ผู้ตรวจการแผ่นดิน จี้หน่วยงานรับมือน้ำท่วมเรื้อรัง

กทม. 5 ก.ค.-ผู้ตรวจการแผ่นดิน จี้หน่วยงานเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฝนตกหนัก-น้ำท่วมเรื้อรัง ในถนนแจ้งวัฒนะและถนนศรีนครินทร์ แนะควรพัฒนาระบบการแจ้งเหตุพื้นที่น้ำท่วมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประชุมร่วมกับกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ กรมทางหลวง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กรมอุตุนิยมวิทยา สถานีตำรวจนครบาลทุ่งสองห้อง สถานีตำรวจภูธรปากเกร็ด และสถานีตำรวจภูธรสำโรงเหนือ เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ฝนตกหนักปี 2567 เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมถนนแจ้งวัฒนะและถนนศรีนครินทร์ ตามแนวโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลือง ติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาตามข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดิน หลังให้เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของคลองส่วยเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมถนนแจ้งวัฒนะในระยะเร่งด่วน รวมถึงปัญหาระบบท่อระบายน้ำบริเวณถนนสุขุมวิท


นายสมศักดิ์ เปิดเผยว่าที่ประชุม สรุปความคืบหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังนี้ กรณีการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของคลองส่วย เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ถนนแจ้งวัฒนะ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วน มอบหมายให้จังหวัดนนทบุรีเป็นหน่วยงานหลักในการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หาแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีมีสายสื่อสารและแนวท่อร้อยสายไฟ (Duct Bank) กีดขวางทางระบายน้ำตามแนวคลองส่วยบริเวณแยกพงษ์เพชร และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเร่งดำเนินการนำสายสื่อสารและแนวท่อร้อยสายไฟที่กีดขวางทางระบายน้ำออกไปโดยเร็วที่สุด

สำหรับระยะยาว หลังจากที่ผู้ตรวจการแผ่นดินมีข้อเสนอแนะให้จังหวัดนนทบุรีผลักดันการทำบันทึกข้อตกลง (MOU) กรณีการดูแลและบำรุงรักษาคลองของการประปานครหลวง เพื่อให้หน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร หรือเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี สามารถจัดสรรงบประมาณเพื่อดูแลและบำรุงรักษาคลองส่วยได้อย่างต่อเนื่องแล้วนั้น ปัจจุบันได้ดำเนินการทำบันทึกข้อตกลงฯ ดังกล่าวแล้ว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจัดทำแผนของบประมาณเพื่อดำเนินการบำรุงรักษาและนำสิ่งกีดขวางทางน้ำออกไปจากคลองส่วยโดยเร็วเพื่อให้ระบายน้ำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพต่อไป


พร้อมกันนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมอีก 9 ประเด็น เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือต่อสถานการณ์ฝนตกหนักในปี 2567 ในพื้นที่ถนนแจ้งวัฒนะ และถนนศรีนครินทร์ ประกอบด้วย (1) การกำหนดจุดเสี่ยงน้ำท่วม ในพื้นที่ถนนแจ้งวัฒนะและถนนศรีนครินทร์ตามแนวโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือทันต่อสถานการณ์ฝนตกหนักในปี 2567

(2) การพยากรณ์อากาศและการเตือนภัย กรมอุตุนิยมวิทยาในฐานะเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจ เฝ้าระวัง ติดตาม รายงานสภาวะอากาศ และปรากฏการณ์ธรรมชาติ มีขีดความสามารถในการพยากรณ์อากาศและเตือนภัยล่วงหน้า เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เตรียมความพร้อมรับมือทันต่อสถานการณ์ฝนตกหนัก

(3) การเตรียมระบบระบายน้ำ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ควรเร่งการเตรียมระดมระบบสูบน้ำติดตั้งในพื้นที่ ที่เป็นจุดเสี่ยงน้ำท่วม และบูรณาการร่วมกับฝ่ายสนับสนุนในการบรรเทาสถานการณ์น้ำท่วมขัง รวมทั้งมีแผนในการติดตั้งระบบสูบน้ำในสถานการณ์ฝนตกหนักอย่างทันท่วงที


(4) ระบบแจ้งเหตุขอรับความช่วยเหลือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีระบบที่ประชาชนสามารถแจ้งเหตุจราจรเพื่อขอรับความช่วยเหลือในสถานการณ์น้ำท่วมที่สะดวก รวดเร็ว รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงช่องทางการติดต่อดังกล่าวอย่างทั่วถึง

(5) การอำนวยการจราจร สถานีตำรวจในพื้นที่ควรเตรียมความพร้อมในการจัดระบบ และจัดกำลังตำรวจจราจรหรืออาสาจราจรอำนวยการจราจรในช่วงสถานการณ์ฝนตกหนักและน้ำท่วม เพื่อสามารถรับมือและช่วยเหลือด้านการจราจรให้ประชาชนสามารถใช้เส้นทางจราจรได้ในช่วงฝนตกหนักได้ทันท่วงที

(6) การแต่งตั้งผู้ประสานงานแต่ละหน่วยงานในการรับมือแก้ไขสถานการณ์น้ำท่วม ในแต่ละหน่วยงานควรมีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในช่วงสถานการณ์ฝนตกหนักและน้ำท่วม เพื่ออำนวยความสะดวกและสามารถเป็นศูนย์ประสานงานแก้ไขในจุดพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังได้อย่างรวดเร็ว (7) การจัดชุดเฉพาะกิจเคลื่อนที่เร็ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการบูรณาการร่วมเป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็วเพื่อเข้าแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ให้กับประชาชนได้อย่างทันท่วงที

(8) การดูแลบำรุงรักษาคูคลอง หน่วยงานควรดำเนินการสำรวจ ขุดลอกคลองรับน้ำ รวมถึงการกำจัดวัชพืช เพื่อเป็นการเปิดทางน้ำไหล เพิ่มประสิทธิภาพการรองรับน้ำและระบายน้ำในคลองอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และ (9) การคืนพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยควรเร่งคืนพื้นที่ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน เรียบร้อย เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ที่เศษสิ่งก่อสร้างอาจกีดขวางการระบายน้ำ หรืออาจเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุกรณีฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมขังผิวถนน.-314.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เตือนไทยตอนบนมีพายุฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง

กรมอุตุฯ เตือนไทยตอนบนมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ส่วน กทม.-ปริมณฑล ฝนฟ้าคะนอง 40% กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง

“ไฮโซกำมะลอ” กระโดดชั้น 3 สน.โคกคราม

“ไฮโซเก๊” โลก 2 ใบ เครียดปีนตึก หลังถูก “คะน้า” ดาราสาว ออกมาแฉกลางรายการดัง จนตำรวจต้องเข้าเกลี้ยกล่อมพาไปโรงพัก แต่ยังวิ่งหนีการควบคุม กระโดดลงมาจากชั้น 3 สน.โครกคราม บาดเจ็บ

วันที่ 11 ปฏิบัติการกู้ซากตึก สตง. ถล่ม

วันที่ 11 ของปฏิบัติการกู้ซากตึก สตง. พังถล่ม เจ้าหน้าที่เดินหน้าใช้เครื่องจักรหนักเข้า เคลียร์ซากต่อเนื่อง โดยเฉพาะโซนบี และซี ที่คาดว่าเป็นจุดที่มีผู้ติดค้างอยู่จำนวนมาก