx

“พิธา” ลุกขึ้นปรึกษาหารือปัญหาด้านการบริหารจัดการน้ำ

รัฐสภา 7 ส.ค.-“พิธา” ขอใช้เวลาให้คุ้มก่อนไปฟังคำวินิจฉัยคดียุบพรรค ลุกขึ้นปรึกษาหารือปัญหาด้านการบริหารจัดการน้ำ ระหว่างประชุมสภาฯ พร้อมแนะรัฐบาลเฝ้าระวัง-เตือนภัย เร่งเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธาน ด้านนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล ใช้เวลาก่อนที่จะเดินทางไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อรับฟังการอ่านคำวินิจฉัยของศาล ในคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งยุบพรรคก้าวไกล กรณีมีหลักฐานอันควรเชื่อว่าพรรคมีพฤติการณ์กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น


โดยนายพิธา ได้ลุกขึ้นปรึกษาหารือตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 24 ถึงปัญหาด้านการจัดการน้ำ โดยระบุว่า เป็นที่ทราบกันดีว่ารัฐบาลได้เริ่มต้นเรื่องการบริหารจัดการน้ำไปแล้ว แต่คำพูดที่ว่า “หน้าแล้งขนน้ำไปหาคน หน้าฝนขนคนหนีน้ำ” ยังอยู่ในใจของพี่น้องประชาชนอยู่เสมอ จึงขอเสนอเรื่องเร่งด่วน 3 ประเด็น 1.ความผันผวนของสภาพภูมิอากาศจากต้นปี 2567 ที่ประเทศไทยประสบกับปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้เกิดภัยแล้งและภัยร้อน ที่กระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรหลายประเทศ อาทิ ธัญพืช และ พืชอาหาร แต่เมื่อเข้าไตรมาสที่ 3 จะเริ่มเห็นปรากฏการณ์ของลานีญา ที่มีปริมาณฝนตกชุกมาก ซึ่งขณะนี้พบว่า มีจังหวัดที่เผชิญกับปัญหาแล้วถึง 37 จังหวัดทั่วประเทศ จึงทำให้หลายจังหวัดเกิดน้ำท่วมทันที หลังจากที่ฝนตกไปแล้วประมาณ 24-36 ชั่วโมง ด้วยเหตุนี้ การเฝ้าระวังและการเตือนภัย จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก

ส่วนประเด็นที่ 2 เรื่องการเยียวยาประชาชน นายพิธา กล่าวว่า รัฐบาลควรเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างทันท่วงที เพราะเมื่อประชาชนเผชิญกับปัญหา เขาต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้ถูกวางแผนมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นค่าขนส่ง ค่าเช่าบ้าน ค่าซ่อมแซม หรือ ค่าข้าวของเครื่องใช้ในการทำมาหากิน จึงอาจนำไปสู่อุบัติเหตุทางการเงินระยะยาวที่เยียวยาได้ยาก


ขณะที่ ประเด็นที่ 3 เรื่องการจัดการปัญหาความเหลื่อมล้ำ ผ่านการแก้ไขคุณภาพและสิทธิในการเข้าถึงน้ำสะอาด นายพิธา กล่าวว่า สัดส่วนของครัวเรือนที่ไม่สามารถเข้าถึงน้ำประปาในเขตชนบาทมีถึง 12.8% ส่วนในเขตเมืองมีแค่ 3.3% ส่งผลให้ครัวเรือนที่ยากจนที่สุดในประเทศกลับต้องซื้อน้ำดื่มบรรจุถัง บรรจุขวดมาดื่มเองเกือบ 75% ตนจึงอยากปรึกษาหารือ ประธานสภาฯ ผ่านไปยังรัฐบาลให้เห็นถึงความสำคัญของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับน้ำทั้งหมด รวมถึงร่างพ.ร.บ.ที่พรรคก้าวไกลได้นำเสนอไว้ เพราะเราตั้งใจที่จะให้รัฐบาลมีอำนาจในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างเต็มที่เพื่อพี่น้องประชาชน.-312.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นายกตรวจน้ำท่วมเชียงราย

นายกฯ บินเชียงราย ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม

“นายกฯ แพทองธาร” ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม เตรียมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ.เชียงราย พร้อมตรวจเยี่ยมการลำเลียงสิ่งของช่วยเหลือของกองทัพ

ชิงทองระนอง68บาท

รวบแล้วโจรชิงทอง 68 บาท กลางห้างดังระนอง

รวบแล้ว 2 คนร้ายชายหญิง จี้ชิงทอง 68 บาท ในห้างดังกลางเมืองระนอง ฝ่ายชายรับสารภาพ ชีวิตตกต่ำ ไม่มีรายได้ จึงชวนหลานสาววัย 16 ปี มาร่วมก่อเหตุชิงทอง

น้องชายรัวยิงพี่สาวตายกลางงานศพแม่ อ้างฉุนไม่ให้ร่วมจัดงานศพ

น้องชายชักปืนรัวยิงพี่สาวเสียชีวิตกลางงานศพแม่ ภายหลังน้องชายเข้ามอบตัวกับตำรวจ อ้างเหตุผลฆ่าเพราะโมโห รู้สึกว่าพี่สาวใจดำมากที่กีดกันไม่ให้ตนช่วยจัดงานศพแม่

บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ

เจ้าหน้าที่ อย. ร่วมสืบนครบาล บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ มีเบาะแสต้นตอการทะลักของยาเขียวเหลือง ตะลึงพบซากจิ้งจกตายในหม้อต้ม ขณะที่เจ้าของโรงงานยันประกอบอาชีพโดยสุจริต

ข่าวแนะนำ

ภูเก็ตฝนตกต่อเนื่อง ชาวบ้านหวั่นเขาถล่มซ้ำ

หลังจากตลอดทั้งคืนที่ผ่านมาจนถึงเวลานี้ จ.ภูเก็ต มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้หลายพื้นที่เผชิญกับน้ำท่วมขัง ขณะที่พื้นที่ ต.กะรน จุดที่เคยเกิดดินถล่ม มีผู้เสียชีวิต 13 ราย เมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ชาวบ้านในพื้นที่อยู่อย่างผวา เพราะกลัวดินจากภูเขาจะถล่มซ้ำอีก

ช่วย 143 นักท่องเที่ยวติดเกาะราชาใหญ่ ขึ้นฝั่งภูเก็ตปลอดภัย

ศรชล.ภาค 3 ร่วมกับทัพเรือภาคที่ 3 ส่งเรือ ต.111 ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวต่างชาติ 143 คน ติดค้างบนเกาะราชาใหญ่ กลับเข้าฝั่ง จ.ภูเก็ต ได้อย่างปลอดภัย

น้ำในตัวเมืองหนองคายใกล้แห้ง หลังโขงพ้นวิกฤติ

หลายตำบลใน อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย น้ำยังท่วมสูงและเพิ่มระดับ บางจุดถูกตัดขาดมากว่า 2 สัปดาห์ ถือว่าหนักสุดในรอบ 30 ปี ขณะที่ในตัวเมือง น้ำใกล้แห้ง หลังระดับแม่น้ำโขงใกล้พ้นจุดวิกฤติ

ภาคเหนือเร่งฟื้นฟูความเสียหาย ชาวบ้านหวั่นพายุถล่มซ้ำ

หลายพื้นที่ทางภาคเหนือยังไม่ทันฟื้นฟูความเสียหายจากน้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา แต่ชาวบ้านต้องเตรียมตัวรับกับพายุลูกใหม่ หลายคนยังไม่กล้ากลับไปอาศัยในบ้าน เพื่อรอจนกว่าพายุลูกนี้จะผ่านพ้นไปก่อน