กสม.ชี้เข้าข่ายเลือกปฏิบัติ “ทักษิณ” รักษาตัวชั้น 14 ไม่ต้องนอนคุก

กสม. 2 ส.ค.-กสม.ชี้เรือนจำกรุงเทพฯ – รพ.ตำรวจ – ผู้เกี่ยวข้องเอื้อประโยชน์ “ทักษิณ” รักษาตัวชั้น 14 ไม่ต้องนอนคุก เข้าข่ายเลือกปฏิบัติ ขัดหลักเสมอภาค ละเมิดสิทธิมนุษยชน

นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า ผลการตรวจสอบ กรณีเมื่อเดือน พ.ย.66 ได้รับการร้องเรียนว่า การที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร อนุญาตให้นายทักษิณ ชินวัตร ผู้ต้องขัง เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลตำรวจ เมื่อวันที่ 22 ส.ค.66 และได้รับการรักษาที่ดีกว่าผู้ต้องขังรายอื่นอาจเป็นการเลือกปฏิบัติ กสม. ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากทุกฝ่าย หลักกฎหมาย และหลักสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 27 บัญญัติว่า บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องอายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม หรือเหตุอื่นใด จะกระทำมิได้


สำหรับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังที่มีอาการป่วย พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 กฎกระทรวงการส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษาตัวนอกเรือนจำ พ.ศ. 2563 และมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการควบคุมผู้ต้องขัง วางหลักไว้ว่า ผู้ต้องขังย่อมมีสิทธิได้รับการตรวจจากแพทย์โดยเร็ว และหากจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนอกเรือนจำที่ถูกควบคุมตัวจะต้องได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์และต้องได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการเรือนจำเสียก่อน

กรณีการส่งตัวนายทักษิณ ออกไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจ เมื่อพิจารณาจากการชี้แจงของแพทย์ของทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ประกอบความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิของ กสม. ซึ่งเป็นบุคลากรด้านการแพทย์ ให้ความเห็นที่สอดคล้องกันว่า อาการป่วยของนายทักษิณเมื่อวันที่ 22 ส.ค.66 โดยเฉพาะค่าออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 95 ประกอบกับความดันโลหิตสูง ถือว่าอยู่ในภาวะอันตรายเพราะอาจจะทำให้เกิดอาการช็อกได้ การที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ส่งตัวนายทักษิณออกไปรักษาภายนอกเรือนจำเมื่อวันที่ 22 ต่อเนื่องวันที่ 23 ส.ค.2566 เป็นการดำเนินการภายใต้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในขณะนั้น อันถือเป็นการให้ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย และสิทธิในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของผู้ต้องขังตามสมควรแล้ว


อย่างไรก็ตาม กรณีโรงพยาบาลตำรวจรับตัวนายทักษิณไว้รักษาที่ห้องพิเศษชั้น 14 อาคารมหาภูมิพลราชานุสรณ์ 88 พรรษา นั้น เห็นว่า การที่นายทักษิณเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยอาการวิกฤติซึ่งในช่วงแรกเข้าพักที่ชั้น 14 เนื่องจากโรงพยาบาลฯ ให้ข้อมูลว่าเป็นเพียงชั้นเดียวที่มีห้องว่าง แต่หลังจากนั้นปรากฏว่า นายทักษิณยังพักที่ห้องพิเศษดังกล่าวมาโดยตลอด โดยโรงพยาบาลฯ ชี้แจงว่านายทักษิณมีภาวะวิกฤติสลับปกติ ซึ่งหากนายทักษิณป่วยจนอยู่ในระดับวิกฤติตามที่มีการชี้แจงจริง ควรต้องได้รับการดูแลจากบุคลากรทางการแพทย์อย่างใกล้ชิดและพักในห้องสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉิน แต่นายทักษิณกลับพักในห้องพิเศษซึ่งตามปกติควรมีไว้สำหรับผู้ป่วยที่พ้นจากภาวะวิกฤติและสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้างแล้ว อีกทั้งกรมราชทัณฑ์ก็ไม่สามารถทราบได้ว่ามีผู้ต้องขังป่วยคนใดบ้างที่เข้าพักรักษาตัวในห้องพิเศษเนื่องจากกฎกระทรวงการส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษาตัวนอกเรือนจำ พ.ศ. 2563 ไม่ได้กำหนดให้เรือนจำที่ส่งตัวหรือสถานพยาบาลที่รับตัวผู้ต้องขังไว้ต้องรายงานให้ทราบ ทั้งที่กรณีดังกล่าวถือเป็นเรื่องสำคัญเนื่องจากมีผลทำให้ผู้ต้องขังรายใดรายหนึ่งอาจได้รับสิทธิที่ดีกว่าผู้ต้องขังอื่น ๆ ที่มีอาการป่วยเหมือนกัน โดยเฉพาะอดีตผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญที่อาจได้รับการดูแลแตกต่างหรือเป็นพิเศษมากกว่าผู้ต้องขังทั่วไป จึงเห็นว่า การที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครและโรงพยาบาลตำรวจ กำหนดให้นายทักษิณพักรักษาตัวที่ห้องพิเศษของโรงพยาบาลตำรวจอย่างต่อเนื่อง โดยเรือนจำฯ ไม่ได้โต้แย้งจนกระทั่งนายทักษิณออกจากโรงพยาบาล เป็นการดำเนินการโดยอาศัยช่องว่างของกฎกระทรวงการส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษาตัวนอกเรือนจำ พ.ศ. 2563 ทำให้นายทักษิณได้รับประโยชน์นอกเหนือกว่าสิทธิที่ควรได้รับ ถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักความเสมอภาคและเป็นการเลือกปฏิบัติ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

สำหรับกรณีที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครและโรงพยาบาลตำรวจ อนุญาตให้นายทักษิณพักรักษาตัวเป็นระยะเวลานาน เห็นว่า แม้ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง กสม. ไม่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของนายทักษิณ เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอ้างถึงข้อจำกัดทางด้านกฎหมาย แต่หากนายทักษิณมีอาการป่วยอยู่ในภาวะวิกฤติสลับปกติจริงตามอ้าง ก็ควรได้รับการดูแลจากบุคลากรทางการแพทย์อย่างใกล้ชิดและพักในห้องสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉิน ทั้งยังปรากฏข้อเท็จจริงอีกว่า เมื่อวันที่ 18 ก.พ.67 ซึ่งเป็นวันที่นายทักษิณสามารถออกจากการควบคุมของเรือนจำฯ ตามโครงการพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษของกรมราชทัณฑ์ นายทักษิณสามารถเดินทางกลับบ้านพักส่วนตัวได้ในทันที ไม่พบว่าต้องเข้าไปรับการรักษาตัวในสถานพยาบาลแห่งอื่นอีก รวมทั้งสามารถเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ และปฏิบัติภารกิจได้โดยไม่ปรากฏว่ามีอาการเจ็บป่วยรุนแรง อันผิดปกติวิสัยของผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤติจนถึงขั้นอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและต่อเนื่อง ซึ่งใช้เป็นเหตุผลในการพักรักษาตัวกับโรงพยาบาลตำรวจมาโดยตลอด ด้วยเหตุนี้ จึงยังมิอาจเชื่อได้ว่า นายทักษิณมีอาการป่วยจนถึงขนาดที่ต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ นานถึง 181 วัน โดยไม่สามารถออกไปรับการรักษาต่อที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์หรือกลับไปคุมขังต่อที่เรือนจำฯ ได้ ในชั้นนี้ จึงเห็นว่า การกระทำของเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครและโรงพยาบาลตำรวจ เป็นการเลือกปฏิบัติแก่ผู้ต้องขังด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องสถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม อันถือเป็นการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่นกัน

กสม. เห็นว่า การละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีตามคำร้องนี้ นอกจากจะมีสาเหตุเกิดจากการกระทำหรือละเลยการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐแล้ว ยังมีสาเหตุสำคัญเกิดจากกฎกระทรวงการส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษาตัวนอกเรือนจำ พ.ศ. 2563 ข้อ 5 (2) ที่กำหนดห้ามผู้ต้องขังเข้าอยู่ในห้องพักพิเศษแยกจากผู้ป่วยทั่วไป เว้นแต่ต้องพักรักษาตัวในห้องควบคุมพิเศษตามที่สถานที่รักษาผู้ต้องขังจัดให้ ซึ่งเปิดโอกาสให้สถานที่รักษาใช้ดุลยพินิจโดยขาดการพิจารณาจากเรือนจำที่ส่งตัวผู้ต้องขังออกไป และข้อ 7 ในส่วนที่เกี่ยวกับกรณีที่ผู้ต้องขังรักษาตัวนอกเรือนจำเป็นเวลานานเกิน 30 วัน 60 วัน และ 120 วัน ให้ผู้บัญชาการเรือนจำมีหนังสือขอความเห็นชอบจากอธิบดีและรายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อทราบตามลำดับชั้น พร้อมกับความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษาและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่มีข้อกำหนดว่าหากเลยระยะเวลา 120 วันไปแล้วต้องดำเนินการอย่างไร ซึ่งอาจเป็นช่องว่างให้ผู้ต้องขังรักษาอาการป่วยนอกเรือนจำได้เป็นระยะเวลานานเกินไปโดยไม่มีการตรวจสอบ อีกทั้งหากการรักษาตัวเกิน 60 วัน และ 120 วัน ให้ผู้บัญชาการเรือนจำขอความเห็นชอบจากอธิบดีกรมราชทัณฑ์ และรายงานปลัดกระทรวงยุติธรรมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเพื่อทราบเท่านั้น อาจก่อให้เกิดภาวะขาดการตรวจสอบถ่วงดุลและนำไปสู่การใช้อำนาจในทางที่ผิดได้ จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายกรณีดังกล่าว


กสม. มีความเห็นเพิ่มเติมว่า การกระทำของเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลตำรวจ และผู้ที่เกี่ยวข้องยังเข้าข่ายเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคล อันอาจเป็นการกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ซึ่งอยู่ในหน้าที่และอำนาจตรวจสอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) โดยได้ทราบว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. รับเรื่องในประเด็นนี้ไว้แล้ว ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการ กสม. จึงมีมติให้ส่งรายงานผลการตรวจสอบฉบับนี้ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป ทั้งนี้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 221 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 6 ประกอบประกาศองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เรื่อง แนวปฏิบัติในการรับส่งเรื่องระหว่างองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ข้อ 6

นอกจากนี้ กสม. ยังมีมติให้มีข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่า1. มาตรการหรือแนวทางในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน ให้กระทรวงยุติธรรมตรวจสอบการกระทำหรือละเลยการกระทำของเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร และกรมราชทัณฑ์ และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติตรวจสอบการกระทำหรือการละเลยการกระทำของโรงพยาบาลตำรวจ ตามหน้าที่และอำนาจ และกำหนดมาตรการหรือแนวทางในการป้องกันมิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนเช่นว่านี้อีก โดยต้องเปิดเผยความคืบหน้าเป็นระยะและแจ้งผลการดำเนินการต่อสาธารณะภายในเวลาอันรวดเร็วด้วย รวมทั้งให้แพทยสภาตรวจสอบการกระทำของแพทย์สังกัดโรงพยาบาลตำรวจ ผู้ทำการรักษาหรือมีความเห็นทางการแพทย์ในกรณีตามคำร้องนี้ แล้วดำเนินการไปตามหน้าที่และอำนาจตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ทั้งนี้ ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับรายงานผลการตรวจสอบฉบับนี้

2.มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ให้สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หารือร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางและวิธีการในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล กรณีมีเหตุยกเว้นตามนัยมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ทั้งนี้ เพื่อความโปร่งใส ป้องกันการเลือกปฏิบัติ และคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ

3.ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่ง ให้กระทรวงยุติธรรมแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงการส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษาตัวนอกเรือนจำ พ.ศ. 2563 โดยแก้ไขข้อ 5 (2) ที่กำหนดห้ามผู้ต้องขังเข้าอยู่ในห้องพักพิเศษแยกจากผู้ป่วยทั่วไป เว้นแต่ต้องพักรักษาตัวในห้องควบคุมพิเศษตามที่สถานที่รักษาผู้ต้องขังจัดให้ โดยควรกำหนดว่า “ในกรณีสถานที่รักษาผู้ต้องขังมีความจำเป็นต้องให้ผู้ต้องขังพักรักษาในห้องพิเศษหรือห้องอื่นนอกเหนือจากห้องปกติ ต้องได้รับความเห็นชอบจากเรือนจำและกรมราชทัณฑ์เสียก่อน เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่หากไม่ดำเนินการทันทีจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ต้องขังป่วย ให้ดำเนินการไปก่อนแล้วรีบขอความเห็นชอบ โดยต้องระบุเหตุผลความจำเป็นประกอบการขอความเห็นชอบนั้นด้วย”

และให้แก้ไขข้อ 7 ในส่วนที่เกี่ยวกับกรณีที่ผู้ต้องขังรักษาตัวนอกเรือนจำเป็นเวลานานให้ปลัดกระทรวงยุติธรรมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแล้วแต่กรณี ต้องใช้อำนาจในการพิจารณาความเห็นของอธิบดีกรมราชทัณฑ์ประกอบความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษา แทนการรับทราบเพียงเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการใช้อำนาจในการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ต้องขังรายหนึ่งรายใดได้ออกไปรักษาพยาบาลนอกเรือนจำโดยไม่มีเหตุอันควร.-314.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

“ภูมิธรรม” แบ่งงาน 2 รมช.มหาดไทย เจ้าตัวคุม “โยธาฯ-ปค.”

กระทรวงมหาดไทย 14 ก.ค. –“ภูมิธรรม” แบ่งงาน 2 รมช.มหาดไทยแล้ว เจ้าตัวคุม “โยธาฯ – ปค.” ฟาก “เดชอิศม์” คุม “ที่ดิน – สถ.” สางปัญหาที่ดิน นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรมว.มหาดไทย รักษาราชการนายกฯ กล่าวว่า ขณะนี้ตนได้แบ่งงานกับทั้ง 2 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งการทำงานของทั้ง 3 คนเราทำงานเป็นทีมเดียวกัน ส่วนหลักเกณฑ์การแบ่งก็กระจายให้ทั่วถึงเพื่อช่วยกันดูแล โดยตนกำกับดูแลกรมโยธาธิการและผังเมือง กรมการปกครอง สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย การประสานงานส่วนราชการในสังกัด กระทรวงมหาดไทยตาม พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปาส่วนภูมิภาค และดูหน่วยงานส่วนที่เหลือทั้งหมด โดยทั้งหมดสงวนไว้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณ และบุคคลซึ่งตนเป็นผู้ดูแล นายภูมิธรรม กล่าวต่อว่า ได้มอบหมายให้ น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รมช.มหาดไทย กำกับดูแล กรมการพัฒนาชุมชน เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสตรีและการดำเนินการเรื่องผ้าไทย รวมถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย […]

รถพ่วงเบรกแตกลงเขา ชนแหลก 10 คัน เจ็บ 3

นครราชสีมา 13 ก.ค. – รถพ่วงเบรกแตกลงเขามอกลางดง ชนแหลกรวมสิบคัน บาดเจ็บ 3 คน ทำถนนมิตรภาพรถติดยาวหลายกิโลเมตร คนขับรถพ่วงบาดเจ็บ แต่ยังให้การได้ รถพ่วงบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ ชนแหลกนับ 10 คัน บนถนนมิตรภาพ ขาเข้ากรุงเทพมหานคร ช่วงลงเขามอกลางดง กิโลเมตรที่ 37-38 อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ตำรวจ สภ.กลางดง พร้อมเจ้าหน้าที่กู้ภัยหลายหน่วยระดม เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ และช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ที่เกิดเหตุพบรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์คันต้นเหตุ ยี่ห้อฮีโน่ สีขาว ทะเบียน กรุงเทพมหานคร ด้านหน้าหัวลากพังยับ นายวิทยา อายุ 34 ปี คนขับ ได้รับบาดเจ็บที่ขาซ้าย ยังนั่งอยู่บริเวณที่นั่งข้างคนขับ โดยเล่าว่า บรรทุกของมาเต็มตู้คอนเทนเนอร์ ช่วงลงเขาเกิดเบรกไม่อยู่ เนื่องจากลมหมด จึงทำให้พุ่งชนท้ายรถพ่วงบรรทุกไม้อีกคันที่อยู่ด้านหน้า จนกระเด็นไปคนละทิศละทาง ไม้กระจายเกลื่อนถนน ด้วยความแรงยังวิ่งไปเฉี่ยวชนกับรถที่วิ่งอยู่ด้านหน้าเสียหายอีก 8 คัน เป็นรถกระบะ 5 คัน, รถเก๋ง […]

มส.มีมติสั่งปลด-ถอดสมณศักดิ์ พระอาบัติปาราชิก เรียกพระ 5 รูปแจงด่วน

กรุงเทพฯ 13 ก.ค.-มหาเถรสมาคม ประชุมนัดพิเศษ มีมติสั่งปลด-ถอดสมณศักดิ์ พระอาบัติปาราชิก เผยสึกแล้ว 6 คน ยังติดต่อไม่ได้ 2 คน เตรียมแก้กฎมหาเถรสมาคม อ้างสุดล้าหลังกว่า 50 ปี ขณะที่พระเทพพัชราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดชูจิตฯ ชิงลาออกแล้ว นายอินทพร จั่นเอี่ยม ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) แถลงข่าวภายหลังการประชุมมหาเถรสมาคมนัดพิเศษ ครั้งที่ 1/2568 ว่า สมเด็จพระสังฆราชห่วงใยต่อกระแสข่าวที่เกิดขึ้น จึงมีพระบัญชาให้มหาเถรสมาคม นิมนต์กรรมการฯประชุมเร่งด่วน ซึ่งทางกรรมการฯ มีข้อห่วงใย และมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยมีมติ ดังนี้ -พระที่ถูกกล่าวหา ต้องอาบัติปราชิก ถือว่าสิ้นสุดความเป็นพระภิกษุทางวินัย และต้องสึกโดยทันที ส่วนพระที่ยังไม่ถึงขั้นปราชิก ก็ให้ปลดออกจากตำแหน่งเจ้าคณะพระสังฆาธิการทุกรูป และจะมีมติขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตถอดสมณศักดิ์-ในระยะเร่งด่วน ให้เจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ทุกระดับ ตรวจสอบดูแลและกำกับพฤติกรรมองพระในปกครองอย่างใกล้ชิด หากพบพฤติกรรมละเมิดพระธรรมวินัยให้ดำเนินการสอบสวน และรายงานมหาเถรสมาคมโดยเร็ว-กรณีพระภิกษุถูกกล่าวหาผิดพระธรรมวินัย ประเภทครุกาบัติ ให้ออกคำสั่พักการปฏิบัติหน้าที่ และให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามกฏหมาย พร้อมขอให้ระมัดระวังการให้ข้อมูลต่อสื่อมวลชนและสาธารณชน เนื่องจากยังเป็นเพียงผู้ถูกกล่าวหา-และทบทวนปรับปรุงกฎระเบียบคณะสงฆ์ว่าด้วยการประทำผิดพระธรรมวินัย ประเภทครุกาบัติ โดยมหาเถรสมาคม เห็นควรขอประทานพระวินิจฉัยสมเด็จพระสังฆราช มีพระบัญชาโปรดให้แต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อคุ้มครองพระพุทธศาสนาคณะหนึ่ง […]

ส่งตัวดำเนินคดี นักท่องเที่ยวไทยทำร้ายทหารกัมพูชา

สุรินทร์ 13 ก.ค.-ทบ. เผยนักท่องเที่ยวไทยต่อยทหารกัมพูชา ที่ปราสาทตาเมือนธม เป็นอดีตทหารพราน ส่งตัวให้ตำรวจดำเนินคดีตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 13 ก.ค.68 พล.ต.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบกกล่าวถึงกรณีที่งนักท่องเที่ยวชาวไทย ทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ทหารกัมพูชาชุดประสานงาน ที่บริเวณปราสาทตาเมือนธม จังหวัดสุรินทร์ ว่า กองทัพบกได้รับรายงานจากกองกำลังสุรนารี ว่า เมื่อเวลาประมาณ 10.20 น. ได้เกิดเหตุการณ์นักท่องเที่ยวชาวไทยทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ทหารกัมพูชาชุดประสานงาน ณ บริเวณปราสาทตาเมือนธม โดยผู้ก่อเหตุได้ชกเจ้าหน้าที่กัมพูชา ทั้งทางด้านหลังและด้านหน้า ก่อนจะหลบหนีออกจากพื้นที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยสามารถติดตามและควบคุมตัวได้ในเวลาต่อมา จากการตรวจสอบเบื้องต้น ทราบว่าผู้ก่อเหตุคือ นายสมหมาย ศรีศุกรานันทน์ อดีตอาสาสมัครทหารพราน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานชมรมทหารพรานจิตอาสาค่ายปักธงชัย และประธานเครือข่ายทหารผ่านศึกจังหวัดสมุทรสาคร ทั้งนี้ เนื่องจากบริเวณพื้นที่เกิดเหตุเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทางเจ้าหน้าที่ทหารฝ่ายไทย ได้ทำความเข้าใจกับผู้เสียหายไปแล้วในเบื้องต้น เพื่อพยายามไม่ให้กระทบความสัมพันธ์ในระดับเจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่าย สำหรับผู้ก่อเหตุ ได้ให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ดำเนินการไปตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป.-313.-สำนักข่าวไทย

ข่าวแนะนำ

“ทักษิณ” ซัดผู้นำกัมพูชาไร้จริยธรรม แต่คนไทยกลับเชื่อ

17 ก.ค. – “ทักษิณ” ซัดผู้นำกัมพูชาไร้จริยธรรม แต่คนไทยกลับเชื่อ งงทำไมคนไทยไม่รักกัน ตอกพรรคที่เพิ่งหลุดร่วมรัฐบาลไป เป็นเขมรหรือไทย หลังติง “ลูกอิ๊งค์” ขายชาติ บอกปัจจุบันการเมืองไม่มีเสถียรภาพเหมือนสมัยรัฐบาล “คึกฤทธิ์” นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ปลดล็อกอนาคตประเทศไทย สู้วิกฤติโลก พลิกเกมเศรษฐกิจไทย” และ “พลิกเกมเศรษฐกิจไทย สู่อนาคต” จัดโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) โดยมี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรมว.วัฒนธรรม พร้อมครม. อาทิ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกฯ และรมว.คมนาคม นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกฯ และรมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสุชาติ ตันเจริญ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี น.ส.จิราพร สินธุไพร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ […]

เสวนา “ปลดล็อกอนาคตประเทศไทย สู้วิกฤติโลก”

17 ก.ค. – หลายหน่วยงานรวมพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ในงานเสวนา “ปลดล็อกอนาคตประเทศไทย สู้วิกฤติโลก” โดย บมจ.อสมท นายสุชาติ ตันเจริญ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดงานสัมมนา “ปลดล็อกอนาคตประเทศไทย…สู้วิกฤติโลก” ยอมรับว่า นับว่าปัญหาเศรษฐกิจโลกกระทบมายังไทย จากภาษีศุลกากรของสหรัฐกระทบมายังประชาชน ผู้ผลิต เอสเอ็มอีรายย่อย ความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน ประชาชน จึงต้องร่วมมือกันปลดล็อกอนาคตประเทศไทย…สู้วิกฤติโลก” โดยได้จัดเวทีใหญ่ให้ผู้กำหนดนโยบายและทิศทางของประเทศ และภาคเอกชน มาร่วมแสดงความเห็น ด้านเศรษฐกิจ นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในหัวข้อ เกาะติดมาตรการกระทรวงการเงินการคลัง พลิกฟื้นกำลังซื้อในประเทศ และแนวโน้มเศรษฐกิจ และสงครามการค้า ภาษีนำเข้าของสหรัฐ ว่าทีมไทยแลนด์ นำโดยนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และ รมว.คลัง กำหนดเจรจากับผู้แทนการค้าสหรัฐช่วงค่ำวันนี้ ต้องชั่งน้ำหนัก ทั้ง 2 มิติ คือ ผลกระทบที่ผู้ส่งออก และผู้ผลิตในประเทศทั้งภาคอุตสาหกรรม และเกษตรกร รัฐบาลไม่มอง เพียงจะเจรจาภาษีได้เท่าไหร่ ยอมรับไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ แต่จะสานประโยชน์ให้ตกกับทุกฝ่าย […]

ทบ. เร่งตรวจสอบวิเคราะห์ “ทุ่นระเบิด” คาดผลชัด 2-3 วัน

17 ก.ค.- โฆษก ทบ. แจงเร่งตรวจสอบเหตุกำลังพลเหยียบกับระเบิดชายแดนช่องบก คาดใช้เวลา 2-3 วัน ชัดเจนเรื่องชนิดและห้วงเวลาที่มีการนำทุ่นระเบิดมาติดตั้ง ยังไม่ยืนยันว่าเป็นทุ่นระเบิดใหม่ พลตรี วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก เปิดเผยภายหลังได้รับทราบรายงานจากกองทัพภาคที่ 2 กรณีเมื่อช่วงบ่ายวานนี้ (16 ก.ค.68) เกิดเหตุกำลังพลกองร้อยทหารราบที่ 6021 เหยียบกับระเบิดระหว่างการลาดตระเวนในพื้นที่ช่องบก จ.อุบลราชธานี ทำให้กำลังพลได้รับบาดเจ็บ 3 นาย ปัจจุบันทุกนายอาการปลอดภัยอยู่ในระหว่างการพักสังเกตอาการที่โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี อย่างใกล้ชิด สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับทุ่นระเบิดดังกล่าวนั้น ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการเข้าพื้นที่เกิดเหตุและเก็บหลักฐาน มาดำเนินการวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิดอย่างละเอียด ซึ่งขั้นตอนนี้ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 วัน เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ชัดเจน ในเรื่องของชนิดและห้วงเวลาที่มีการนำทุ่นระเบิดมาติดตั้ง ตามที่สังคมได้ให้ข้อสังเกตว่าอาจเป็นทุ่นระเบิดที่ถูกวางขึ้นใหม่ ไม่ใช่ทุ่นระเบิดที่ตกค้างอยู่ในพื้นที่การสู้รบเดิม ทั้งนี้ โฆษกกองทัพบก ยังได้กล่าวว่า หลังจากนี้หน่วยในพื้นที่ชายแดน จะได้มีการตรวจสอบพิสูจน์ทราบเพิ่มเติมว่า ทางกัมพูชาได้มีการนำทุ่นระเบิดมาใช้ในพื้นที่หรือไม่ เพราะในปัจจุบันทั้งไทยและกัมพูชา ได้ให้สัตยาบันในการเข้าร่วมเป็นประเทศภาคีในอนุสัญญาออตตาวา ว่าด้วยการห้ามใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2542.-สำนักข่าวไทย

มทภ.2 สั่งดูแลสิทธิสวัสดิการ-ปูนบำเหน็จ ทหารเหยียบกับระเบิด

17 ก.ค.- แม่ทัพภาค 2 สั่งดูแลสิทธิสวัสดิการ-ปูนบำเหน็จ ทหารเหยียบกับระเบิดขาขาด เลื่อนยศ “สิบเอก” รับบำนาญเกือบ 30,000 บาท/เดือน เงินช่วยเหลือกว่า 1 ล้านบาท บรรจุทายาทรับราชการ เมื่อวันที่ 17 ก.ค.68 รายงานข่าวจากกองทัพภาคที่ 2 เปิดเผยว่า พล.ท.บุญสิน พาดกลาง แม่ทัพภาคที่ 2 ได้สั่งการให้ฝ่ายกำลังพลกองทัพภาคที่ 2 ได้ตรวจสอบสิทธิของข้าราชการทหารในการปฏิบัติราชการสนาม และให้ดำเนินการปูนบำเหน็จแก่พลทหารธนพัฒน์ หุยวัน สูงสุด เพราะ เป็นการปฏิบัติภารกิจเพื่อปกป้องอธิปไตยในการ ออกลาดตระเวนและเหยียบกับระเบิดที่เนิน 481 วานนี้ โดย ได้รับการปูนบำเหน็จ เลื่อนชั้นเป็นสิบเอก (ส.อ.) หลังจากรักษาตัวแล้วเสร็จ ปลดเหตุสูญเสียฯจากการรบ ได้รับบำนาญเดือนละ 15,600 บาท ซึ่งเมื่อรวม เงินรายเดือน จากหน่วยงาน/องค์กรต่าง ๆ แล้ว คาดว่าจะได้รับเงิน รวม 29,800 บาท/เดือน (โดยประมาณ) […]